“โรคคออักเสบ” จากการติดเชื้อ ภัยร้ายที่มาพร้อมความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน !

โรคคออักเสบ ภาษาอังกฤษ

อาการอักเสบภายในลำคอ หรือเรียกทั่วไปว่า “คออักเสบ” เป็นอาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรค ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบบริเวณคอหอย ซึ่งสามารถลุกลามไปยังต่อมทอนซิลได้

สาวๆ ที่เกิดอาการเจ็บคอโดยไม่มีหวัดหรือไอ เกิดขึ้นโดยหาสาเหตุไม่พบ มีทั้งแบบเฉียบพลันและค่อยๆ เกิดขึ้น

มักมีอาการร่วมกับไข้สูง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และหนาวสั่น เป็นที่รู้จักทางการแพทย์ว่า “โรคคออักเสบ” (Pharyngitis)

ใครที่มีอาการใกล้เคียงดังกล่าว ลองสังเกตตัวเองให้ดี แล้วเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น

พร้อมมาเรียนรู้ทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้มากขึ้น สาวๆ จะได้ดูแลตัวเองให้หายเป็นปกติได้โดยไว และป้องกันความเสี่ยง ให้ตัวเองห่างไกลจากโรคนี้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ

ลักษณะของโรคคออักเสบ

การอักเสบภายในลำคอที่เกิดขึ้น จะเป็นการอักเสบบริเวณเซลล์เนื้อเยื่อด้านหลังคอ

สังเกตได้จากการใช้เครื่องมือแพทย์ส่องเข้าไป หรือหากมีอาการมากจะสามารถมองเห็นได้ชัดเมื่ออ้าปาก

เป็นลักษณะบวม แดง หรืออาจมีหนองร่วมด้วยหากอาการรุนแรง ลักษณะของโรคที่พบได้บ่อย

มีต้นเหตุมาจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Beta Streptocuccus graup A  ที่เสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาในภายหลังได้

ในกลุ่มของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ พบอาการมีไข้หรือไม่มีก็ได้ บริเวณผนังของคอหอยจะมีอาการบวมแดงเล็กน้อย

ต่อมทอนซิลแดงและมีขนาดโตขึ้น และแม้จะไม่ได้มาจากโรคหวัดโดยตรง แต่ผู้ป่วยสามารถมีอาการหวัด น้ำมูกสีใส และพบอาการตาแดงร่วมด้วย

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

สำหรับอาการอักเสบจากการติดเชื้อโรคชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการตั้งแต่การเจ็บคอเพียงเล็กน้อย

มีอาการคล้ายคนเป็นหวัด อาจจะมีน้ำมูกหรือไม่มีก็ได้ หากเป็นไม่มาก จะไม่ค่อยรู้สึกเจ็บคอตอนกลืนอาหาร

แต่มักจะพบว่ามีอาการไข้สูงเฉียบพลันประมาณ 39-40 องศาเซลเซียส หนาวสั่น ปวดศีรษะ

ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร เจ็บคอ กลืนน้ำลายลำบาก ปวดท้อง อาเจียน ปวดร้าวบริเวณหู

สำหรับใครที่มีอาการรุนแรงมาก จะสังเกตพบต่อมทอนซิลบวมโต มีสีแดงจัด และพบตุ่มหนองเป็นจุดๆ

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

ภาวะแทรกซ้อนคือสิ่งที่มักจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการที่ร้ายแรงตามมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อใกล้เคียง

ไม่ว่าจะเป็นไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น

เชื้อโรคสามารถลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ เกิดเป็นฝีทอนซิล และอาจบวมมากขึ้นจนทำให้การกลืนอาหารลำบาก

หากเชื้อโรคเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดได้ จะส่งผลให้เป็นข้ออักเสบอย่างเฉียบพลัน

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และบริณกระดูกเกิดอาการอักเสบ และเป็นหนองตามมา

กรณีที่มีภาวะทอนซิลอักเสบภายใน 1-4 สัปดาห์ จะทำให้หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน

ยิ่งปล่อยทิ้งไว้นาน หรือได้รับการรักษาแบบผิดวิธี เสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดโรคไข้รูมาติกแทรกซ้อนได้สูงถึง 3 เปอร์เซ็นต์

ขั้นตอนในการรักษาโรคคออักเสบ

การรักษาผู้ป่วย จะต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม พักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ

ดื่มน้ำให้มากขึ้น เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวอย่างสม่ำเสมอ ส่วนอาหารที่เลือกทาน

ควรเป็นอาหารอ่อน รสไม่จัด เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นมถั่วเหลือง หรือน้ำขิงอุ่นๆ กรณีเกิดอาการเจ็บคออย่างรุนแรง จะเป็นตัวช่วยทุเลาอาการให้ดีขึ้นได้บางส่วน

แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการที่เกิดขึ้น และให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน หรือ โทรไมซิน

สังเกตอาการภายใน 3 วัน เมื่อดีขึ้นแล้ว จะต้องกินติดต่อกันจนครบ 10 วัน แม้จะหายดีแล้วก็ตาม

ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการกินยาให้ครบตามสั่ง

แพทย์จะใช้วิธีฉีดยาเบนซาทีนเพนิซิลลินเข้าสู่กล้ามเนื้อ 1 ครั้ง และตามด้วยยาปฏิชีวนะชนิดกินอีก 5 วัน

แต่หากผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง เป็นบ่อยครั้งในรอบปี ประมาณ 3-4 ครั้งขึ้นไป

ร่วมกับการอักเสบของเนื้อเยื่อใกล้เคียง แพทย์จะมีการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดต่อมทอนซิลร่วมด้วยตามความเหมาะสม

โรคคออักเสบ pharyngitis

Photo Credit : wisegeek.net

สำหรับอาการเจ็บคอ ที่เกิดขึ้น หากผู้ป่วยไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือไม่ ทางที่ดีก็ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์

เมื่อได้รับยาปฏิชีวนะก็ควรกินตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะได้ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค ให้กลับมาหายเป็นปกติได้ในเร็ววัน