โรคผิวหนังอักเสบ “เซบเดิร์ม” รักษาได้ไม่ยากอย่างที่คิด

เซ็บเดิร์ม รักษายังไง

โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis – Seb derm) เป็นชื่อที่สาวๆ ส่วนใหญ่ค่อยคุ้นหู เนื่องจากชื่อเรียกที่เป็นศัพท์เฉพาะ

ยังไม่มีบัญญัติอย่างเป็นทางการสำหรับภาษาไทย แต่เราก็มักเรียกตามลักษณะอาการว่า โรคแพ้เหงื่อ หรือ โรคผิวหนังอักเสบ

หรือโรคต่อมน้ำมันอักเสบ หรืออาการแพ้น้ำมัน หรือโรครังแคบนใบหน้า เป็นต้น

ซึ่งโรคนี้จัดได้ว่า เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งกรรมพันธุ์และปัจจัยภายนอก พบได้บ่อยทั่วโลก

เชื่อกันว่า มีราวๆ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลก ซึ่งบางกลุ่มก็มีอาการเกิดขึ้นไม่มากนัก

ทำให้ไม่ค่อยได้ใส่ใจกับความผิดปกติ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในโรคนี้ได้อย่างแน่ชัดราวๆ 10-15 เปอร์เซ็นต์

อีกทั้ง อัตราการพบโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือนไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ช่วงอายุ 40-70 ปี กันเลยทีเดียวค่ะ

ลักษณะของโรคผิวหนังเซ็บเดิร์ม

สำหรับลักษณะของโรคนี้ มักแตกต่างจากโรคผิวหนังทั่วๆ ไป เนื่องจากไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้

มีเพียงการคาดเดากันไปตามทฤษฎี เช่น เกิดจากความผิดปกติของต่อมน้ำมันตามธรรมชาติของร่างกาย

ที่ผลิตออกมาแต่กลับไปกระตุ้นทำให้ผิวหนังเกิดความระคายเคือง พบได้บริเวณข้างจมูก คิ้ว หนังศีรษะ

และส่วนอื่นๆ ที่มีต่อมไขมัน หรือบางกลุ่มอาจจะเกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ที่มีต่อเชื้อรา เกลื้อน

ก็ทำให้ผิวหนังของสาวๆ เกิดการอักเสบเป็นโรคนี้ขึ้นมาได้เช่นกัน ส่วนมากเชื้อราที่เป็นปัญหาของโรคนี้มีชื่อว่า Malassezia

เชื้อราที่มักเกิดขึ้นบนผิวหนัง เติบโตได้ดีหากมีสภาพผิวมัน (เป็นเชื้อราที่ชอบไขมัน) เมื่อมันอาศัยอยู่บนผิวหนัง

จะมีการผลิตเอนไซม์ย่อยไขมันบนผิวหนังเกิดขึ้น ซึ่งสารชนิดนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดภาวะอักเสบ

นอกจากนี้โรคเซ็บเดิร์มยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการเกาหรือขัดอย่างรุนแรงจนทำให้เป็นรอยถลอก

สภาพอาการเกิดการเปลี่ยนแปลง พบได้มากในช่วงหน้าหนาวที่มีความชื้นต่ำ ภาวะเครียด

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ป่วยที่เป็นโรคพากินสัน ไปจนถึงผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น

ลักษณะอาการของโรคผิวหนังอักเสบ เซบเดิร์ม

อาการของโรคนี้ มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่มีผิวมัน และคนที่มีภูมิต้านทานโรคบกพร่อง ซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเอดส์

สังเกตได้ว่า อาการเบื้องต้นจะไม่ค่อยปรากฏให้เห็นเด่นชัดนัก เริ่มด้วยอาการคันตามศีรษะ เหมือนมีรังแค

ส่วนบางกลุ่มที่มีอาการรุนแรงจะมีผื่นขึ้นทั่วตัว ทว่าพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งลักษณะของผื่น จะขึ้นบริเวณต่อมที่เป็นแหล่งผลิตน้ำมันมากกว่าส่วนอื่น

หากไม่ทำการรักษา จะทำให้เกิดการแพร่กระจายตัวเป็นบริเวณกว้าง ผื่นที่เกิดขึ้นสามารถลุกลาม

กลายเป็นการอักเสบ เป็นรอยแดง คัน ผิวหนังลอกเป็นสะเก็ดแห้งๆ เป็นแผ่นมีพื้นผิวมัน เมื่อเหงื่อออกหรือโดนแดดจะรู้สึกแสบผิว

อย่างไรก็ตามอาการของโรคจะมีหลายระดับ ตั้งแต่อาการเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของสาวๆ อย่างหนัก

การรักษาและป้องกันโรคเซบเดิร์ม

สำหรับการรักษา แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยโรคเสียก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะผิวหนังอักเสบ

อันเกิดจากโรคเซ็บเดิร์มหรือไม่ หากใช่ จะทำการรักษาตามความรุนแรง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

มีการใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์แบบเข้มข้นต่ำ เพื่อควบคุมไม่ให้โรคลุกลาม และต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์มากที่สุด

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงตามมา ผู้ป่วยจะได้รับการควบคุมไม่ให้เข้าใกล้ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น

หลีกเลี่ยงตัวการที่ทำให้โรคลุกลาม หากรู้สึกคันที่ศีรษะเป็นรังแค การสระผมไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้น

ผู้ป่วยจะได้รับการแนะนำให้ใช้แชมพูแบบพิเศษ ที่มีส่วนผสมของยาที่ช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ให้ดีขึ้น

เซ็บเดิร์ม หายขาด

Photo Credit : dermandlaser.com

เนื่องมาจากโรคนี้ไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าเกิดจากอะไร การป้องกันคือการสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนังตัวเอง

หากพบแม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผิวหนังเฉพาะ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อักเสบลุกลาม

และหากพบว่า ตัวเองเป็นโรคเซ็บเดิร์มจริงๆ จะได้ทำการรักษาไม่ให้โรคแพร่กระจายรุนแรงมากขึ้น นั่นเองค่ะ