รู้จัก “โรคไต” พร้อมสาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันอย่างเข้าใจ

โรคไต อาการ, โรคไต สาเหตุ, โรคไต วิธีการรักษา

ไต (kidney) คืออวัยวะที่เปรียบเสมือนกับเครื่องกรองชนิดพิเศษ และมีความจำเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิต

มีหน้าที่สำคัญในการกรองของเสียออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ และเมื่อไตเกิดความผิดปกติขึ้นที่ข้างใดข้างหนึ่ง

ไตอีกข้างก็สามารถทำงานทดแทนกันได้ แต่หากเกิดความผิดปกติขึ้นที่ไตทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน

จนไม่สามารถทำงานได้เต็มตามความต้องการของร่างกาย ก็จะส่งผลให้เกิดอันตรายกับร่างกายและชีวิต

ซึ่ง โรคไต บางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่หากปล่อยทิ้งเอาไว้โดยไม่ทำการรักษา

ก็อาจส่งผลให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า ไตคืออะไร โรคไตมีอาการแบบไหน มีวิธีการรักษา และสามารถป้องกันยังไงได้บ้าง?

ทำความรู้จักกับไต

ไตมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 ส่วน โดยอยู่ตรงด้านหลังข้างกระดูกสันหลังบริเวณเอวทั้ง 2 ข้าง มีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกับถั่วแดง

ความยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ประกอบด้วยหน่วยไตเล็ก ๆ จำนวนหนึ่งล้านหน่วยต่อไตหนึ่งข้าง

และหน่วยไตที่เกิดการเสื่อมแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หน่วยไตกลับคืนมา และไม่สามารถสร้างทดแทนหน่วยไตที่เสื่อมแล้วได้

ไตมีหน้าที่ในการกำจัดน้ำกับของเสียออกทางปัสสาวะ ช่วยรักษาปริมาณน้ำกับเกลือแร่ในร่างกาย ช่วยเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ช่วยในการกำจัดยาหรือสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยสร้างฮอร์โมนบางชนิด และช่วยในการทำงานของวิตามินดี

โรคไต คืออะไร แบ่งได้กี่ประเภท

โรคไต (kidney disease) คือโรคที่สร้างความเสียหาเกิดขึ้นในไต ส่งผลให้ไตทำงานลดลง

หรือพบว่ามีโปรตีนรั่วหรือมีเซลล์ผิดปกติในปัสสาวะ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.โรคไตวายเฉียบพลัน

เกิดจากโรคที่ทำให้ไตเกิดการเสื่อมอย่างรวดเร็ว หากรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้ไตกลับมาทำงานได้ปรกติ

แต่หากรักษาไม่ทันจะทำให้ไตเสื่อมการทำงานไปเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดภาวะโรคไตวายเรื้อรัง

2.โรคไตเรื้อรัง

คือภาวะที่ไตสูญเสียการทำงานไปจากเดิม เป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือน โดยแบ่งออกเป็น 5 ระยะ

ซึ่งแบ่งตามความสามารถในการทำงานของไตที่ยังเหลืออยู่ ระยะที่ 1 ไตสามารถทำงานได้มากกว่า 90% ,

ระยะที่ 2 มีภาวะไตเสื่อมเล็กน้อย ทำงานอยู่ระหว่าง 60-90% , ระยะที่ 3 มีภาวะไตเสื่อมปานกลาง ทำงานได้แค่ 30-59%

เป็นระยะที่ควรเริ่มทำการรักษา เพราะยังสามารถควบคุมได้ด้วยยา, ระยะที่ 4 คือภาวะไตวายระยะสุดท้าย

ทำงานได้น้อยกว่า 15% เป็นระยะที่หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้อีกต่อไป

เพราะไตไม่สามารถรักษาภาวะสมดุลของร่างกายได้อีกต่อไป ในระยะนี้จะต้องทำการรักษาเพื่อป้องกันเข้าสู่ระยะที่ 5

และต้องทำการรักษาด้วยการล้างไตหรือปลูกถ่ายไต และระยะสุดท้าย ระยะที่ 5 เป็นภาวะไตวายระยะสุดท้าย

คือทำงานได้น้อยกว่า 15% ไตไม่สามารถรักษาภาวะสมดุลของร่างกายอีกต่อไปได้

หากไม่ทำการรักษาจะไม่สามาถดำรงชีวิตต่อไปได้ ผู้ป่วยควรรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไตหรือล้างไต

อาการโรคไต

1.มีอาการปัสสาวะขัดหรือลำบาก เป็นอาการที่บ่งชี้ว่าระบบทางเดินปัสสาวะมีปัญหา และอาจเป็นโรคไต

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ อาการถ่ายปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งแรง ๆ ปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะสะดุดกลางคัน

ในบางรายอาจมีปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะกลางคืนร่วมด้วย เป็นอาการของท่อทางเดินปัสสาวะมีการอุดตัน

ซึ่งพบบ่อยในโรคมดลูกหย่อนในเพศหญิงกับต่อมลูกหมากในเพศชาย และอาการปัสสาวะแสบขัดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

พบมากในเพศหญิง แต่หากท่านชายมีอาการดังกล่าว หรืออาจมีอาการปวดเอวกับเป็นไข้ร่วมด้วย อาจเป็นโรคนิ่วระบบไตหรือโรคต่อมลูกหมากโต

2.ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ โดยปรกติแล้วคนเราจะนอนหลับ 6-8 ชั่วโมง และสามารถเก็บปัสสาวะได้ประมาณน้ำ 1 แก้ว

หรือประมาณ 250 ซีซี จึงไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน แต่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถลดการสร้างปัสสาวะในเวลากลางคืน

ส่งผลให้มีปัสสาวะออกมามาก ผู้ป่วยจึงต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก แต่หากก่อนนอนได้ดื่มน้ำ ก็อาจจะลุกขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน 1-2 ครั้ง

ดังนั้นหากพบว่าการลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืนไม่ใช่เรื่องปรกติ ก็ควรจะเข้าปรึกษากับแพทย์ และนอกจากจะเป็นอาการของโรคไต

อาการปัสสาวะกลางคืนอาจพบในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่ทานยาขับปัสสาวะ และผู้ที่มีอาการบวมจากเหตุ ๆ อื่น

3.ปัสสาวะขุ่นผิดปรกติหรือเป็นเลือดสีน้ำล้างเนื้อ อาจเกิดจากมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ เกิดจากการติดเชื้อในทางปัสสาวะ

มีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะหรือมีนิ่วไตอักเสบ ฯลฯ และปัสสาวะเป็นเลือด อาจเกิดจากโรคเลือดที่ทำให้มีเลือดออกง่าย

4.หน้าบวม เท้าบวม และมีอาการบวมรอบตา ซึ่งอาการเท้าบวมอาจจะพบในตอนเย็น หรือเวลาที่นั่งหรือยืนเป็นวลานาน ๆ

และอาการบวมรอบตากับหน้าบวม อาจจะพบในช่วงตื่นนอนตอนเช้า เป็นอาการที่อาจเกิดจากโรคหัวใจ

โรคตับหรือโรคไต โดยผู้ป่วยโรคไตมักจะมีอาการบวมที่บริเวณหน้าแข้งกับหลังเท้า

5.ปวดเอว ปวดหลัง ที่เกิดจากโรคไต มักจะเกิดจากนิ่วอยู่ในไตหรือในท่อไต โดยอาการปวดจะเป็นผลมาจากการอุดตันท่อไต

หรือไตเป็นถุงน้ำโป่งพอง ซึ่งลักษณะการปวดจะมีอาการปวดตรงบริเวณบั้นเอวหรือชายโครงด้านหลัง

และมักจะมีอาการปวดร้าวไปที่ขาอ่อน อวัยวะเพศหรือท้องน้อย โดยอาการปวดมักจะเกิดขึ้นที่ข้างใดข้างหนึ่ง

6.ความดันโลหิตสูง เป็นอาการสำคัญของโรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมานานและควบคุมไม่ได้

และอาการของโรคไต มักจะมีอาการอ่อนเพลีย ซีด เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ซึม ชัก หมดสติ และปวดศีรษะ

หากพบว่ามีอาการตามที่กล่าวมา ควรรีบเข้าพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะเป็นอาการบ่งชี้ถึงการทำงานของไตที่ผิดปรกติ

แนวทางในการรักษาโรคไต

การรักษาโรคไตจะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค ซึ่งโรคไตบางชนิดสามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการรักษาในระยะเริ่มแรก

และโรคไตบางชนิดเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถลดอาการและช่วยชะลอไม่ให้เกิดไตวายได้

ในการรักษาโรคไตประกอบด้วยการรักษาด้วยยา การควบคุมอาหารกับการปรับวิถีชีวิต เมื่อป่วยเป็นโรคไต ผู้ป่วยจะต้องทานยา

ทานอาหารโปรตีน เกลือ และน้ำ ตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงยาที่ส่งผลกระทบต่อไต พักผ่อนให้เพียงพอ

ออกกำลังกายให้พอเหมาะกับสภาพร่างกาย งดสูบบบุหรี่ และไม่ปรับเปลี่ยนยาหรือซื้อยามาทานเองอย่างเด็ดขาด

วิธีป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคไต

1.ดูแลไม่ให้อ้วนเกินมาตรฐาน

2.ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปรกติ เพราะความดันโลหิตที่ไม่คงที่ จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น

3.ลดการทานอาหารเค็ม ๆ เพื่อควบคุมความดันโลหิต

4.เน้นทานผัก ผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

5.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสม

6.ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

7.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ซึ่งมีผลวิจัยชี้ว่า ไตของคนสูบบุหรี่จะเสื่อมได้เร็วกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่

8.พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายเหนื่อยอ่อนล้ามากเกินไป และเพื่อไม่ให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ควรนอนวันละอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

9.ผู้ป่วยเบาหวาน จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ เพื่อป้องกันการทำลายไต

10.อย่าปล่อยให้เป็นโลหิตจาง เพราะมีการศึกษาพบว่า ไตจะเสื่อมช้าลง หากรักษาภาวะซีดหรือโลหิตจางให้ดี

11.ป้องกันภาวะติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ที่จะต้องรีบทำการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้ไตเสื่อม

12.หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อไต เช่น กลุ่มยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่นำมาใช้การฆ่าเชื้อโรค

หากใช้ยาไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดพิษต่อไต และกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ คือยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ

และปวดข้อ หากทานยากลุ่มนี้เป็นเวลานาน จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง บวมน้ำ และเกิดอาการพิษต่อไต

13.ควรสวดมนต์ให้จิตใจสงบหรือนั่งสมาธิเป็นประจำ วันละประมาณ 10-15 นาที เพื่อผ่อนคลายความเครียด และยังส่งผลดีต่อความดันโลหิตกับระบบประสาท

โรคไต อาการ, โรคไต สาเหตุ, โรคไต วิธีการรักษา

Credit : kidtam.com

และเมื่อเราทราบกันแล้วเกี่ยวกับเรื่องของ โรคไต หากพบว่า ตัวเองมีอาการที่บ่งชี้ถึงโรคไต ควรจะรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

และหากยังไม่มี อาการโรคไต ก็ควรดูแลตัวเองให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ ก็ช่วยให้ห่างไกลจากโรคไตได้ค่ะ