โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นอย่างไร รักษาอย่างไรให้หาย?

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคที่เราอาจจะเคยพบเห็นตามสื่อโซเชียลมากมาย โดยโรคร้ายนี้จะเกิดขึ้นโดยตรงกับระบบหัวใจ ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดและทรมานอย่างมาก จนทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่าโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะสามารถเกิดขึ้นกับลูกหลานของตนเองได้หรือไม่ ว่าแต่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีสาเหตุมาจากอะไร สามารถป้องกันและรักษาโรคร้ายนี้ได้อย่างไรบ้าง ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย หัวใจมีหน้าที่อะไรบ้าง? หัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดและฟอกเลือดให้พร้อมสำหรับลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ โดยหัวใจนั้นจะถูกสร้างและกำกับผ่านโครโมโซม หรือยีนส์ในร่างกายของแต่ละคน ทำหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบการสร้าง การทำงาน และโครงสร้างหลักของหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คืออะไร? โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Valve Disease) คืออาการของยีนส์ที่เกิดความผิดปกติ ในระหว่างการสร้างหัวใจและร่างกายได้ไม่เป็นปกติแบบที่ควรจะเป็น เมื่อเกิดความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจมนุษย์ จึงทำให้ระบบในการทำงานของร่างกายอื่นๆ พากันล้มเหลวและอ่อนแอลงไปด้วย หัวใจจะไม่สามารถทำงานร่วมกับร่างกายส่วนอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถพบเจอได้ตั้งแต่กำเนิด โดยจะเริ่มมีอาการผิดปกติได้ตั้งแต่ช่วงเป็นทารกที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 5 – 12 สัปดาห์ แม้ว่าปัจจุบันจะไม่สามารถระบุสาเหตุความผิดปกติของยีนส์นั้นได้อย่าง 100%  แต่เราควรจะมองถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนี้ด้วย สาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สำหรับสาเหตุโดยรวมที่ทำให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นสามารถวินิจฉัยได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1.พันธุกรรม ในกรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่มีโรคผิดปกติทางพันธุกรรม อาจจะส่งผมทำให้เกิดความผิดปกติส่งผลต่อลูกได้พอสมควรเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น โรคดาวน์ซินโดรม หรือเทอร์เนอร์ซินโดรม เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่ส่งผลต่อโครโมโซมคู่ที่ 21 […]

kaewsai

February 10, 2018

สารอาหารบำรุงสมองทารกในครรภ์ อยากให้ลูกฉลาด ห้ามพลาด!

การบำรุงสมองทารกในครรภ์ เพื่อเสริมความฉลาดให้ลูกนั้นคุณแม่สามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยเฉพาะการดูแลและบำรุงสมองตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ ด้วยการที่คุณแม่เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีส่วนช่วยในการบำรุงสมองของทารกโดยเฉพาะ ซึ่งอาหารบางชนิดไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างสมองของเจ้าตัวน้อยได้ดีเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในการบำรุงร่างกายและกระตุ้นการเจริญเติบโตของทารกได้ดีอีกด้วย โดย สารอาหารบำรุงสมองทารกน้อยในครรภ์ ที่คุณแม่ควรทานมากที่สุดก็มีดังนี้ สารอาหารบำรุงสมองทารกน้อยในครรภ์ มีอะไรบ้าง? 1.ธาตุเหล็ก ธาตุเหล็ก เป็นตัวช่วยในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองของลูกน้อยอย่างเพียงพอจึงทำให้ลูกมีสติปัญญาดี และลดความเสี่ยงการเป็นเด็กออทิสติกส์หรือสติปัญญาด้อยกว่าปกติได้อย่างดีเยี่ยม ดังนั้นคุณแม่จึงควรทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้เพียงพอโดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ซึ่งจะช่วยบำรุงสมองของลูกน้อยไปพร้อมๆ กับการเสริมสร้างน้ำนมนั่นเอง อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก : อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อแดง ผักสีเขียวเข้ม ตับ และไข่แดง เป็นต้น 2.วิตามินบี 2 เป็นวิตามินที่จะช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อยและกระตุ้นการเจริญเติบโตให้ดีสมวัยมากขึ้น และลดความเสี่ยงสมองของลูกมีขนาดเล็กกว่าปกติได้ดี โดยวิตามินบี 2 คุณแม่ควรได้รับตลอดการตั้งครรภ์ เพราะเป็นวิตามินที่ร่างกายจำเป็นต้องนำมาใช้ในการพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกตลอดการตั้งครรภ์เลยทีเดียว อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 : สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 ก็จะมีเนื้อสัตว์ โยเกิร์ต นม ไข่แดง ตับ เป็นต้น 3.ไอโอดีน ไอโอดีน เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการบำรุงสมองของทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก ซึ่งจะทำให้ลูกมีประสาทสัมผัสที่ดี ความจำดีเยี่ยมและมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม […]

kaewsai

June 21, 2017

5 อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ เป็นแล้ว…รีบพบหมอด่วน!

การตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่มีความละเอียดอ่อนที่สุดของชีวิต ซึ่งคุณแม่ต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้มากขึ้น และหมั่นสังเกต อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ อยู่เสมอ เพราะในขณะตั้งครรภ์ ไม่เพียงอาการคนท้องที่มักจะเกิดขึ้นตามปกติเท่านั้น แต่อาจมีภาวะเสี่ยงและโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์อีกด้วย ซึ่งถือเป็น อาการคนท้องผิดปกติ ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง โดยส่วนใหญ่จะมีอาการที่ส่อถึงความผิดปกติ 5 อาการดังนี้ อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง? 1.อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย อาการอ่อนเพลียและปัสสาวะบ่อย เป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ตามปกติ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์เช่นกัน ดังนั้นคุณแม่จึงควรทำการตรวจคัดกรองเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด จะได้เตรียมตัวรับมือและทำการรักษาได้ทันนั่นเอง โดยคุณแม่ที่มักจะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มากที่สุด ได้แก่ มีอายุมากกว่า 35 ปี เคยคลอดลูกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัมมาก่อน มีประวัติพ่อแม่ ญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน มีการตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ เคยมีประวัติลูกเสียชีวิตในท้องหรือหลังคลอดออกมาได้ไม่นาน เพราะฉะนั้นคุณแม่ที่มีความเสี่ยง จึงควรสังเกตอาการผิดปกติของตัวเองบ่อยๆ ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อคุณแม่เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อทารกน้อยในครรภ์อีกด้วย โดยอาจทำให้ทารกเป็นเบาหวาน ตัวเหลือง ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ และอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งขณะอยู่ในครรภ์และหลังคลอดสูง 2.มีเลือดออกทางช่องคลอด และปวดท้องอย่างรุนแรง เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดซึ่งเป็นผลมาจากการที่ทารกฝังตัวในมดลูกทำให้มีเลือดออกมาเล็กน้อย แต่หากอาการเลือดออกทางช่องคลอดเกิดขึ้นพร้อมกับอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และเลือดออกมากเกินไปจนผิดสังเกต ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นอาจหมายถึงการแท้งนั่นเอง โดยภาวะแท้งนี้จะเสี่ยงมากในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 1-2 เดือนแรก […]

kaewsai

June 7, 2017