10 โรงพยาบาลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด เสริมสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง

โรงพยาบาลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ถือเป็นสถานพยาบาลที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตของคนไทย มักมาจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นลำดับต้นๆ โดยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด คือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งสาเหตุเกิดจากหลอดเลือดตีบตัน ดังนั้นการตรวจวิเคราะห์ดูความเสี่ยง ต่อการป่วยด้วย โรคหัวใจและหลอดเลือด จึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนควรให้ความสำคัญ ซึ่งในประเทศไทยก็มีสถานพยาบาลจำนวนมาก ที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาอาการเจ็บป่วยโรคหัวใจ โดยเรามี 10 โรงพยาบาลรักษาโรคทางหัวใจและหลอดเลือดมาแนะนำให้รู้จักกันแล้วดังนี้ 10 โรงพยาบาลรักษาโรคทางหัวใจและหลอดเลือด มีที่ไหนบ้าง? 1.ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ให้บริการตรวจวินิจฉัยอาการผิดปกติด้านหัวใจทุกชนิด ให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อน โดยทีมแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและมากด้วยประสบการณ์ ให้การรักษาโรคหัวใจครอบคลุม ทั้งการรักษากลุ่มไฟฟ้าหัวใจ เช่น การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจและช่วยการบีบตัวของหัวใจ การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) รวมทั้งรักษากลุ่มผู้ป่วยเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เช่น การขยายหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบผ่านการทำบอลลูนและขดลวด รวมทั้งยังรักษากลุ่มผู้ป่วยหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น การผ่าตัดปิดเส้นเลือด การผ่าตัดซ่อมหลอดเลือดสำหรับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความซับซ้อน เป็นต้น ที่ตั้ง : เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : […]

kaewsai

July 5, 2018

โรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว อันตรายที่มองไม่เห็น แต่ก็ไม่ควรมองข้าม !

โรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว เป็นโรคหนึ่งที่มีความน่ากลัวอยู่ไม่น้อย เพราะมีหลายคนที่ได้ยินว่าเมื่อมีรูรั่วที่ผนังหัวใจ ก็อาจจะมีความอันตรายตามมามากพอสมควร ซึ่งโรคนี้ก็ถือเป็นโรคหัวใจที่เกิดขึ้นได้มาแต่กำเนิด โดยร่างกายผู้ป่วยจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างผนังกั้นหัวใจห้องล่างซ้ายและขาวที่เป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ จนทำให้เกิดเป็นรูรั่วขึ้นที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง หลายคนอาจจะอยากรู้เพิ่มเติมแล้วว่า โรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว อันตรายมากน้อยแค่ไหน? เพราะฉะนั้น เรามาทำความเข้าใจโรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่วให้มากยิ่งขึ้น โดยศึกษาไปพร้อมๆ กับบทความนี้กันได้เลยค่ะ โรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว คืออะไร? โรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว (Ventricular Septal Defect – VSD) คือ การเกิดรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจ ซึ่งเป็นปัญหาที่จะทำให้เลือดที่อยู่ในหัวใจห้องล่างซ้ายผ่านไปสู่หัวใจห้องล่างขวา โดยเป็นรูปแบบของการลัดวงจร สำหรับภาวะแบบนี้ เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้หัวใจบริเวณนั้นทำงานหนักมากยิ่งขึ้น และมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เลือดไหลไปสู่ปอดมากกว่าปกติ สาเหตุของโรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว โรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมจึงเกิดโรคนี้ได้ หากก็มีสาเหตุที่พอจะแจกแจงให้ได้ทราบด้วยกันดังนี้ 1.บางรายสามารถที่เกิดได้จากความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือการติดเชื้อไวรัสจากมารดาขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นหัดเยอรมัน แต่ก็มีส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรม 2.เกิดจากการมีพฤติกรรมแบบผิดๆ โดยมารดามีการเสพสารเสพติด ได้รับสารเคมีหรือยาบางชนิด และชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3.บางรายสามารถที่จะเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด กล่าวคือ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีร่างกายไม่แข็งแรงสมบูรณ์หรือมีปัญหาสุขภาพ ก็อาจจะส่งผลกระทบมายังทารก ทำให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ได้อย่างไม่สมบูรณ์เต็มที่ จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการนำมาสู่โรคนี้ได้ด้วยนั่นเอง อาการของโรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว สำหรับอาการของโรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่วจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละราย โดยบางรายอาจจะไม่มีการแสดงอาการใดๆ ออกมาให้เห็น แต่อาจจะมีความผิดปกติแค่มีเสียงของหัวใจ ในขณะที่บางรายก็อาจจะมีอาการเป็นลมหมดสติ แต่ก็ไม่ใช่ผู้ป่วยจำนวนมากที่จะเป็นอาการนี้ […]

kaewsai

March 16, 2018

ไข้รูมาติก คืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาป้องกันอย่างถูกต้อง

ไข้รูมาติก ดูเหมือนจะเป็นชื่อโรคที่หลายคนไม่ได้รู้จักดีนัก และอาจจะดูเป็นชื่อที่น่ากลัว แต่หากอยากรู้ว่าน่ากลัวหรือไม่ ก็ควรที่จะต้องเรียนรู้หรือทำความรู้จักกับโรคนี้กันอย่างเข้าใจมากขึ้น ซึ่งเราก็ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับไข้รูมาติกมาฝาก ไข้รูมาติกคืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันทำอย่างไรบ้าง? ไปติดตามกันเลยค่ะ ไข้รูมาติก คืออะไร? ไข้รูมาติก (Rheumatic fever) หรือ โรคหัวใจรูมาติก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อแบคทีเรีย GABHS ซึ่งเป็นอาการที่เนื้อเยื่อต่างๆ เกิดการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง ข้อต่อต่างๆ หรือแม้กระทั่งผิวหนังเองก็ตาม ต้องบอกเลยว่า หากผู้ป่วยรายใดที่เคยเป็นโรคไข้รูมาติกมาแล้ว ก็สามารถที่จะกลับไปเป็นได้อีก และถ้าหากเกิดการเป็นซ้ำอีก ก็อาจจะมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้กลายเป็นโรคภาวะหัวใจพิการแทนได้ สาเหตุของไข้รูมาติก เมื่อภูมิคุ้มกันไม่สามารถที่จะตอบสนองได้ดี หรือเกิดความผิดปกติ ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ลำคอ โดยเชื้อที่ว่าก็คือ สเตรปโตคอกคัส ไพโอจีเนียส (Streptococus pyogenes) ซึ่งอยู่ในกรุ๊ปเอ (Group A Beta-Hemolytic Streptococus) และเป็นเชื้อโรคที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่มีคนเยอะ อย่างเช่น โรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก หรือแม้กระทั่งชุมชนแออัด แต่ไม่เพียงเท่านั้น หากที่อยู่อาศัยบางแห่งไม่ถูกสุขลักษณะก็มีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เมื่อร่างกายได้รับเชื้อก็จะทำให้เป็นโรคคออักเสบ แต่ถ้าหากรักษาไม่หาย และร่างกายก็ยังมีเชื้ออยู่ […]

kaewsai

March 13, 2018

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นอย่างไร รักษาอย่างไรให้หาย?

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคที่เราอาจจะเคยพบเห็นตามสื่อโซเชียลมากมาย โดยโรคร้ายนี้จะเกิดขึ้นโดยตรงกับระบบหัวใจ ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดและทรมานอย่างมาก จนทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่าโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะสามารถเกิดขึ้นกับลูกหลานของตนเองได้หรือไม่ ว่าแต่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีสาเหตุมาจากอะไร สามารถป้องกันและรักษาโรคร้ายนี้ได้อย่างไรบ้าง ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย หัวใจมีหน้าที่อะไรบ้าง? หัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดและฟอกเลือดให้พร้อมสำหรับลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ โดยหัวใจนั้นจะถูกสร้างและกำกับผ่านโครโมโซม หรือยีนส์ในร่างกายของแต่ละคน ทำหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบการสร้าง การทำงาน และโครงสร้างหลักของหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คืออะไร? โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Valve Disease) คืออาการของยีนส์ที่เกิดความผิดปกติ ในระหว่างการสร้างหัวใจและร่างกายได้ไม่เป็นปกติแบบที่ควรจะเป็น เมื่อเกิดความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจมนุษย์ จึงทำให้ระบบในการทำงานของร่างกายอื่นๆ พากันล้มเหลวและอ่อนแอลงไปด้วย หัวใจจะไม่สามารถทำงานร่วมกับร่างกายส่วนอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถพบเจอได้ตั้งแต่กำเนิด โดยจะเริ่มมีอาการผิดปกติได้ตั้งแต่ช่วงเป็นทารกที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 5 – 12 สัปดาห์ แม้ว่าปัจจุบันจะไม่สามารถระบุสาเหตุความผิดปกติของยีนส์นั้นได้อย่าง 100%  แต่เราควรจะมองถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนี้ด้วย สาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สำหรับสาเหตุโดยรวมที่ทำให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นสามารถวินิจฉัยได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1.พันธุกรรม ในกรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่มีโรคผิดปกติทางพันธุกรรม อาจจะส่งผมทำให้เกิดความผิดปกติส่งผลต่อลูกได้พอสมควรเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น โรคดาวน์ซินโดรม หรือเทอร์เนอร์ซินโดรม เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่ส่งผลต่อโครโมโซมคู่ที่ 21 […]

kaewsai

February 10, 2018

ภาวะไขมันในช่องท้อง ภาวะที่ใครก็เป็นได้ แม้ไม่ได้อ้วน !

ภาวะไขมันในช่องท้อง ใครที่ได้ยินคำนี้ต่างก็ต้องเข้าใจว่าเป็นภาวะที่จะเกิดกับผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินกันทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนที่ดูผอมบางก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้ เคยเห็นกันหรือไม่ว่าคนผอมบางคน เมื่อใส่เสื้อเปิดหน้าท้องแล้ว กลับเห็นพุงที่ยื่นออกมาเป็นก้อนกลม ๆ ไม่ได้ต่างกับคนอ้วนเลย เราจะมาทำความเข้าใจกับภาวะไขมันในช่องท้องให้มากขึ้นกันว่า ภาวะไขมันในช่องท้องคืออะไร มีวิธีรักษาป้องกันได้อย่างไรบ้าง? เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงและลดการเกิดภาวะนี้ ซึ่งจะส่งผลดีให้กับสุขภาพของเรามากยิ่งขึ้นต่อไป ภาวะไขมันในช่องท้อง คืออะไร? ภาวะไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) เป็นภาวะที่ภายในช่องท้องซึ่งประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ เกิดการสะสมของไขมัน ที่ได้จากการรับประทานอาหาร และร่างกายไม่สามารถเผาผลาญออกไปได้หมด ผลก็คือ ไขมันเหล่านี้จะไปเกาะตามเนื้อเยื่อ หลอดเลือด อวัยวะทุกส่วนในช่องท้อง ยิ่งเกาะเยอะมากเท่าไรหน้าท้องก็จะยิ่งบวมหรือป่องออกมามากเท่านั้น หากได้มีการอัลตร้าซาวด์ดูสักครั้ง ก็จะเห็นว่าอวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องท้องจะถูกหุ้มไว้ด้วยไขมันที่มีสีเหลืองนั่นเอง สำหรับใครที่อยากมีซิคแพ็คหรือกล้ามหน้าท้อง ก็จะต้องเผาผลาญไขมันชั้นใต้ผิวหนังที่มีขนาดบาง ๆ ก่อน ถัดมาก็จะเป็นชั้นกล้ามเนื้อท้อง ที่จะต้องทั้งเผาผลาญออก และเล่นเวทเพื่อให้กล้ามเนื้อมีการพัฒนาจนเห็นเป็นลอนกล้ามเนื้อชัดยิ่งขึ้น และถ้าหากต้องการให้หน้าท้องราบเรียบเพื่อเรียกความคมชัดของซิคแพ็คมากกว่าเดิม ก็จะต้องเผาผลาญไขมันในช่องท้องที่อยู่ด้านในสุด แม้ว่าจะทำได้ยาก แต่ถ้ามีความพยายาม และตั้งใจจริงด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหารเป็นประจำ ก็จะเห็นผลได้ในเวลาไม่นาน ภาวะไขมันในช่องท้อง ก่อให้เกิดอันตรายได้อย่างไร? หากปล่อยให้เกิดภาวะไขมันในช่องท้องในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายดังต่อไปนี้ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง เมื่อไขมันเข้าไปอยู่ในหลอดเลือด แล้วมีการตกตะกอน ก็จะเริ่มมีการสะสมตัว […]

kaewsai

January 14, 2018

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อันตรายถึงแก่ชีวิต หากรักษาไม่ทันการณ์

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจที่คนไทยอาจยังไม่ค่อยคุ้นหูเท่าโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคหัวใจโดยตรง แต่โรคนี้สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย ทั้งในผู้หญิงผู้ชายมีอัตราการเกิดโรคนี้เท่ากันหมด เพียงแต่จะพบได้เป็นพิเศษในผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยบางคนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รู้อีกทีก็ตอนที่ร่างกายแสดงอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ในวันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาฝาก เพื่อให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียดมากขึ้น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คืออะไร อาการ สาเหตุ และวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง มาติดตามไปพร้อมกันเลยค่ะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คืออะไร? โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis หรือ Inflammatory cardiomyopathy) เป็นโรคที่กล้ามเนื้อของหัวใจ ทำหน้าที่บีบตัวเพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดการอักเสบขึ้น เป็นเหตุให้เลือดสามารถสูบฉีดได้น้อยลง และไปหล่อเลี้ยงอวัยวะบางส่วนไปพอ เป็นเหตุให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องของระบบหายใจ และหัวใจเต้นผิดปกติ บางครั้งหากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบขึ้น ซึ่งก็คือ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเกิดจากเชื้อโรคบางชนิดที่เข้าสู่ร่างกาย การได้รับสารพิษ เช่น ยาเสพติดประเภทโคเคน สารหนู คาร์บอนมอนออกไซด์ เป็นต้น การได้รับการฉายรังสีใกล้ ๆ หัวใจ รวมไปถึงการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง ล้วนเป็นเหตุให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้รับบาดเจ็บและเกิดการเสียหายได้ การติดเชื้อ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากที่สุด โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส […]

kaewsai

January 5, 2018
1 2 3