โรค PBA ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ แสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์

PBA โรคภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้
โรค PBA

ภาวะควบคุมการหัวเราะหรือร้องไห้ไม่ได้ หรือ โรค PBAPseudobulbar Affect (สู-โด-บัล-บาร์-แอฟ-เฟ็ค) บางครั้งก็ถูกเรียกอีกชื่อว่า Pathological Laughing and Crying ท่านที่พึ่งเป็นดูภาพยนต์เรื่อง Joker มา และได้เห็นถึงการแสดงการอามณ์ของโจ๊กเกอร์ ตัวเอก ตัวร้ายของเรื่อง จะเห้นภาวะอารมณ์ที่สือ่ถึงการ ควบคุมการร้องไห้ หรือการหัวเราะไม่ได้

สิ่งที่น่าสนใจใน Joker (2019) ประเด็นหนึ่งคือการพูดถึง “ความเจ็บป่วย” ในหลายๆ มิติ เราได้พบตั้งแต่เริ่มว่า Joker มีปัญหาทางจิตและโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เขามีปัญหาในการหัวเราะ (และทุกๆครั้งที่เขาหัวเราะมักไม่ได้เกิดขึ้นเพราะรู้สึกตลก หากแต่เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม) ซึ่งไม่ได้ถูกรักษา หรือมีความพยายามจะเยียวยาแต่อย่างใด

มาถึงตรงนี้ คงสงสัยเกี่ยวกับโรคนี้ว่า คืออะไร มันมีที่มาที่ไปอย่างไร เรามาดูกันค่ะว่า คนที่เป็นโรคควบคุมการหัวเราะหรือการร้องไห้ไม่ได้ หรือ PBA นี้ อาการเป็นอย่างไร

อาการของโรคภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ หรือ โรค PBA

การร้องไห้ การหัวเราะ เป็นเรื่องปกติของชีวิตคน แต่บางครั้งการหัวเราะ และการร้องไห้ก็เป็นความผิดปกติเหมือนกัน

จากการศึกษาครั้งสำคัญพบว่า 51% ของคนที่มี PBA รายงานว่าใช้เวลากับเพื่อนและครอบครัวน้อยมากและ 57% ไม่มีเวลาคุยโทรศัพท์ ดังนั้นผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงานของโรคนี้จึงรุนแรง อาการของโรค PBA จะมีลักษณะเด่นๆ เลยคือ

  • มีการร้องไห้หรือหัวเราะรุนแรง และควบคุมไม่ได้
  • การร้องไห้หรือหัวเราะนั้น ไม่เข้ากับสถานการณ์ใดๆ
  • การแสดงสีหน้า ไม่ตรงกับอารมณ์
  • อาการจะเป็นต่อเนื่องยาวนานเกินกว่าที่คาดไว้ และอาจเกิดได้หลายครั้งต่อวัน

สาเหตุของโรค PBA

เชื่อว่า โรค PBA เกิดจากปัญหาที่สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) พบได้ในโรคต่างๆ ดังนี้

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคความจำเสื่อมและโรคพาร์กินสัน
  • เนื้องอกในสมองบางชนิด
  • Multiple Sclerosis หรือโรคปลอกประสาทเสื่อม

วิธีแก้ไขและบรรเทาอาการ

พบแพทย์และอธิบายอาการ เพื่อแยกระหว่างโรค PBA กับ โรคทางอารมณ์ ชนิดอื่นๆ เช่น ไบโพลาร์ โรคซึมเศร้า อัลไซม์เมอร์ หรือโรคพาร์กินสัน และทำการจดบันทึกช่วงเวลาที่มีอาการ, รักษาด้วยวิธีการใช้ยา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม >> โรคไบโพล่า อาการเป็นอย่างไร รักษาที่ไหนดี?

วิธีการดูแลตนเอง สำหรับคนที่เป็นโรค PBA

  • พูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคนี้ให้กับครอบครัวฟัง เพื่อลดความตื่นตระหนกเมื่อเกิดอาการ
  • การปรับเปลี่ยนอิริยาบถ สามารถลดอาการได้ เช่น จากลุกเป็นนั่ง จากนั่งเป็นเดิน
  • หายใจเข้าออกช้าๆ
  • ฝึกการผ่อนคลายทุกวัน

ถ้าท่านคิดว่าคนใกล้ชิดของท่านหรือตัวท่านเอง มีอาการของโรค PBA หรืออาการใกล้เคียงดังกล่าวข้างต้น สามารถติดต่อ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชม.