แปปสเมียร์ (Pap Smear) ตรวจภายใน ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

แปปสเมียร์ หมายถึง

โรคมะเร็ง จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่พบได้บ่อยเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกที่เข้ามาคุกคามคุณภาพชีวิตของผู้หญิง

กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง ส่วนมากมักจะมีอาการของโรคที่ลุกลามจนยากแก่การรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง

เพราะสาวๆ มักจะหวั่นใจ ไม่กล้าเข้ารับการตรวจภายในที่เรียกกันว่า “แปปสเมียร์” (Pap Smear)

ซึ่งเป็นการตรวจแบบเฉพาะสำหรับระบบสืบพันธุ์ของสตรี ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ตรวจอย่างละเอียดตั้งแต่รังไข่ ท่อนำไข่ และมดลูก สาวๆ จึงไม่ควรรอให้สายเกินแก้ แม้ไม่มีอาการบ่งชี้

ก็ควรเข้ารับการตรวจประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากพบความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น

จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที และมีโอกาสกลับมาหายเป็นปกติได้นั่นเองค่ะ

แปปสเมียร์กับการตรวจภายใน

โดยปกติหากพูดถึงการตรวจภายใน จะหมายถึงการที่แพทย์ทำการตรวจระบบสืบพันธุ์ทั้งหมดของผู้หญิง

ซึ่งจะมีการนำเอาการตรวจแปปสเมียร์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า pap มาตรวจด้วย การตรวจนี้จะเริ่มขึ้นก่อนตรวจภายใน

แล้วแต่ว่าผู้ที่เข้ารับการตรวจต้องการตรวจร่วมด้วยหรือไม่ วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์

สามารถตรวจหา ความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูก ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น มีความแม่นยำ และให้ผลวินิจฉัยที่มีความรวดเร็ว

ใครบ้างที่จำเป็นต้องตรวจแปปสเมียร์

สาวๆ ที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีความจำเป็นต้องตรวจภายในด้วยวิธีนี้หรือไม่นั้น ให้ทราบเอาไว้เลยว่า

เมื่อเป็นผู้หญิงและเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ การตรวจแปปสเมียร์เป็นสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง

หรือหากเป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมโรคมะเร็งอเมริกา ควรตรวจหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก

ภายหลังจากนั้นประมาณ 3 ปี หรือหากเป็นไปได้ ควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 21 ปี

แม้จะยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนก็ตาม ระยะเวลาในการตรวจ หากอยู่ในช่วงอายุ 21-29 ปี

ให้ทำการตรวจปีละ 1 ครั้ง ช่วงอายุ 30-69 ปี ควรตรวจทุก 2-3 ปี กรณีที่ไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น

และภายหลังอายุ 70 ปีขึ้นไปจะสามารถหยุดตรวจได้หลังจากผลการตรวจครบ 3 ครั้งแล้ว

สภาพของระบบสืบพันธุ์ปกติดี หรือนับรวมการตรวจตลอด 10 ครั้งที่ผ่านมาเป็นปกติ ก็สามารถหยุดตรวจได้

วิธีการตรวจแปปสเมียร์ตามหลักการแพทย์

สำหรับสาวๆ ที่จะเริ่มตรวจด้วยวิธี pap ให้เตรียมตัวเองด้วยการทำความสะอาดภายนอกของจุดซ่อนเร้นให้สะอาดด้วยสบู่

ที่มีความอ่อนโยนแบบธรรมดาก็พอ สวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมๆ สามารถถอดออกได้ง่าย หยุดกิจกรรมออกกำลังกาย

การเล่นกีฬา หรือการท่องเที่ยวก่อนตรวจ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 วัน

และที่สำคัญไม่ควรไปตรวจในช่วงมีประจำเดือน แต่ควรตรวจหลังมีประจำเดือน 5 วัน

โดยจะต้องไม่ผ่านการเหน็บยาหรือใช้ยาสวนช่องคลอดมาก่อนหน้านี้

หลังจากเตรียมตัวและเข้ารับการตรวจ แพทย์จะแจ้งให้เปลี่ยนเสื้อผ้าตามที่โรงพยาบาลได้เตรียมเอาไว้ให้

การตรวจจะให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงที่มีขาหยั่ง เพื่อแยกขาออกให้แพทย์เข้าตรวจปากมดลูกได้สะดวก ในขั้นตอนนี้

จะมีการเตรียมการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย มีการคลุมผ้าเปิดแค่ส่วนที่จำเป็นต้องตรวจเท่านั้น

สาวๆ สามารถเลือกตรวจกับแพทย์ที่เป็นผู้หญิงได้หากรู้สึกอาย จากนั้นจะมีการนำเอาน้ำยาฆ่าเชื้อมาทำความสะอาด

สอด speculum ขยายช่องคลอด ขนาดที่ใช้จะแตกต่างกันออกไปตามประวัติการมีเพศสัมพันธ์

และประวัติการคลอดบุตร อาจทำให้คนไข้รู้สึกอึดอัดบ้าง จากนั้นก็จะทำการขูดเอาส่วนของเนื้อเยื่อปากมดลูกไปส่งตรวจ

ตรวจ pap smear ราคา

Photo Credit : soc.ucsb.edu

เพื่อหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งว่ามีหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือทำให้บาดเจ็บแต่อย่างใด

อาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อยบ้างในช่วงขูดเนื้อเยื่อ หลังจากเสร็จกระบวนการแล้ว ก็สามารถกลับบ้านได้โดยไม่ต้องรอดูอาการ

และสาวๆ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทำเพียงแค่รอการแปลผลจากแพทย์ในภายหลังที่ผลการตรวจหาเชื้อออกมาเท่านั้น