รู้จักโรคไทรอยด์ อาการไทรอยด์ต่ํา โรคใกล้ตัวที่ควรใส่ใจรู้เท่าทัน

ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ํา

ต่อมไทรอยด์ จัดว่าเป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย แต่เรากลับรู้จักเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์น้อยมาก

รวมถึงความสำคัญของอวัยวะส่วนนี้ เพราะต่อมไทรอยด์ส่งผลต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก

เพราะความผิดปกติของร่างกายหลายอย่าง ล้วนแต่เกิดจากต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้หลายคนอาจสงสัยว่า ต่อมนี้อยู่ส่วนไหนของร่างกาย

วันนี้เราจึงมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ และ โรคไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) มาฝากกัน

ต่อมไทรอยด์ คืออะไร?

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีลักษณะเหมือนกับผีเสื้อ จะอยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมาประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร

ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่อะไร?

ต่อมไทรอยด์ จะมีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน โดยอาศัยไอโอดีนจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นวัตถุดิบในการใช้สร้างฮอร์โมน

ต่อมไทรอยด์ ยังทำหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมระดับการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด

อีกทั้งยังช่วยควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง ช่วยทำให้อารมณ์ความรู้สึกเป็นไปในทางที่เหมาะสม

ความสำคัญของไอโอดีน

ไอโอดีนเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร

ถ้าหาก ร่างกายขาดไอโอดีนจะทำให้ ทารกที่อยู่ในครรภ์มีความผิดปกติทางสมอง ทำให้กลายเป็นโรคไทรอยด์ไปเลย

ดังนั้นหากไม่อยากทำให้ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ก็ควรได้รับสารไอโดดีนให้กับร่างกายอย่างเพียงพอ

สำหรับผู้ใหญ่ควรได้รับไอโอดีน 150 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับไอโอดีน 175 ไมโครกรัม

สำหรับหญิงให้นมบุตรควรได้รับไอโอดีน 200 ไมโครกรัมต่อวัน

เมื่อต่อมไทรอยด์ผิดปกติจะเกิดอะไรขึ้น?

หากต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ จะทำให้การควบคุมการทำงานของร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น

เช่น คอพอก คอพอกเป็นพิษ เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ และมะเร็งต่อมไทรอยด์

สาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่โดยทั่วไปแล้วมักเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน

ที่จะช่วยกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากหรือน้อยจนเกินไป จึงทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายในเวลาต่อมา

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จะพบในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย

อาการต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

อาการต่อไทรอยด์ผิดปกติ มีความแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้วเราสามารถสังเกตอาการต่อมไทรอยด์ผิดปกติได้จากอาการเหล่านี้

– อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เพราะหัวใจได้รับการกระตุ้นให้ทำงานหนัก

– เหงื่อออกง่าย อันเกิดจากระบบเผาผลาญและการใช้พลังงานได้รับการกระตุ้นมากเกินไป

– นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

– มีอาการท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น

– ตาโปน เนื้อเยื่อหลังนัยน์ตาขยายขนาดขึ้น จากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

– ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีประจำเดือนขาด หรือมาไม่ตรง มาแบบกะปริบกะปรอย

– กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน สำหรับรายที่มีอาการไทรอยด์เป็นพิษแล้วเกิดโพแทสเซียมต่ำอย่างฉับพลัน

จะทำให้เกิดอาการคล้ายอัมพาต ขยับแขนขาและลำตัวไม่ได้

– อารมณ์หดหู่ ขาดสมาธิ

– เส้นผมและผิวหนังและขนล่วงหล่น

– เจ็บตามข้อ มีอาการบวมน้ำ

– เสียงแหบ หนาวง่าย

– ความดันโลหิตสูง

ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ํา

หลายคนคงเคยได้ยินแต่โรคไทรอยด์เป็นพิษ แต่ก็ยังสงสัยว่าโรคไทรอยด์ต่ำนั้นจะมีอาการอย่างไร

สามารถรักษาได้ไหม ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ จึงทำให้สร้างฮอร์โมน

ออกมาได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การรักษาทำได้ด้วยการผ่าตัดไทรอยด์ออกและการฉายแสง

อาการของฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ

เมื่อฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำมากเกินไป จะทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้ช้าลง ทำให้เกิดอาการรู้สึกหนาวง่าย

เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ทำให้ผิวหนังแห้งมากเกินไป ผมแห้ง รู้สึกขี้หลังขี้ลืมไม่สดชื่น และมีอาการท้องผูก

สาเหตุที่ทำให้ไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ

1.โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน Autoimmune โดยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อาจไวจนเกินไป

จึงทำให้รับรู้ว่าเซลล์ไทรอยด์เป็นสิ่งแปลกปลอม ทำให้เซลล์ไทรอยด์ ถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิง

2.การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ สำหรับผู้ที่เคยรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ด้วยการตัดต่อมไทรอยด์ออก

จะทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนไทรอยด์ จึงจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนไปตลอดชีวิต

3.ภาวะไทรอยด์ต่ำแต่กำเนิด จากการสำรวจพบว่าเด็ก 1 ใน 4,000 คน เกิดมาพร้อมกับต่อมไทรอยด์ที่ไม่สมบูรณ์

หรือมีการเจริญผิดที่ จึงทำให้มีอาการเช่นเดียวกัน และเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนได้

4.ต่อมไทรอยด์อักเสบ อาจเกิดการติดเชื้อไวรัส หรือเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายเอง จึงทำให้เกิดการอักเสบของต่อมไทรอยด์

โดยในช่วงนี้จะทำให้มีภาวะต่อมไทรอยด์สูงกว่าปกติในเวลาสั้น ๆ จากนั้นจึงทำให้เกิดฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าในระยะยาว

5.การได้รับยาบางชนิด มียาหลายชนิดที่รบกวนการทำงานของต่อมไทรอยด์เช่น ยา amiodarone, lithium,inferfeorne alpha, interleukin – 2

โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีประวัติโรคไทรอยด์ในครอบครัว เมื่อได้รับยาเหล่านี้จะทำให้มีโอกาสเกิดไทรอยด์ต่ำได้ง่าย

6.การได้รับไอโอดีนมากหรือน้อยเกินไป ไอโอดีนเป็นสารสำคัญที่ช่วยในการผลิตต่อมไทรอยด์ โดยปกติจะได้รับจากอาหาร

และเข้าสู่กระแสเลือดไปสู่ต่อมไทรอยด์ หากมีระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล จะทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ต่ำได้

7.ต่อมใต้สมอง pituitary gland ถูกทำลาย ต่อมใต้สมองมีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน TSH ไปสั่งให้ต่อมไทรอยด์

สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมา หากเกิดความเสียหายกับต่อมใต้สมอง จะทำให้การผลิตฮอร์โมนต่ำกว่าปกติ

แนวทางในการรักษาภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ํา

การรักษาภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน

แบบรับประทานเข้าไปทดแทน เพื่อทำให้ระดับฮอร์โมน T4 ในเลือดสูงขึ้น จะช่วยทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ

โรคไทรอยด์ห้ามกินอะไร

Credit : inquisitr.com

จะเห็นได้ว่าอาการ ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ํา ส่งผลเสียต่อร่างกายได้หลายอย่าง เพราะจะทำให้ร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

ส่งผลทำให้ร่างเกิดอาการหนาวง่าย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ทำให้ผิวแห้ง ผมแห้ง ขาดสมาธิ และรู้สึกซึมเศร้าอยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้ ยังส่งผลเสียต่อด้านสุขภาพร่างกายอีกหลายด้าน สำหรับใครที่ไม่อยากมีปัญหาเกี่ยวกับ โรคไทรอยด์

ก็ควรใส่ใจศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคไทรอยด์ต่ํา ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราทุกคนไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง