ปวดข้อนิ้วมือ ชาเฉพาะนิ้ว สัญญาณเตือนโรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด

carpal_tunnel_syndrome ปวดข้อนิ้วมือ ชาเฉพาะนิ้ว

สาวๆ เคยรู้สึก ปวดข้อนิ้วมือ แบบไม่ทราบสาเหตุกันบ้างหรือไม่คะ? บางครั้งอาการปวดก็มาพร้อมกับ อาการชาตามปลายนิ้วมือร่วมด้วย

และที่น่าสนใจไปกว่านั้นอาการดังกล่าวยังเกิดขึ้นเฉพาะบางนิ้ว พบได้บ่อยที่นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางซีกที่ติดกับนิ้วกลาง

บางรายอาจมีอาการชาที่นิ้วโป้งร่วมด้วย ส่วนนิ้วก้อยและอีกครึ่งหนึ่งของนิ้วนางด้านที่ติดกับนิ้วก้อยกลับรู้สึกปกติ

อาจจะเป็นสาเหตุที่มาจากโรค “เส้นประสาทมือถูกบีบรัด” ก็เป็นได้ค่ะ ใครที่กำลังรู้สึกถึงความผิดปกติดังกล่าว

เราลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น เพราะการปล่อยทิ้งไว้นานไม่ยอมรักษา

จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น จนอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดกันเลยทีเดียวค่ะ

ลักษณะของอาการปวดข้อนิ้วมือ และอาการชาที่ควรทราบ

อาการปวดข้อมือ ข้อนิ้ว หรือแม้กระทั่งรู้สึกชาที่มือ สามารถเป็นสัญญาณเตือนของ โรคเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)

ซึ่งกลุ่มอาการในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ข้อมือและนิ้วมือ เนื่องจากเส้นประสาทที่ส่งไปเลี้ยงตามกล้ามเนื้อ

ทำหน้าที่รับความรู้สึกบริเวณข้อมือถูกกดทับไว้จากเนื้อเยื่อที่ยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นส่วนของเส้นประสาทที่ชื่อว่า “มีเดียน” (Median nerve)

ที่อยู่ในพื้นที่ๆ เปรียบเสมือนเข็มขัดรัดเส้นประสาทและเส้นเลือดเอาไว้ ด้วยเอ็นกล้ามเนื้อข้อมือเอ็นเฟล็กเซอร์เรตินาคิวลุม (flexer ratinaculum)

ทำให้เส้นประสาทเหล่านี้ลอยตัวออกจากข้อมือ เหมือนอุโมงค์รถไฟ หากอุโมงค์มีความแคบ

เส้นประสาทก็จะทำให้งานเคลื่อนไหวได้ไม่เป็นอย่างที่ต้องการ จนเกิดการบาดเจ็บ

มีความดันเพิ่มมากขึ้นภายใน ทำให้เกิดแรงกดทับที่เนื้อเยื่อมากขึ้นตามมา ส่งผลทำให้เลือดไม่สามารถส่งไปเลี้ยงส่วนของเส้นประสาทได้ดีพอ

เซลล์ของเนื้อเยื่อเกิดการอักเสบและตาย เส้นประสาทรับความรู้สึกทำงานได้ลดลงร่วมด้วย

สาเหตุอาการปวดข้อนิ้วมือ จากโรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด

1.สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้มาจากหลายปัจจัย แต่ที่พบได้บ่อยคือ เส้นประสาทที่นิ้วโป้ง

นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางบางส่วนถูบีบรัด จากแผ่นพังผืดที่เสื่อมสภาพและเกิดการหนาตัวมากขึ้น

2.เนื้อเยื่อหุ้มเส้นเอ็นที่อยู่ภายในช่องใต้กระดูกข้อมือเกิดภาวะบวม ทำให้กระดูกมีขนาดโตขึ้น ช่องว่างใต้กระดูกแคบจนไปกดทับเส้นประสาท

3.การบาดเจ็บเนื่องมาจากการใช้ข้อมือเคลื่อนไหวในท่าที่ไม่เหมาะสม ใช้ข้อมือในท่าเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการเกร็งตัว

เช่น การบิดผ้าแข็งๆ บ่อยครั้ง ข้อมือถูกกดทับจากการใช้งานคีบอร์ดเป็นเวลานาน หรือการใช้มือคลิกเม้าท์อยู่ตลอดทั้งวัน เป็นต้น

4.ความผิดปกติของตัวเส้นประสาทภายในข้อมือเอง การตึงตัวของเส้นประสาทที่เป็นตัวกระตุ้นอยู่แล้ว  เมื่อถูกใช้งานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยก็ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บได้

5.ในหญิงตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้สูงกว่าคนทั่วไป เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในร่างกายจะมีภาวะบวมน้ำ ทำให้เส้นประสาทที่ข้อมือเกิดการกดทับได้ง่าย

6.ผู้ที่อยู่ในช่วงก่อนมีประจำเดือน, โรคเบาวาน, โรคปวดข้อรูมาตอยด์, ภาวะขาดไทรอยด์, ภาวะอ้วน เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายเช่นกัน

7.บางรายมอาการของโรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด มีอาการปวดที่ข้อนิ้วมือโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน

อาการปวดข้อนิ้วมือจากเส้นประสาทนิ้วมือถูกบีบรัด

อาการปวดข้อนิ้วมือ เนื่องจากเส้นประสาทถูกบีบรัดนั้น หลักๆ จะส่งผลให้เกิดอาการปวดร่วมกับอาการชาที่ 3 นิ้วมือแรก

นับจากหัวแม่โป้งไปจนถึงครึ่งหนึ่งของนิ้วนางซีกติดกับนิ้วกลาง กรณีที่เกิดอาการบีบรัดเพียงชั่วคราวเท่านั้น

ซึ่งจะพบในคนที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือก่อนมีประจำเดือน เมื่อคลอดบุตรหรือประจำเดือนหายแล้ว

อาการปวดก็จะหายไปได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแต่อย่างใด

แต่การบีบรัดที่เกิดขึ้นเรื้อรัง จนกลายเป็นอาการปวดถาวรที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

อีกทั้งอาการปวดจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นหากยังไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

โดยอาการปวดที่สังเกตได้จากโรคเส้นประสาทข้อมือถูกบีบรัด จะมีอาการหลักๆ ดังนี้

1.รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณนิ้วมือร่วมกับอาการชาสลับกันไปมาเป็นช่วง โดยเฉพาะที่ส่วนของหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง

2.อาการปวดอาจร้าวขึ้นไปถึงแขนและหัวไหล่ มีอาการปวดรุนแรงในช่วงกลางคืนหรือเช้ามืด จนทำให้ผู้ป่วยสะดุ้งตื่นข้นมากลางดึก รู้สึกนอนหลับไม่เต็มอิ่ม

3.ผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรงในช่วงกลางคืน บางคนจะต้องใช้วิธีห้อยข้อมือลงมาที่ขอบเตียง หรือสะบัดมือแรงๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดให้ทุเลาลง

4.อาการปวดเมื่อได้รับการกระตุ้นจากการใช้งานข้อมือ โดยเฉพาะในท่างอข้อมือมากหรือเร็วเกินไป เช่น ถูบ้าน ซักผ้า กวาดบ้าน พิมพ์ดีด เป็นต้น

5.อาการปวดและชา อาจมาพร้อมกับอาการอ่อนแรงได้ อาจเป็นที่มือข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง

6.อาการปวดดังกล่าวที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ จะสามารถหายไปได้เองเมื่อคลอดบุตรแล้ว

7.อาจรู้สึกตึงที่บริเวณข้อมือหรือปลายนิ้วทั้งสามนิ้วแรก และนิ้วนางอีกครึ่ง จากนั้นจะค่อยๆ มีอาการชาที่ปลายนิ้วตามมา

8.อาการที่เกิดขึ้นหากทิ้งเอาไว้นาน จะเริ่มรู้สึกว่านิ้วมีภาวะอ่อนแรงที่ส่วนของฝ่ามือมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

และกล้ามเนื้อที่บริเวณนิ้วมือฝ่อหากปล่อยทิ้งเอาไว้นาน

การวินิจฉัยและรักษาอาการปวดข้อนิ้วมือจากโรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด

การวินิจฉัยเบื้องต้นเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ จะสังเกตจากอาการปวดหรือชาที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางอีกครึ่งซีก ด้วยวิธีเคาะที่ข้อมือด้านเดียวกับฝ่ามือ

ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดหรือชา ที่ปลายนิ้วได้ ส่วนอีกขั้นตอนคือ การใช้วิธีทดสอบ ให้ผู้ป่วยวางหลังมือสองข้างขนกันในท่างอข้อมือเข้าหากันให้มากที่สุด

ส่วนนิ้วมือชี้ลงพื้น ค้างไว้ประมาณ 1 นาที หากเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นประสาทข้อมือถูกบีบรัด

จะรู้สึกได้ถึงอาการปวดและชาที่นิ้วมือทั้ง 3 นิ้ว โดยทางการแพทย์เรียกการทดสอบนี้ว่า “อาการฟาเลน”

แต่บางรายอาจได้รับการตรวจด้วย Electromyography หรือ EMG ซึ่งเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ เพื่อให้ทราบแน่ชัดอีกครั้ง

ส่วนการรักษาจะดูจากความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น ดังนี้

1.หากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อนิ้วมือเพียงเล็กน้อย เป็นอาการที่เพิ่งเริ่มต้น

แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการให้ผู้ป่วยพักการใช้งานข้อมือ หลีกเลี่ยงการงอข้อมือ

และให้บรรเทาอาการปวดด้วยความเย็น ด้วยการใช้น้ำผสมน้ำแข็งประคบเอาไว้วันละ 3-4 ครั้ง จะทำให้อาการทุเลาลงได้ภายใน 2 สัปดาห์

2.กรณีที่การรักษาในเบื้องต้นไม่ทำให้อาการดีขึ้น แพทย์จะมีการให้ยากินเพื่อลดการอักเสบ

เป็นยาชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง

3.หากรู้สึกปวดจนสะดุ้งตื่นในเวลากลางคืน แพทย์จะแนะนำให้ใส่เฝือกในช่วงเข้านอน

และถอดออกในตอนเช้า จะช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้สนิทตลอดทั้งคืน

4.บางรายที่มีอาการปวดมากจนกระทบต่อชีวิตประจำวัน แพทย์จะฉีดสเตียรอยด์เข้าไปที่ข้อมือข้างที่มีอาการปวด

เพื่อลดการอักเสบและอาการบวม ช่วยลดการบีบรัดตัวของเนื้อเยื่อในท้องใต้กระดูกข้อมือให้น้อยลง

5.กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เบาหวาน

โรครูมาตอยด์ หรือโรคพร่องไทรอยด์ จะต้องมีการรักษาโรคดังกล่าวร่วมด้วย จึงจะทำให้อาการปวดทุเลาลงไปได้

6.ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาดังกล่าวข้างต้น

จำเป็นที่แพทย์จะต้องใช้วิธีผ่าตัดเพื่อกำจัดเอาพังผืดที่บีบรัดเส้นประสาทออกไป ช่วยให้การบีบรัดคลายตัวลง อาการปวดจะดีขึ้นได้

ปวดข้อนิ้วมือและชา
Photo Credit : steptohealth.com

การป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากอาการปวดข้อนิ้วมือจากโรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือเคลื่อนไหวในท่าผิดๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น 

การเขียนหนังสือ การพิมพ์งาน การใช้ข้อมือกดทับจากการพิมพ์คีบอร์ด เป็นต้น หมั่นบริหารข้อมืออย่างสม่ำเสมอ

และหากเกิดอาการปวดและชาที่ผิดสังเกตเกิดขึ้น ก็ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อจะได้ทำการรักษาให้อาการไม่ลุกลามมากขึ้นไปกว่าเดิมนั่นเองค่ะ