วิธีการดูแลและสื่อสาร กับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสมองเสื่อม

ผู้สูงอายุสมองเสื่อม ควรดูแลและสื่อสารอย่างไร? มีคำกล่าวไว้ว่า คนเราเมื่ออายุมากขึ้น จะมีความคิดกลับเป็นเด็ก ชอบเรียกร้องความสนใจกับลูกหลาน ถ้าบ้านไหนลูกหลานเอาใจใส่ก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่บ้านไหนลูกหลานไม่ค่อยมีเวลาดูแล นานๆ จะแวะมาเยี่ยมเยียนสักครั้งหนึ่ง ผู้สูงอายุบ้านนั้นก็จะดูหงอยเหงา เศร้าซึม และเริ่มมีอาการของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงวัยได้ โดยเมื่อมีผู้ใหญ่ในบ้านมีอาการโรคสมองเสื่อมแบบนี้ เรามีวิธีการพูดคุย สื่อสารแบบไหน ให้ผู้สูงอายุเข้าใจ และมีวิธีใดในการดูแลให้ท่านสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้บ้าง ก็มาดูกันเลย การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม มาดูวิธีการดูแลผู้สูงวัยที่มีอาการสมองเสื่อมกัน โดยมีวิธีดูแลง่ายๆ ดังนี้ 1.ผู้ดูแล และญาติต้องเข้าใจในอาการของโรคสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงวัย ต้องไม่โกรธ ไม่หัวเราะ หรือขำผู้ป่วยที่แสดงพฤติกรรมแปลกๆ ไม่เหมาะสมออกมา เพราะอาจจะเป็นกระตุ้นอาการป่วยให้กำเริบมากขึ้นได้ ไม่ฝืนให้ผู้ป่วย ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหงุดหงิดได้ ให้ใช้วิธีพูดคุยสอบถามความรู้สึก คุยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน ว่าชอบหรือไม่ อย่างไร และอาจจะพาไปทำกิจกรรมที่ผู้สูงวัยชอบด้วยก็ได้ 2.จัดบ้านและบริเวณที่พักให้สะดวก ปลอดภัย เช่นในห้องน้ำ พื้นต้องไม่ลื่น แสงสว่างเพียงพอ และมีราวจับ 3.ชวนผู้สูงอายุทำงานอดิเรก ถ้าหากผู้ป่วยยังสามารถทำงานอดิเรกเล็กๆน้อยๆได้ ก็ต้องสนับสนุนให้ท่านทำโดยมีผู้ดูแลอยู่ใกล้ชิด เช่น ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน และมีความสุขมากขึ้น 4.การดูแลผู้ป่วยในระยะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ […]

kaewsai

October 3, 2018

อัลไซเมอร์ โรคจากความผิดปกติของเซลล์สมอง

อัลไซเมอร์ (ภาษาอังกฤษ – Alzheimer) หรือ “โรคความจำเสื่อม” เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมอง ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความเสื่อมคุณภาพของเซลล์สมองที่มักเกิดขึ้นตามวัย บางกรณีจะเกิดจากพันธุกรรม และในบางกรณีจะเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุทางสมอง และเกิดจากโรคทางกายภาพบางชนิด ที่ส่งผลกระทบต่อเซลล์สมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือการติดเชื้อในสมอง เป็นต้น อาการของอัลไซเมอร์ เป็นอย่างไร ในผู้สูงอายุคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีการเสียพื้นที่ทางสมองที่ควบคุมความคิด ความจำ และการเรียบเรียงภาษาพูด อาจทำให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป มีอารมณ์ไม่สม่ำเสมอ สับสน จนไม่สามารถทำกิจวัตรที่เคยทำตามปกติได้ ปัจจุบันพบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคความจำเสื่อมนี้กันมากขึ้น ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง คือจะเริ่มเกิดในผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-65 ปี และใช้เวลาในการก่อโรคนานถึง 15-20 ปี จึงจะแสดงอาการเสื่อมของสมองที่ชัดเจน จึงทำให้คนส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่า ตนเองป่วยด้วยโรคนี้ ครั้นเมื่อเกิดอาการสมองเสื่อมอย่างเห็นได้ชัด ก็มักเป็นการวินิจฉัยรักษาที่ไม่ทันท่วงทีไปเสียแล้ว ดังนั้น เราจึงควรสำรวจตัวเองและบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดให้มากขึ้นว่า เริ่มมีอาการหลงๆ ลืมๆ เกิดขึ้นบ่อยจนผิดปกติหรือไม่ เช่น ลืมรับประทานยาประจำตัว ลืมทำในสิ่งที่เคยทำเป็นประจำในชีวิตประจำวัน พยายามนึกถึงอะไรบางอย่างแต่ก็นึกไม่ออก มีภาวะการนอนผิดปกติ มองเห็นภาพหลอน รวมไปถึงมีอาการก้าวร้าว และการมีเหตุผลเสื่อมลง ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคแต่เนิ่นๆ เพราะปัจจุบัน […]

mahosot

May 21, 2015