“สายตาสั้นเทียม” ความเสี่ยงที่มาพร้อมพฤติกรรมใช้งานสมาร์ทโฟน !
ภาวะสายตาสั้น เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป แต่หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินภาวะ “สายตาสั้นเทียม” (Pseudomyopia) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอันเกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อที่ชื่อว่า Ciliary body อยู่ภายในลูกตาของเรา ซึ่งในปัจจุบันภาวะนี้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการจ้องหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือแท็บเลตติดต่อกันเป็นเวลานาน เมื่อการมองสิ่งที่อยู่ใกล้สายตามากกว่าเกินไป จะทำให้ดวงตาทำงานหนัก เกิดอาการเกร็ง กล้ามเนื้อชนิดนี้จะหดเกร็งเพื่อช่วยทำให้สายตามองเห็นได้ชัด เมื่อมองใกล้ติดต่อกันเป็นเวลานาน แล้วเปลี่ยนโฟกัสไปที่การมองไกล ทำให้เรายังอยู่ในภาวะสายตาสั้น ภาพไกลๆ มองเห็นได้ไม่ชัดเจนในระยะหนึ่ง เมื่อกล้ามเนื้อคลายตัว จึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเช่นเดิมในการมองเห็น ภาวะสายตาสั้นเทียม จึงเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่หากปล่อยทิ้งไว้นาน สาวๆ ไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมการจ้องหน้าจอของตัวเอง ก็อาจจะทำให้สายตาสั้นเทียม กลายเป็นสายตาสั้นจริงๆ ขึ้นมาก็ได้นั่นเองค่ะ ทำความรู้จักกับสายตาสั้นเทียม สายตาสั้นเทียม เป็นภาวะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความผิดปกติในการหดเกร็งกลามเนื้อขนาดเล็กภายในลูกตา ซึ่งการหดเข้าของกล้ามเนื้อชนิดนี้เพื่อช่วยให้เลนส์ตาโป่งออก คล้ายเลนส์ตาของคนที่มีสายตาสั้น การเล็งสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆ จึงมีความคมชัดมากขึ้น ขณะที่กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัวแบบอัติโนมัติ เมื่อเลิกมองวัตถุใกล้ๆ แต่เปลี่ยนจุดโฟกัสไปที่ระยะไกล จะรู้สึกว่ามองเห็นภาพรอบตัวไม่ชัดไปสักระยะหนึ่ง จนกว่ากล้ามเนื้้อจะค่อยๆ คลายตัว อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการจ้อวัตถุในระยะใกล้เป็นเวลานานติดต่อกัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อขนาดเล็กนี้หดตัวอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในกลุ่มที่นั่งจ้องหน้าจอมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน ก็สามารถทำให้เกิดสายตาสั้นเทียมขึ้นมาได้ทั้งสิ้น สังเกตตัวเองว่าสายตาสั้นเทียม หรือสายตาสั้นจริง ? สำหรับใครที่มีปัญหาสายตาสั้น ยังไม่หนักหนา […]