ยาคุมกำเนิด หรือยาคุม (Oral contraceptive pill) เป็นยาที่ถูกผลิตขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1960 เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา
ด้วยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งผลิตออกมาเป็นชนิดเม็ด ง่ายต่อการกินทำให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ภายในตัวยาจะประกอบไปด้วย “เอสโตรเจน“ และ “โปรเจสโตเจน” ซึ่งก็คือฮอร์โมนเพศหญิง
คุณสมบัติของตัวยาช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ ประสิทธิภาพคือเข้าไปขัดขวางการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวอ่อน
อีกทั้ง ยังทำให้มูกบริเวณปากมดลูกมีความหนืดข้นมากกว่าเดิม ส่งผลให้อสุจิเคลื่อนตัวเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ยาก
ด้วยความสะดวกในการใช้งาน ทำให้ยาคุมกำเนิดถูกใช้มานานกว่า 50 ปี จนถึงปัจจุบัน
สาวๆ ส่วนใหญ่มักจะคิดว่า การกินยาคุมกำเนิด เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการวางแผนครอบครัว ในช่วงที่ยังไม่อยากมีลูก
ทว่ายาชนิดนี้หากกินเข้าไปบ่อยๆ จะทำให้เกิดผลข้างเคียงแบบชัดเจน นั่นก็คืออาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นสิว ความอ้วน ปวดศีรษะ ฯลฯ
แม้กระทั่งยาที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่เป็นยาเม็ดแบบกินเพียงอย่างเดียว ก็ยังสามารถส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายได้เช่นกัน
ในระยะยาว สิ่งที่น่ากังวลใจในกลุ่มผู้หญิงที่ยังใช้ยาคุมแบบพร่ำเพรือ ก็คงหนีไม่พ้นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
ประเภทของยาเม็ดคุมกำเนิด
1.ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive – COC)
เป็นยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนผสมกันอยู่ในเม็ดเดียว
โดยทั่วไปจะมีการผสมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เป็นชนิดที่มีฮอร์โมนทั้งสองชนิดผสมเท่ากันในอัตราส่วน 1:1 ทุกเม็ด (Monophasic (one-phase) pills)
ใน 1 ชุดจะประกอบด้วยยาทั้งหมด 21-22 เม็ด เป็นสีเดียวกันทั้งหมด แต่บางชนิดจะมีการเพิ่มเม็ดแป้ง หรือยาบำรุงใส่ไปด้วย
จะแยกออกเป็นสีแตกต่างกัน 7 เม็ดใช้สำหรับ 7 วัน เนื่องจากเป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้ลืมกินยา ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น
กล่าวคือสามารถกินยาได้ครบตามจำนวน ตรงตามเวลาที่ระบุอาไว้
สาเหตุที่มีส่วนผสมในลักษณะนี้ก็เพื่อต้องการเลียนแบบการหลั่งฮอร์โมนของร่างกายในแต่ละรอบเดือน
ส่วนอีกชนิดเป็นแบบฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนผสมในอัตราส่วนไม่เท่ากัน
ใน 1 เม็ด เรียกว่า “ยาคุมกำเนิดสองระยะ” (Biphasic (two-phase) pills) ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกัน 2-3 ระยะ ในชุดที่ 1 และชุดที่ 2
2.ยาคุมกำเนิดประเภทฮอร์โมเดี่ยว
ยาคุมกำเนิดประเภทฮอร์โมเดี่ยว (Progestrogen-only pills – POP, Mini pills) ภายในเม็ดยาจะประกอบด้วย “โปรเจสโตเจน” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
สำหรับตัวยาชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยลดภาวะข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจน นิยมใช้ในผู้หญิงที่มีอาการแพ้ยาคุมอย่างรุนแรง
ประสิทธิภาพการทำงานจะตรงเข้าไปช่วยทำให้มูกที่ปากมดลูกมีความหนืดและเหนียวข้น และเป็นผลทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก
จนในที่สุดเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดการฝ่อ ไข่ที่ตกไม่สามารถฝังตัวได้ อีกทั้งยังช่วยยับยั้งการตกไข่ด้วยวิธีย้อนกลับ ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน FSH และ LH
ภายในแผงจะประกอบด้วยเม็ดยาทั้งหมด 28 เม็ด กินต่อเนื่องกันโดยไม่ต้องหยุด
ซึ่งผลข้างเคียงของยาเกิดขึ้นได้บ้าง แต่เมื่อเทียบกับชนิดแรกแล้วจะมีระดับความรุแรงที่น้อยกว่า
(อ่านเพิ่งเติม : การคุมกำเนิดแบบฝังเข็ม ป้องกันการตั้งครรภ์ ได้อย่างไร?)
อิทธิพลของยาคุมกำเนิดที่มีผลทำให้เกิดโรคมะเร็ง
เนื่องจากยาคุมกำเนิดจะประกอบไปด้วยฮอร์โมน 2 ชนิดหลักๆ ด้วยกันคือเอสโตรเจน และโปรเจนโตเจน
ซึ่งฮอร์โมนตัวแรกเข้าไปทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของมดลูกเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ไปจนถึงช่วงวัยหมดประจำเดือน
ส่วนอีกตัวจะทำหน้าที่ภายหลังประจำเดือนหมด ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่
หากอสุจิเข้าปฏิสนธิกับไข่ ฮอร์โมนโปรเจสโตเจนก็จะทำหน้าที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่ถูกส่งออกมาจากรังไข่ได้อีก
ดังนั้นฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้จึงมักถูกเรียกว่า “pregnancy supporting hormone” หรือฮอร์โมนที่ช่วยส่งเสริมการตั้งครรภ์นั่นเอง
การใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่องกันในระยะยาว หลังจากการวิจัยทางการแพทย์ที่เน้นไปที่ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด
พบการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้นในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมต่อเนื่องในระยะยาว
ซึ่งพบได้ทั้งในส่วนของมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ ที่มียาคุมเป็นตัวกระตุ้นร่วมกับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ
ยาคุมกำเนิดกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
แม้ว่ามะเร็งเต้านมจะเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทางธรรมชาติ ทั้งภายนอกและภายในร่างกาย
แต่ฮอร์โมนก็มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่าผู้หญิงที่มีการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมมากกว่าในผู้หญิงที่ไม่เคยใช้
และยิ่งพบว่าในกลุ่มที่เริ่มใช้ยาตั้งแต่ในวัยรุ่นยังมีความเสี่ยงจากฮอร์โมนมากขึ้นเป็นเท่าตัวอีกด้วย
ในกลุ่มที่ใช้เม็ดยาคุมกำเนิดติดต่อกันนานกว่า 5 ปีขึ้น จะถูกตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูงสุดต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
ยิ่งเริ่มใช้ในช่วงที่มีอายุน้อยมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ความเสี่ยงมากกว่าในวัยผู้ใหญ่
ยาคุมกำเนิดกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งรังไข่
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่ามะเร็งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่การกินยาคุมกำเนิดก็มีผลเข้าไปกระตุ้นทำให้เกิดโรคมะเร็งได้มากขึ้นอีกเท่าตัว
นอกจากมะเร็งเต้านมแล้ว ยังพบอีกด้วยว่ายาคุมทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งรังไข่เพิ่มมากขึ้นได้เช่นเดียวกัน
เพราะตัวยาจะเข้าไปปรับเปลี่ยนการทำงานของรังไข่ การตกไข่ และการเปลี่ยนแปลงภายในมดลูกจากเดิมที่มีวงจรตามธรรมชาติ
ทำให้เกิดอาการรวน ทำงานผิดปกติ การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ยาเข้าไปยับยั้งการตกไข่
ส่งผลให้รายที่หยุดยาไปแล้วหลายปีมีภาวะประจำเดือนขาดๆ หายๆ เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก ภาวะมีบุตรยาก ฯลฯ ตามมาด้วย
Photo Credit : iflscience.com
อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของโรคมะเร็งกับการกินยาคุมกำเนิด ไม่ได้ส่งผลทำให้เกิดโรคนี้โดยตรง
เป็นเพียงแค่ผลกระทบที่จะเข้าไปกระตุ้นทำให้บางคนที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว มีอัตราในการเกิดโรคสูงมากขึ้นไปอีก
ทางที่ดีหากสาวๆ ยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ ลองใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่น เช่นการใช้ห่วงอนามัย การใช้ถุงยาง
หรือการฝังยาคุมกำเนิด ทดแทนการกิน จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวให้น้อยลงไปได้ระดับหนึ่ง