สัญญาณเตือน เสี่ยงมีพฤติกรรม ฆ่าตัวตาย

แต่ละปีจะมีคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ยราวๆ 8 แสนราย และเกือบ 80% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในนั้น ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่า ทุก ๆ 40 วินาที จะมี 1 ชีวิตที่มอดดับ และในระหว่างที่คุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ ก็จะมีอีกหนึ่ง และอีกหนึ่ง และอีกหลายสิบหนึ่งชีวิต อำลาโลกใบนี้ไปอย่างขมขื่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข เปิดเผย วิธีการสังเกตอาการเสี่ยงฆ่าตัวตาย บนโลกโซเชียล หลังจากมีข่าวการฆ่าตัวตายของดาราชายท่านนึง พร้อมแนะนำวิธีช่วยเหลือเบื้องต้น ให้คนรอบข้างหรือคนใกล้ชิดพึ่งสังเกตพฤติกรรมดังกล่าว 5 สัญญาณเตือน เสี่ยงมีพฤติกรรม ฆ่าตัวตาย บนโลกโซเชียล 1. การโพสต์ข้อความสั่งเสียเป็นนัยๆ เช่น ขอบคุณ ขอโทษ ลาก่อน 2. โพสต์ข้อความพูดถึงความตาย หรือไม่อยากอยู่อีกต่อไปแล้ว 3. โพสต์ข้อความว่า ตนเองรู้สึกผิด รู้สึกตนเองล้มเหลว รู้สึกหมดหวังในชีวิต 4. โพสต์ข้อความพูดถึงความเจ็บปวด 5. โพสต์ข้อความว่าตนเองเป็นภาระของผู้อื่น กว่าที่คน ๆ หนึ่งจะไปถึงจุดที่ฆ่าตัวตายได้ […]

mahosot

October 10, 2019

โรค PBA ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ แสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์

ภาวะควบคุมการหัวเราะหรือร้องไห้ไม่ได้ หรือ โรค PBA – Pseudobulbar Affect (สู-โด-บัล-บาร์-แอฟ-เฟ็ค) บางครั้งก็ถูกเรียกอีกชื่อว่า Pathological Laughing and Crying ท่านที่พึ่งเป็นดูภาพยนต์เรื่อง Joker มา และได้เห็นถึงการแสดงการอามณ์ของโจ๊กเกอร์ ตัวเอก ตัวร้ายของเรื่อง จะเห้นภาวะอารมณ์ที่สือ่ถึงการ ควบคุมการร้องไห้ หรือการหัวเราะไม่ได้ สิ่งที่น่าสนใจใน Joker (2019) ประเด็นหนึ่งคือการพูดถึง “ความเจ็บป่วย” ในหลายๆ มิติ เราได้พบตั้งแต่เริ่มว่า Joker มีปัญหาทางจิตและโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เขามีปัญหาในการหัวเราะ (และทุกๆครั้งที่เขาหัวเราะมักไม่ได้เกิดขึ้นเพราะรู้สึกตลก หากแต่เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม) ซึ่งไม่ได้ถูกรักษา หรือมีความพยายามจะเยียวยาแต่อย่างใด มาถึงตรงนี้ คงสงสัยเกี่ยวกับโรคนี้ว่า คืออะไร มันมีที่มาที่ไปอย่างไร เรามาดูกันค่ะว่า คนที่เป็นโรคควบคุมการหัวเราะหรือการร้องไห้ไม่ได้ หรือ PBA นี้ อาการเป็นอย่างไร อาการของโรคภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ หรือ โรค PBA การร้องไห้ การหัวเราะ เป็นเรื่องปกติของชีวิตคน แต่บางครั้งการหัวเราะ และการร้องไห้ก็เป็นความผิดปกติเหมือนกัน […]

mahosot

October 8, 2019

โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก ปัญหาสุขภาพจิตที่เล่นงานคนยุคใหม่ได้ง่ายไม่รู้ตัว

โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก เป็นโรคใหม่ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่ด้วยเพราะยุคสมัยที่ก้าวล้ำไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์นับวันก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากขึ้น กระแสการอัพเดทเรื่องราวชีวิตตนเองผ่านเฟซบุ๊กจึงมีมากขึ้นตาม และโซเชียลมีเดียก็ล้วนแฝงไปด้วยความหลอกลวงเช่นกัน บางอย่างก็ไม่ใช่ข้อมูลจริง อาจเป็นข้อมูลที่บิดเบือน โดยเฉพาะเฟซบุ๊กที่นอกจะช่วยย่อโลกของมิตรภาพมาใกล้ชิดกันมากขึ้นแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่าการเล่นเฟซบุ๊ก หากผู้เล่นใช้ประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง ก็ย่อมตกเป็นเหยื่อของเฟซบุ๊กอย่างการมีปัญหาทางสุขภาพจิต จากการอิจฉาคนอื่นที่มีชีวิตดีกว่า นำมาซึ่งการมองตัวเองในคุณค่าที่ต่ำลง จนทำให้เกิดโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กตามมาในที่สุด โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก คืออะไร โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) เกิดจากการใช้งานเฟซบุ๊ก จนอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ หากเครือข่ายสังคมก่อให้เกิดความอิจฉาในหมู่ผู้ใช้ ขณะเดียวกัน เฟสบุ๊กอาจเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและส่งผลให้สุขภาพดี หากผู้ใช้ใช้ประโยชน์เพื่อเชื่อมต่อกับครอบครัว และเพื่อนเก่าเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจและมีความสำคัญในชีวิตในรูปแบบที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากเฝ้ามองเพื่อนที่กำลังทำเงินหรือสร้างความสุข เฟซบุ๊กก็สามารถดึงคุณให้ไปสู่ความรู้สึกที่หดหู่ใจได้ สาเหตุของโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) มีสาเหตุมาจากการติดตามเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก ผลลัพธ์จากการศึกษาบางชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจาก 1.การใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจลดความสัมพันธ์แบบเห็นหน้ากัน 2.ลดการลงทุนในกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์ 3.เพิ่มพฤติกรรมการเดิน นิ่ง โดยการกระตุ้นให้มีเวลาหน้าจอมากขึ้น 4.นำไปสู่การเสพติดอินเทอร์เน็ตและการทำลายความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ผ่านการเปรียบเทียบทางสังคมที่ไม่เอื้ออำนวย คนมักจะแสดงแง่มุมที่ดีที่สุดในชีวิตของตนเองบนโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างความเป็นไปได้ที่ต้องการให้คนอื่นเชื่อว่าชีวิตของตนเองดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตของเพื่อน ๆ ที่แสดงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ […]

kaewsai

August 20, 2018

รวม 10 โรงพยาบาลรักษาโรคซึมเศร้าที่มีจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากที่สุด

โรงพยาบาลรักษาโรคซึมเศร้า เป็นโรงพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตโดยตรง โดยเฉพาะ โรคซึมเศร้า เนื่องจาก ความกดดันส่งผลทำให้คนไทยในปัจจุบัน ป่วยเป็นโรคนี้กันอย่างมากขึ้น และยังมีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับวันโรคซึมเศร้ามักตรวจพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานที่มักเผชิญความกดดัน สำหรับอาการของโรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิด ไม่สบายใจ รู้สึกเศร้าใจ ลดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว มีอาการนอนไม่หลับกระสับกระส่าย รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถ ผิดหวังอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถตัดสินใจและไม่มีสมาธิ มีอาการอ่อนล้า ไม่มีกำลังใจอย่างเห็นได้ชัด พร้อมทั้งเป็นคนที่ยังคิดย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งขั้นรุนแรงมากที่สุดก็คือ คิดถึงแต่ความตาย วันนี้เราจึงรวบรวม โรงพยาบาลรักษาโรคซึมเศร้า 10 แห่งที่มีจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดสภาวะจิตใจ และการจ่ายยาเฉพาะทางได้อย่างตรงจุด ใครที่เป็นโรคนี้อยู่ ไม่ควรพลาดเด็ดขาด โรงพยาบาลรักษาโรคซึมเศร้า มีที่ไหนบ้าง? 1.สถาบันจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดสภาพจิตใจผู้ป่วยทางจิต โดยโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่มีการรักษาจิตเวชโดยได้รับความมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้โดยเริ่มแรกได้มีแพทย์ชาวต่างชาติประจำอยู่โรงพยาบาลและเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาล หลังจากนั้นทางโรงพยาบาลเริ่มมีแพทย์เฉพาะทางจิตเวชเพิ่มจำนวนในการประจำการเพื่อรักษาผู้ป่วย โรคซึมเศร้า รวมทั้งความพร้อมของเครื่องมือ และยาสำหรับใช้รักษาผู้ป่วยรวมทั้งบุคลากรที่มีความสามารถและมีความรู้เฉพาะทาง ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชและฟื้นฟูสภาพจิตใจ จากโรคซึมเศร้า ที่ตั้ง : 112 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 เบอร์โทรศัพท์ : 02-442-2500 […]

kaewsai

June 23, 2018