ไข้รูมาติก ดูเหมือนจะเป็นชื่อโรคที่หลายคนไม่ได้รู้จักดีนัก และอาจจะดูเป็นชื่อที่น่ากลัว แต่หากอยากรู้ว่าน่ากลัวหรือไม่
ก็ควรที่จะต้องเรียนรู้หรือทำความรู้จักกับโรคนี้กันอย่างเข้าใจมากขึ้น ซึ่งเราก็ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับไข้รูมาติกมาฝาก
ไข้รูมาติกคืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันทำอย่างไรบ้าง? ไปติดตามกันเลยค่ะ
ไข้รูมาติก คืออะไร?
ไข้รูมาติก (Rheumatic fever) หรือ โรคหัวใจรูมาติก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อแบคทีเรีย GABHS
ซึ่งเป็นอาการที่เนื้อเยื่อต่างๆ เกิดการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง ข้อต่อต่างๆ หรือแม้กระทั่งผิวหนังเองก็ตาม
ต้องบอกเลยว่า หากผู้ป่วยรายใดที่เคยเป็นโรคไข้รูมาติกมาแล้ว ก็สามารถที่จะกลับไปเป็นได้อีก
และถ้าหากเกิดการเป็นซ้ำอีก ก็อาจจะมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้กลายเป็นโรคภาวะหัวใจพิการแทนได้
สาเหตุของไข้รูมาติก
เมื่อภูมิคุ้มกันไม่สามารถที่จะตอบสนองได้ดี หรือเกิดความผิดปกติ ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ลำคอ
โดยเชื้อที่ว่าก็คือ สเตรปโตคอกคัส ไพโอจีเนียส (Streptococus pyogenes) ซึ่งอยู่ในกรุ๊ปเอ (Group A Beta-Hemolytic Streptococus)
และเป็นเชื้อโรคที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่มีคนเยอะ อย่างเช่น โรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก หรือแม้กระทั่งชุมชนแออัด
แต่ไม่เพียงเท่านั้น หากที่อยู่อาศัยบางแห่งไม่ถูกสุขลักษณะก็มีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้เมื่อร่างกายได้รับเชื้อก็จะทำให้เป็นโรคคออักเสบ แต่ถ้าหากรักษาไม่หาย และร่างกายก็ยังมีเชื้ออยู่ อาจเป็นเพราะเกิดความผิดปกติ เพราะฉะนั้นแล้วจึงทำให้เกิดเป็นไข้รูมาติกได้
อาการของไข้รูมาติก
สำหรับในส่วนของอาการไข้รูมาติกนั้น แต่ละคนอาจจะมีอาการที่แตกต่างกันไป แต่โดยหลักๆ แล้วจะมีกลุ่มอาการที่เกิดได้บ่อยๆ
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไข้รูมาติก โดยหากให้พูดถึงอาการทั่วไปคือ มีไข้ มีปุ่มใต้ผิวหนัง ซึ่งก็ยังถือว่ามีอาการที่รุนแรงตามภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้น
อาการของโรค มีกี่ชนิด อะไรบ้าง?
สำหรับอาการของโรค มีอยู่ประมาณ 4 ชนิด ที่ถือว่าเป็นอาการหลักๆที่สามารถเกิดขึ้นได้กับโรคนี้
1.อาการข้ออักเสบ (Migratory polyarthritis)
จะเรียกได้ว่าเป็นอาการหลักๆ ก็ว่าได้ ซึ่งมีผลเกิดขึ้นได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้ป่วยไข้รูมาติก
ด้วยอาการที่เกิดขึ้นนั้นมาจากเป็นอยู่ที่ข้อเท้า ข้อมือ ข้อสอบ ซึ่งจะทำให้บริเวณข้อต่างๆ นั้นเกิดอาการบวม ปวดได้อยู่ตลอด
2.อาการปุ่มเนื้อ (Subcutaneous nodule)
สำหรับอาการนี้จะมีอยู่เพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นโดยจะมีปุ่มขึ้นมาอยู่ภายในชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ขนาดจะมีตั้งแต่ 0.2 ถึง 2 เซนติเมตร แต่ทั้งนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดใดๆ
3.อาการของหัวใจอักเสบ (Carditis)
เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้รูมาติก ทั้งนี้จะเป็นสาเหตุจากการอักเสบที่มาจากเนื้อเยื่อของหัวใจ
โดยอาการคือ เหนื่อยง่าย ขาบวม แล้วไม่สามารถที่จะนอนราบได้ โดยทั้งนี้อาจมีปัญหาในเรื่องของหัวใจโต และมีอาการหัวใจวายในบางครั้ง
4.อาการเคลื่อนไหวผิดปกติโคเรีย (Chorea)
ในภาวะอาการนี้เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่หมายถึ งรูปแบบการเคลื่อนไหวที่มีความผิดปกติไปจากเดิม สาเหตุด้วยมาจากอาการข้ออักเสบ
แต่ไม่ใช่ภาวะอาการที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยไข้รูมาติก เพราะสำหรับภาวะนี้จะเกิดหลังจากที่เริ่มติดเชื้อและเป็นไข้รูมาติกประมาณ 1-6 เดือน
โดยอาจจะเริ่มในเรื่องของการเคลื่อนไหวและใช้งานอวัยวะส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมือ แขน และขาได้ผิดปกติไปจากเดิม
การวินิจฉัยไข้รูมาติก
สำหรับการวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกนั้น อาจจะไม่ได้มีรูปแบบที่สามารถวินิจฉัยได้อย่างเฉพาะเจาะจง
เพราะฉะนั้นแล้วเริ่มแรกอาจจะต้องดูจากอาการที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย โดยจะต้องสังเกตว่ามีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียสหรือไม่
หลังจากนั้นจะเริ่มวินิจฉัยที่ต่อมทอนซิล เนื่องจากว่าการติดเชื้อโรคไข้รูมาติกนั้น เริ่มมาจากการติดเชื้อภายในลำคอ
โดยถ้าหากต่อมทอนซิลเริ่มมีหนอง แล้วเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลือง รวมถึงลำคอด้านหน้า ก็จะเป็นอาการที่ทำให้แพทย์วินิจฉัยได้ชัดเจนมากขึ้น
จากนั้นก็จะเริ่มทำการวินิจฉัยจากผลที่ได้จากห้องปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเลือด ที่จะต้องมีการดูทั้งการตกตะกอนของเลือด
รวมถึงค่าโปรตีนที่มีความเกี่ยวข้องกับการอักเสบ นอกจากนี้ ในการตรวจเลือดนั้นจะต้องมีการตรวจเลือด CBC เพื่อดูเม็ดเลือดขาว
ซึ่งถ้าหากมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติก็ถือว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเป็นไข้รูมาติกสูง
วิธีรักษาไข้รูมาติก
สำหรับการรักษาไข้รูมาติกนั้น เริ่มแรกจะต้องรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ โดยแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะและผู้ป่วยจะต้องกินยาให้ได้ 10-14 วัน
ซึ่งจะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมกับการกำจัดเชื้อออกไปได้หมด ทั้งนี้อาจจะต้องมีการรักษาตามอาการ ทั้งการให้ยาลดไข้ และยาลดการอักเสบ
ซึ่งรูปแบบการรักษาไข้รูมาติก ก็จะเป็นแบบเดียวกับการรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ เพราะฉะนั้นในส่วนนี้อาจจะไม่ได้มีความแตกต่างมากนัก
แต่ก็ควรที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจากแพทย์ อย่างไรก็ตาม ข้อควรรู้อย่างหนึ่งคือ หลังจากรักษาไข้รูมาติกได้หายแล้ว
อาจจะยังมีอาการหลงเหลืออยู่นั่นก็คือ โรคลิ้นหัวใจพิการ ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นปัญหาที่มักจะเกิดได้หลังจากการรักษาไข้รูมาติก สำหรับวิธีแก้ก็คือ ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
วิธีป้องกันไข้รูมาติก
สำหรับวิธีป้องกันไข้รูมาติกนั้น เป็นเรื่องที่ง่ายอย่างมากนั่นก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส
อย่างเช่น หลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ถูกสุขอนามัย หรือหากมีความจำเป็นก็ควรที่จะต้องมีผ้าปิดปากป้องกันเอาไว้
รวมถึงพยายามรักษาสุขภาพอนามัยของตัวเอง และถ้าหากเริ่มเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบก็ควรที่จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะมาทานติดต่อกัน
เพื่อที่จะได้กำจัดเชื้อให้หมด เพราะถ้าหากไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดได้ ก็อาจมีความเสี่ยงในการเกิดไข้รูมาติกในเวลาต่อมาได้
Credit : fitundgesund.at
ไข้รูมาติก เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายไม่แพ้กับโรคอื่นๆ และสามารถที่จะเกิดขึ้นมาเป็นผลข้างเคียงจากการเป็นโรคต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น ทางที่ดีควรจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำด้านวิธีป้องกันอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นไข้รูมาติก ที่สามารถส่งผลอันตรายจนทำให้เสียชีวิตได้