โรค NCDs คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ภาษาอังกฤษ : Non-communicable diseases) เป็นการเรียกชื่อของ กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อโดยตรง เพราะไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส หรือตัวนำพาหะ หรือสารคัดหลั่งต่างๆ
แต่โรค NCDs นั้นเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างในร่างกายของเรา ซึ่งมาจาก Lifestyle การใช้ชีวิตประจำวันอย่างเสี่ยงๆ ของเรา เช่น การทานอาหารหวานจัด เค็มจัด การไม่ออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และความเครียด ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้
โรค NCDs คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน?
ย้อนกลับไป 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการรณรงค์ให้เห็นอันตรายหรือภัยเงียบเกี่ยวกับ โรค NCDs นี้ที่มีผลจากคุณภาพชีวิตของคนไทย และประชากรทั่วโลก
โดยแต่ละปี ทั่วโลกจะมีคนตายจากโรคนี้ไปแล้วกว่า 36.2 ล้านคนต่อปี (สถิติจากปี 2554) และในประเทศไทยก็มีคนเสียชีวิตจากโรคนี้ไปแล้วมากกว่า 3 แสนคน และเป็นการเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปีมากกว่าครึ่งนึงเลยทีเดียว
ดังนั้น ทางประเทศไทย จึงทำให้มีการตื่นตัวป้องกันโรคนี้อย่างจริงจัง ขึ้นมา ถึงกับมีการจัดงานรณรงค์
6 โรคกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรค NCDs
โรคในกลุ่มโรคนี้จะไม่ป่วยในทันที และไม่ติดเชื้อแพร่กระจายจากคนสู่คน แต่จะค่อยๆ สะสมและเป็นในอนาคต โดยสาเหตุเกิดจากพฤติการการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุลนั่นเอง ส่วนโรคที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นมีดังนี้
- โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
- โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases )
- โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
- โรคมะเร็ง (Cancer)
- โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- โรคอ้วนลงพุง (Obesity)
วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงของกลุ่มโรค NCDs
[wpsm_video]https://www.youtube.com/watch?v=vcavhsGgd58[/wpsm_video]
ปัจจัยเสี่ยงแต่ละประเภทมีความสัมพันธ์ต่อโรคในกลุ่มโรค NCDs แต่สามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันได้ หากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง โดยการงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดสูบบหรี่ งดอาหารหวานมันเค็มจัด
ควรการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30นาที/วัน (5ครั้ง/สัปดาห์) และพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคนี้ได้มากถึง 80% เลยทีเดียว
การใช้ชีวิตให้สมดุล การกินอย่างถูกต้องทุกมื้อให้ครบ 5 หมู่อาหาร อารมณ์ดีอยู่เสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นหลักพื้นฐานเลย ที่จะทำให้คุณและคนรอบข้างในครอบครัวของคุณห่างไกลจากโรค NCDs นี้ การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐนั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณนะคะ