โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นอย่างไร รักษาอย่างไรให้หาย?
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคที่เราอาจจะเคยพบเห็นตามสื่อโซเชียลมากมาย โดยโรคร้ายนี้จะเกิดขึ้นโดยตรงกับระบบหัวใจ ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดและทรมานอย่างมาก จนทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่าโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะสามารถเกิดขึ้นกับลูกหลานของตนเองได้หรือไม่ ว่าแต่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีสาเหตุมาจากอะไร สามารถป้องกันและรักษาโรคร้ายนี้ได้อย่างไรบ้าง ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย หัวใจมีหน้าที่อะไรบ้าง? หัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดและฟอกเลือดให้พร้อมสำหรับลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ โดยหัวใจนั้นจะถูกสร้างและกำกับผ่านโครโมโซม หรือยีนส์ในร่างกายของแต่ละคน ทำหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบการสร้าง การทำงาน และโครงสร้างหลักของหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คืออะไร? โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Valve Disease) คืออาการของยีนส์ที่เกิดความผิดปกติ ในระหว่างการสร้างหัวใจและร่างกายได้ไม่เป็นปกติแบบที่ควรจะเป็น เมื่อเกิดความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจมนุษย์ จึงทำให้ระบบในการทำงานของร่างกายอื่นๆ พากันล้มเหลวและอ่อนแอลงไปด้วย หัวใจจะไม่สามารถทำงานร่วมกับร่างกายส่วนอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถพบเจอได้ตั้งแต่กำเนิด โดยจะเริ่มมีอาการผิดปกติได้ตั้งแต่ช่วงเป็นทารกที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 5 – 12 สัปดาห์ แม้ว่าปัจจุบันจะไม่สามารถระบุสาเหตุความผิดปกติของยีนส์นั้นได้อย่าง 100% แต่เราควรจะมองถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนี้ด้วย สาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สำหรับสาเหตุโดยรวมที่ทำให้เกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นสามารถวินิจฉัยได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1.พันธุกรรม ในกรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่มีโรคผิดปกติทางพันธุกรรม อาจจะส่งผมทำให้เกิดความผิดปกติส่งผลต่อลูกได้พอสมควรเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น โรคดาวน์ซินโดรม หรือเทอร์เนอร์ซินโดรม เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่ส่งผลต่อโครโมโซมคู่ที่ 21 […]