โรคเก๊าต์ โรคปวดข้อเรื่อรังที่ไม่ควรมองข้าม !

โรคเก๊า โรคปวดข้อเรื่อรัง

โรคเก๊าต์ (Gout) เป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่มีการพูดถึงไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะโรคนี้เมื่อเป็นแล้ว

มักจะสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับคนเราได้เป็นอย่างมาก และถึงแม้ว่าโรคนี้มักจะพบได้บ่อยในคนที่มีอายุ 40-60 ปี

แต่หากไม่ดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีก็มีโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคนี้ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีเรามาดูแลตัวเอง

ให้ห่างไกลจาก โรคปวดข้อเรื้อรัง กันดีกว่า ด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ของโรคเพื่อหาแนวทางป้องกันดังนี้

สาเหตุของโรคเก๊าต์ (Gout)

โรคเก๊าต์ หรือ โรคปวดข้อเรื้อรัง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพราะร่างกายมีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงเป็นเวลานาน

จึงทำให้เกิดการตกผลึกตามข้อ จนทำให้เกิดการอักเสบและมีอาการปวดข้อเรื้อรังได้นั่นเอง โดยเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็มีดังนี้

1.ความผิดปกติทางพันธุกรรม

หรืออาจพูดง่ายๆ ว่า โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้นั่นเอง เนื่องจากมีการขาดเอนไซม์บางตัวที่มีความสำคัญต่อร่างกาย

จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อเรื้อรังได้ ซึ่งพบว่าคนที่มีพ่อแม่พี่น้องเคยเป็นโรคเก๊า (Gout) มาก่อน จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป

2.การดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องแอลกอฮอล์จะไปลดการขับกรดยูริกออกทางไต ทำให้เกิดการขับกรดยูริกออกมาน้อยกว่าปกติ

และมีกรดยูริกค้างอยู่ภายในร่างกายเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เสี่ยงเป็นโรคเก๊าได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงควรเลี่ยง

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะ เบียร์ ไวน์และเหล้า เป็นต้น

3.ทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง

การทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูง และไตไม่สามารถขับออกมาได้ทัน จึงส่งผลให้เป็นโรคเก๊าได้นั่นเอง

4.การติดเชื้อของร่างกาย

การติดเชื้อบางอย่างก็สามารถนำไปสู่การเป็นโรคเก๊าได้ เพราะฉะนั้นจึงควรระมัดระวังอยู่เสมอ อย่าให้ร่างกายติดเชื้อบ่อยๆ

เพราะนอกจากจะทำให้เป็นโรคเก๊าแล้วก็ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นอย่างมากอีกด้วย

5.ป่วยด้วยโรคบางชนิด

เพราะโรคบางชนิดจะมีผลต่อภาวะกรดยูริกในเลือดสูง จึงทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าไปด้วย ซึ่งได้แก่ โรคมะเร็ง

โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น ดังนั้นใครที่ป่วยด้วยโรคเหล่านี้จึงควรระมัดระวังความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ

อาการของโรคเก๊าต์

สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังป่วยด้วยโรคเก๊าอยู่หรือไม่ ก็สามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

  • มีอาการปวดข้อแบบเฉียบพลันอย่างรุนแรง ซึ่งครั้งแรกจะเริ่มจากปวดข้อเดียวก่อนและมีอาการบวมแดง ผิวหนังตึงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็อาจปวดมากจนแทบเดินไม่ไหวเลยทีเดียว และหลังจากที่อาการทุเลาลงแล้ว ผิวหนังตรงจุดที่ปวดก็จะค่อยๆ ลอกและมีอาการคันร่วมด้วย
  • อาการปวดจะเป็นๆ หายๆ และกำเริบได้บ่อย อย่างที่เรียกกันว่าปวดข้อเรื้อรังนั่นเอง
  • โดยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดในตอนกลางคืน หรือหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงผู้ที่มีความเครียดจัดอีกด้วย
  • ระยะหลังๆ อาการโรคเก๊า จะมีข้ออักเสบปรากฏขึ้นหลายข้อกว่าเดิม มีลักษณะเป็นปุ่ม ซึ่งจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และมีอาการเจ็บปวดมากทีเดียว

วิธีการรักษาโรคเก๊าต์

วิธีการรักษาเมื่อป่วยด้วยโรคเก๊าต์ (Gout) จะต้องใช้วิธีรักษาทางการแพทย์ควบคู่ไปกับการดูแลตนเองให้มากขึ้น

เพื่อให้อาการป่วยทุเลาลงอย่างรวดเร็วที่สุด โดยมีแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้

1.แพทย์ให้ยาลดข้ออักเสบ

ยาลดข้ออักเสบจะช่วยบรรเทาอาการปวดให้ค่อยๆ ทุเลาลงและหายปวดในที่สุด ซึ่งจะเร็วช้าอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคด้วย

แต่หากการใช้ยาชนิดนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนหรือท้องเดิน จะต้องหยุดกินยาทันที

2.แพทย์ให้ยาลดกรดยูริก

ยาลดกรดยูริก แพทย์จะให้หลังจากที่อาการข้ออักเสบหายดีแล้ว โดยจะให้ผู้ป่วยกินเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้อาการโรคเก๊า

กลับมากำเริบอีกนั่นเอง โดยอาจจะต้องกินไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว นอกจากนี้จะต้องไปตรวจหาระดับของกรดยูริกเป็นระยะๆ ด้วย

3.นอนพักผ่อนเมื่อมีอาการปวด

การนอนหลับพักผ่อนเมื่อมีอาการปวดจะทำให้อาการดีขึ้น เพราะในขณะหลับร่างกายจะทำการซ่อมแซมตัวเอง

และเนื่องจากไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย จึงไม่ทำให้ข้ออักเสบยิ่งกว่าเดิมนั่นเอง

4.งดทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง

เนื่องจากการทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง จะยิ่งไปเพิ่มปริมาณกรดยูริกในเลือดจนทำให้อาการแย่ลงได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคเก๊า (Gout)

หรือโรคปวดข้อเรื้อรัง จึงควรเลี่ยงการทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงอย่างเด็ดขาด ซึ่งได้แก่ เครื่องในสัตว์ หอย ปลาไส้ตัน กะปิ

น้ำต้มกระดูก ชะอม ยอดแค เห็ด ไข่ปลา ปลาดุก กระถิน และอาหารที่ใส่ยีสต์ เป็นต้น

5.ทานผักผลไม้เป็นประจำ

เพราะผักผลไม้มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะออกมามากขึ้น จึงทำให้กรดยูริกถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะมากขึ้นด้วย

ซึ่งก็จะทำให้อาการป่วยค่อยๆ ทุเลาลงและป้องกันการกำเริบได้ดีนั่นเอง เพราะฉะนั้นห้ามพลาดกับการทานผักผลไม้เด็ดขาด

แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเลี่ยงผักยอดอ่อนด้วย

6.ประคบด้วยน้ำแข็ง

เมื่อมีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง การประคบด้วยน้ำแข็งจะทำให้อาการปวดลดน้อยลงได้ โดยให้นำน้ำแข็งห่อด้วยผ้าผืนบาง

แล้วนำมาประคบบริเวณข้อที่ปวดเบาๆ ทำต่อเนื่องประมาณ 20 นาที พยายามอย่าลงน้ำหนักแรงจนเกินไป

เพราะอาจจะทำให้อาการปวดยิ่งแย่กว่าเดิมได้ นอกจากนี้ก็สามารถใช้น้ำอุ่นจัดๆ ประคบแทนได้อีกด้วย

7.ทานข้าว-แป้ง เป็นหลัก

เพราะอาหารจำพวกข้าวและแป้งจะไปทำหน้าที่เป็นพลังงานให้กับร่างกาย ทำให้ไม่ต้องดึงเอาโปรตีนมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน

นั่นก็เพราะการเผาผลาญโปรตีนดังกล่าวจะยิ่งไปกระตุ้นให้มีการสลายกรดยูริกออกมาในกระแสเลือดมากขึ้นนั่นเอง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

เมื่อป่วยด้วยโรคเก๊าต์ ก็อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้เหมือนกัน ซึ่งก็มีความอันตรายเป็นอย่างมาก

ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องเฝ้าระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนนั่นเอง โดยอาการแทรกซ้อนส่วนใหญ่ ได้แก่

  • เกิดปุ่มผลึกกรดยูริคในตำแหน่งต่างๆ นอกจากข้อ เช่น ใบหู ซึ่งก็จะสร้างความเจ็บปวดและส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์มากทีเดียว
  • อาจป่วยด้วยโรคเบาหวาน ไตรีกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากเช่นกัน
  • อาจเกิดภาวะข้อพิการและนิ่วในทางเดินปัสสาวะ โดยมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษามากที่สุด

Credit : naibann.com

โรคเก๊าต์ (Gout) เป็นโรคหนึ่งที่มีความอันตรายและไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว เพราะสามารถสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับคนเราได้เป็นอย่างมาก

และมักจะป่วยเรื้อรังอีกด้วย ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ มีกรดยูริกต่ำ

และตรวจปริมาณของกรดยูริกในร่างกายบ้าง เพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือกับอาการป่วยได้ทันนั่นเอง