โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นอย่างไร รักษาอย่างไรให้หาย?

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคที่เราอาจจะเคยพบเห็นตามสื่อโซเชียลมากมาย โดยโรคร้ายนี้จะเกิดขึ้นโดยตรงกับระบบหัวใจ ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดและทรมานอย่างมาก

จนทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่าโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะสามารถเกิดขึ้นกับลูกหลานของตนเองได้หรือไม่

ว่าแต่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีสาเหตุมาจากอะไร สามารถป้องกันและรักษาโรคร้ายนี้ได้อย่างไรบ้าง ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย

หัวใจมีหน้าที่อะไรบ้าง?

หัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดและฟอกเลือดให้พร้อมสำหรับลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ โดยหัวใจนั้นจะถูกสร้างและกำกับผ่านโครโมโซม

หรือยีนส์ในร่างกายของแต่ละคน ทำหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบการสร้าง การทำงาน และโครงสร้างหลักของหัวใจ

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คืออะไร?

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Valve Disease) คืออาการของยีนส์ที่เกิดความผิดปกติ

ในระหว่างการสร้างหัวใจและร่างกายได้ไม่เป็นปกติแบบที่ควรจะเป็น เมื่อเกิดความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจมนุษย์

จึงทำให้ระบบในการทำงานของร่างกายอื่นๆ พากันล้มเหลวและอ่อนแอลงไปด้วย หัวใจจะไม่สามารถทำงานร่วมกับร่างกายส่วนอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่

ซึ่งเป็นโรคที่สามารถพบเจอได้ตั้งแต่กำเนิด โดยจะเริ่มมีอาการผิดปกติได้ตั้งแต่ช่วงเป็นทารกที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 5 – 12 สัปดาห์

แม้ว่าปัจจุบันจะไม่สามารถระบุสาเหตุความผิดปกติของยีนส์นั้นได้อย่าง 100%  แต่เราควรจะมองถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนี้ด้วย

สาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับสาเหตุโดยรวมที่ทำให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นสามารถวินิจฉัยได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

1.พันธุกรรม ในกรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่มีโรคผิดปกติทางพันธุกรรม อาจจะส่งผมทำให้เกิดความผิดปกติส่งผลต่อลูกได้พอสมควรเลยทีเดียว

ยกตัวอย่างเช่น โรคดาวน์ซินโดรม หรือเทอร์เนอร์ซินโดรม เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่ส่งผลต่อโครโมโซมคู่ที่ 21

ทำให้อาจจะมีอาการทารกซ้อนของหัวใจพิการ เส้นเลือดตีบ หรือความผิดปกติที่สิ้นหัวใจ

2.โรคประจำตัวของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ ทารกกับคุณแม่มีสารสัมพันธ์ที่เชื่อมติดกันอย่างแนบแน่น

ในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ว่าคุณแม้จะได้รับสารอาหารแบบใด อารมณ์แบบใด หรือเกิดโรคร้ายใด ลูกในครรภ์เองก็มักจะได้รับผมกระทบตามไปด้วย

ยกตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานนั้นจะมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี จึงทำให้มีโอกาสที่ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติ

ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือ เส้นเลือดหัวใจของทารกสลับข้างกัน (TGA) และกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ

3.ตรวจพบอาการเจ็บป่วยขณะตั้งตั้งครรภ์ อาการป่วยต่างๆ นั้นอาจจะทำให้เชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียผ่านกระแสเลือดเข้าสู่ตัวเด็ก

จนทำให้เกิดความผิดปกติต่อหัวใจได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณแม่ป่วยตอนตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนขั้นไป เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคไข้หวัดใหญ่

4.3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อหัวใจทารกได้ เช่น แม่ป่วยเป็นโรคหัดเยอรมัน ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้หัวใจทารกผิดปกติเท่านั้น

แต่ยังทำให้อวัยวะอื่น เช่น สมองหรือตาผิดปกติด้วย โรคไข้หวัดใหญ่ หรืออาการไข้สูงบ่อยครั้ง

5.การใช้ยาหรือได้รับสารเคมีต่างๆ รู้หรือไม่ว่ายาบางชนิดส่งผลทำให้ทารกในครรภ์เกิดโรคหัวใจพิการได้

ยกตัวอย่างยาที่มีความเสี่ยง ได้แก่ แอสไพริน ไอบูโปรเฟน ยากันชัก ยาที่มีส่วนผสมของเรตินอยด์

รวมไปถึงการสัมผัสกับสารเคมีจากน้ำมันวานิช ยาทาเล็บ และตัวทำละลายสำหรับสีทาบ้าน

6.พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และเสพสารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติดทุกชนิดขณะตั้งครรภ์

ล้วนแต่เป็นสาเหตุหลักทำให้ทารกเกิดโรคหัวใจพิการเนื่องจากส่งผลต่อกระแสเลือดที่เชื่อมถึงกับระหว่างคุณแม่กับทารกโดยตรง

อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน บางรายอาจจะแสดงอาการรุนแรงผิดปกติ

ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนคลอดออกมา หรือบางรายอาจจะพบอาการผิดปกติได้น้อยจนไม่ทันได้สังเกต ยกตัวอย่างอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้

เช่น อาการผิวเขียว เล็บมีม่วงคล้ำ ริมฝีปากและเยื่อบุภายในช่องปากมีรอยช้ำ มีอาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วและหายใจลำบาก

เหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก และอ่อนเพลียตลอดเวลา สำหรับเด็กทารกจะพบว่าสามารถดื่มนมได้น้อยและเลี้ยงไม่โต

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ในช่วงที่เป็นทารกอยู่ในครรภ์

ด้วยวิธีเบื้องต้นอย่างการอัลตราซาวนด์แต่อาจจะทำให้ไม่สามารถทราบผลได้อย่างชัดเจน โดยหลายเคสมักจะพบหลังจากที่ได้ทำการคลอดบุตรออกมา

หรือตรวจพบเมื่อเด็กโตขึ้น สำหรับวิธีวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยโรคหัวใจพิการอย่างละเอียดนั้นสามารถทำได้โดยวิธีดั่งต่อไปนี้

1.อัลตราซาวนด์หัวใจ (echocardiogram) คือการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจดูโครงสร้างภายในของหัวใจ

รวมไปถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ และตรวจสอบการไหลเวียนของเลือดว่าเป็นอย่างไปอย่างปกติหรือไม่

2.ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) คือ ตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจโดยใช้ระบบไฟฟ้าเพื่อตรวจวัดความปกติในการเต้น

3.ตรวจทางภาพถ่ายรังสีของปอดและหัวใจ (chest X-ray) คือการฉายเพื่อตรวจขนาดและตำแหน่งของหัวใจ รวมถึงการตรวจลักษณะของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปอดทั้งสองข้างว่าเป็นไปอย่างปกติหรือไม่

4.เครื่องสวนหัวใจ (cardiac catheterization) วิธีนี้คือ วิธีตรวจสอบการทำงานโดยตรงด้วยการสอดท่อพลาสติกขนาดเล็กเข้าไปในเส้นเลือดใหญ่

ผ่านบริเวณขาหนีบหรือที่ข้างคอจากนั้นจะส่งต้อเข้าไปยังห้องต่างๆ ของหัวใจ เพื่อวัดความดันและความอิ่มตัวของออกซิเจน

นอกจากนี้ แพทย์อาจฉีดสารทึบแสงเข้าไปในช่องหัวใจเพื่อบันทึกการทำงานของหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์

5.การทำ MRI เพื่อตรวจดูโครงสร้างและสร้างภาพสามมิติของหัวใจด้วยสนามแม่เหล็ก

6.การทำ CT scan เป็นการตรวจโครงสร้างด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

แนวทางในการรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้น จำเป็นที่จะเข้ารับวินิจฉัยอย่างละเอียด หากพบว่ามีอาการเหนื่อยเล็กน้อย

แต่ยังสามารถทำงาน เรียน หรือใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ สามารถรักษาตามอาการโดยควบคุมพฤติกรรม

ควบคุมอาหาร และจ่ายยาตามความเหมาะสม ในรายเด็กๆ ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ควรควบคุมและเฝ้าดูอาการแทรกซ้อนอย่างใกล้ชิด

เช่น อาการปอดบวม ปอดอักเสบ ความดันปอดสูง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น แต่ควรนำผู้ป่วยเข้าตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติที่ชัดเจนที่สุด

จึงจะสามารถรักษาอาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดให้หายขาดได้  ยิ่งในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีอาการอื่นๆ ร้ายแรง เช่น หัวใจวาย

ควรรักษาด้วยวิธีผ่าตัดหรือการสวนหัวใจ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์จึงไม่ได้ดูน่ากลัวและมีโอกาสรักษาได้สำเร็จสูงมากขึ้น

Credit : ch9airport.com

จะเห็นได้ว่า โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนเป็นทารกในครรภ์เลยนั่นเอง ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ยุคใหม่ จึงควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ

ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และหากร่างกายมีอาการผิดปกติก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้นั่นเอง