ยาคุมกำเนิด ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง อันตรายที่ผู้หญิงมักมองข้าม !
ยาคุมกำเนิด หรือยาคุม (Oral contraceptive pill) เป็นยาที่ถูกผลิตขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1960 เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งผลิตออกมาเป็นชนิดเม็ด ง่ายต่อการกินทำให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ภายในตัวยาจะประกอบไปด้วย “เอสโตรเจน“ และ “โปรเจสโตเจน” ซึ่งก็คือฮอร์โมนเพศหญิง คุณสมบัติของตัวยาช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ ประสิทธิภาพคือเข้าไปขัดขวางการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวอ่อน อีกทั้ง ยังทำให้มูกบริเวณปากมดลูกมีความหนืดข้นมากกว่าเดิม ส่งผลให้อสุจิเคลื่อนตัวเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ยาก ด้วยความสะดวกในการใช้งาน ทำให้ยาคุมกำเนิดถูกใช้มานานกว่า 50 ปี จนถึงปัจจุบัน สาวๆ ส่วนใหญ่มักจะคิดว่า การกินยาคุมกำเนิด เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการวางแผนครอบครัว ในช่วงที่ยังไม่อยากมีลูก ทว่ายาชนิดนี้หากกินเข้าไปบ่อยๆ จะทำให้เกิดผลข้างเคียงแบบชัดเจน นั่นก็คืออาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นสิว ความอ้วน ปวดศีรษะ ฯลฯ แม้กระทั่งยาที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่เป็นยาเม็ดแบบกินเพียงอย่างเดียว ก็ยังสามารถส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายได้เช่นกัน ในระยะยาว สิ่งที่น่ากังวลใจในกลุ่มผู้หญิงที่ยังใช้ยาคุมแบบพร่ำเพรือ ก็คงหนีไม่พ้นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ประเภทของยาเม็ดคุมกำเนิด 1.ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive – COC) เป็นยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนผสมกันอยู่ในเม็ดเดียว โดยทั่วไปจะมีการผสมแบ่งออกเป็น […]