คราบหินปูน แหล่งก่อเชื้อโรคในช่องปากที่หลายคนคาดไม่ถึง !
คราบหินปูน เป็นที่รู้จักกันดีในลักษณะของโรคชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับฟัน ที่สามารถก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ในช่องปากได้อีก แต่ไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อร่างกายที่ถึงแก่ชีวิต จึงทำให้หลาย ๆ คนไม่ให้ความสนใจ ไม่เคยขูดคราบหินปูนนี้ออกเลย แม้แต่ครั้งเดียวตั้งแต่เด็ก ยิ่งมีการบอกต่อกันว่าการขูดคราบหินปูนออกจะทำให้เกิดการปวดฟัน หรือเสียวฟันขึ้นได้ ก็ทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกกลัว และตั้งใจว่าจะไม่ขูดหินปูนออกเลยตลอดชีวิต ถึงแม้จะมีสิทธิประกันสังคมจากรัฐบาล ที่สามารถเบิกจ่ายค่า ขูดหินปูน ในส่วนนี้ได้ก็ไม่ทำ เราจึงมาตอบข้อสงสัยในส่วนนี้กันว่า หากไม่ขูดหินปูนเลย จะมีปัญหาอะไรหรือไม่? คราบหินปูน คืออะไร? คราบหินปูน (Calculus, Tartar) มีอีกชื่อที่เรียกกันว่า คราบหินน้ำลาย มีลักษณะเป็นคราบสิขาวขุ่น ๆ อมเหลือง ติดอยู่ตามบริเวณฟันในส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณซอกฟันที่ยากต่อการดูแล เกิดจากแคลเซียมที่อยู่ในน้ำลาย เกิดการตกตะกอน และสะสมเป็นแผ่น หรือเป็นคราบขึ้น องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการนี้ได้ คือการแปรงฟัน เพราะเมื่อแปรงฟันเสร็จเรียบร้อย ภายในไม่กี่นาทีให้หลัง น้ำลายที่ประกอบไปด้วยแบคทีเรียต่าง ๆ รวมทั้งแคลเซียม ก็จะมาเกาะเคลือบฟันเอาไว้ จนทำให้เกิดเป็นคราบหินปูน ไม่ว่าจะแปรงฟัน หรือบ้วนปากอย่างไร ก็ไม่สามารถเอาคราบนี้ออกได้ นอกจากการใช้เครื่องมือทางทันตกรรมเท่านั้น ถ้าหากมีคราบหินปูนเกาะอยู่มาก […]