อย่ามองข้าม! อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน สัญญาณเตือนป่วยโรคนิ่วในหูชั้นใน

อาการเวียนศีรษะ พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ จัดเป็นอาการอย่างหนึ่งไม่ใช่โรค ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยหรือเป็นพักๆ ก็ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ แต่หากพบว่ามีอาการเวียนศีรษะ และอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการเสียการทรงตัว หรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้ทราบถึง โรคนิ่วในหูชั้นใน หรือเรียกอีกชื่อว่า โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน หรือ โรคเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่า วันนี้เราเลยจะพาคุณมาทำความรู้จักโรคนี้กันมากยิ่งขึ้น ใครมีอาการดังกล่าวบ่อยๆ อย่าชะล่าใจมองข้ามเป็นอันขาด เอาล่ะ โรคนี้เป็นอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ โรคนิ่วในหูชั้นใน คืออะไร? โรคนิ่วในหูชั้นใน (benign paroxysmal positional vertigo: BPPV) เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมีสาเหตุเกิดมาจากความเสื่อมของหูชั้นใน ซึ่งเป็นอวัยวะภายในที่ฝังอยู่ในกระดูกเทมโพราล (temporal bone) มีอวัยวะที่สำคัญ 2 ส่วนคือ อวัยวะรูปหอยโข่ง (Cochlea) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน และหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว ซึ่งอวัยวะทั้งสองส่วนนี้จะต่อกันเป็นอวัยวะภายในหูชั้นใน รวมเรียกว่า แลบบิรินท์ (labyrinth) โรคนี้จะพบตะกอนแคลเซียมสะสมอยู่ในบริเวณอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน เมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะจะเกิดการกระตุ้น ให้เกิดการเคลื่อนที่ของตะกอนแคลเซียม […]

kaewsai

January 15, 2018

โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาอย่างถูกต้อง

โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้สูงอายุ และเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์อยู่เสมอ แต่โดยทั่วไปแล้ว อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เนื่องจากความเสื่อมสภาพของทางร่างกายและอวัยวะหลาย ๆ ชนิด หากนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือลุกขึ้นเร็วผิดจังหวะ ก็ย่อมสามารถทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้ แต่จะมีอีกกรณีหนึ่งคือ การเวียนศีรษะที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรัง โดยเกิดขึ้นมากกว่า 1-2 เดือนขึ้นไป ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้สูงอายุได้เลยทีเดียว โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ คืออะไร? โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่ผู้สูงอายุจะมีอาการเวียนศีรษะขึ้นมาโดยไม่ทันตั้งตัว และมีอาการบ้านหมุนทำให้รู้สึกเหมือนจะหน้ามืด เป็นลม พร้อมกับมีอาการอาเจียนและพะอืดพะอมร่วมด้วย ซึ่งทั้งนี้โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุจะแบ่งอาการออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ อาการเวียนศีรษะแบบฉับพลัน (Acute dizzness) โดยจะเกิดขึ้นในเวลาน้อยกว่า 1-2 เดือน และแบบเรื้อรังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในเวลามากกว่า 1-2 เดือนนั่นเอง แต่ที่มักจะพบได้บ่อยที่สุดคือ อาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรัง (Chronic dizziness) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกทรงตัวได้ไม่ดี ทำให้มีโอกาสหกล้มได้สูง และหากหกล้มแรง ๆ ก็มีโอกาสที่จะทำให้กระดูกหัก และเกิดปัญหาอีกมากมายตามมาได้ ด้วยเหตุนี้ หากละเลยการดูแลรักษาโรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุเป็นเวลานานก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า เนื่องจากไม่กล้าที่จะลุกขึ้นยืนด้วยตัวเอง อะไรที่เคยทำก็จะทำไม่ได้อย่างเช่นในอดีตเพราะกลัวหกล้ม เป็นเหตุให้รู้สึกอับอาย รู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นภาระของลูกหลาน ซึ่งท้ายที่สุดนั้นผู้ป่วยอาจจะรู้สึกตรอมใจ และไม่อยากมีชีวิตอยู่ได้ […]

kaewsai

December 18, 2017

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน สาเหตุ อาการและวิธีรักษาอย่างถูกต้อง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นอีกโรคหนึ่งที่ค่อนข้างสร้างความทุกข์ใจให้แก่ผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก เพราะทำให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันเป็นไปอย่างไม่สะดวกราบรื่นนัก เนื่องจากปัญหาสุขภาพหูมีความผิดปกติ เช่น เกิดเสียงดังในหู มีอาการหูอื้อและมีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆ อาการเหล่านี้ไม่มีใครอยากเป็นกันทั้งนั้น วันนี้เราจึงพาคุณไปทำความรู้จักโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน จะมีสาเหตุมาจากสิ่งใด อาการและวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง มาติดตามพร้อมๆ กันเลยค่ะ ทำความรู้จักโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคความดันน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคเมเนียร์ (Meniere’s disease) พบมากในวัยทำงานจนถึงวัยสูงอายุ คือช่วงอายุ 30-60 ปี พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่จะพบในผู้หญิงมากกว่าเล็กน้อย โดยอาการมักจะเริ่มแสดงเมื่ออายุ 30 ปี เป็นโรคที่พบได้บ่อย ๆ เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน ซึ่งเกิดจากความดันน้ำในหูชั้นในที่เรียกว่า Endolymph มากผิดปกติ ส่งผลให้หูขั้นในที่มีหน้าที่ในการรับเสียงกับการทรงตัว ไม่สามารถที่จะทำงานได้อย่างปกติ โดย Endolymph มีเกลือแร่ที่สำคัญอย่าง โปรแตสเซียม และถ้าไปปนกับน้ำส่วนอื่น ๆ หูจะทำงานไม่ได้ เยื่อต่าง ๆ ในหูชั้นในจะแตก สาเหตุของการเกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ในปัจจุบันยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด และบางครั้งอาจไม่พบว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่มีตัวกระตุ้นหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในกับปัจจัยภายนอก ซึ่งปัจจัยภายในเกิดจากโรคทางกรรมพันธุ์ พบได้ถึง […]

kaewsai

September 17, 2017