โรค PBA ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ แสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์

ภาวะควบคุมการหัวเราะหรือร้องไห้ไม่ได้ หรือ โรค PBA – Pseudobulbar Affect (สู-โด-บัล-บาร์-แอฟ-เฟ็ค) บางครั้งก็ถูกเรียกอีกชื่อว่า Pathological Laughing and Crying ท่านที่พึ่งเป็นดูภาพยนต์เรื่อง Joker มา และได้เห็นถึงการแสดงการอามณ์ของโจ๊กเกอร์ ตัวเอก ตัวร้ายของเรื่อง จะเห้นภาวะอารมณ์ที่สือ่ถึงการ ควบคุมการร้องไห้ หรือการหัวเราะไม่ได้ สิ่งที่น่าสนใจใน Joker (2019) ประเด็นหนึ่งคือการพูดถึง “ความเจ็บป่วย” ในหลายๆ มิติ เราได้พบตั้งแต่เริ่มว่า Joker มีปัญหาทางจิตและโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เขามีปัญหาในการหัวเราะ (และทุกๆครั้งที่เขาหัวเราะมักไม่ได้เกิดขึ้นเพราะรู้สึกตลก หากแต่เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม) ซึ่งไม่ได้ถูกรักษา หรือมีความพยายามจะเยียวยาแต่อย่างใด มาถึงตรงนี้ คงสงสัยเกี่ยวกับโรคนี้ว่า คืออะไร มันมีที่มาที่ไปอย่างไร เรามาดูกันค่ะว่า คนที่เป็นโรคควบคุมการหัวเราะหรือการร้องไห้ไม่ได้ หรือ PBA นี้ อาการเป็นอย่างไร อาการของโรคภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ หรือ โรค PBA การร้องไห้ การหัวเราะ เป็นเรื่องปกติของชีวิตคน แต่บางครั้งการหัวเราะ และการร้องไห้ก็เป็นความผิดปกติเหมือนกัน […]

mahosot

October 8, 2019

ปัญหาการล้มในผู้สูงอายุ พร้อมวิธีรับมือป้องกัน

  การล้มในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เพราะสังคมปัจจุบัน ผู้สูงอายุถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพัง เนื่องจากสภาวะการเป็นไปทางสังคม เศรษฐกิจของแต่ละครอบครัวที่มีความจำเป็นแตกต่างกันไป ซึ่งเมื่อไม่มีคนดูแลอย่างใกล้ชิด ก็อาจเกิดปัญหาสุขภาพหรืออุบัติเหตุขึ้นกับผู้สูงอายุได้ง่าย โดยเฉพาะการหกล้ม ลื่นล้มที่เป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุมากทีเดียว โดยวันนี้เราก็จะพาคุณไปทำความเข้าใจกับปัญหาการล้มในวัยสูงอายุ สาเหตุ ผลกระทบ และวิธีรับมือป้องกันกันด้วย สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุล้มบ่อย สำหรับสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุล้มบ่อย ก็มี 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1.ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกก็คือสภาพแวดล้อมในที่อยู่อาศัยหรือบริเวณที่ผู้สูงอายุเดินทางไป เช่น พื้นลื่น มีสิ่งของวางเกะกะทางเท้า ซึ่งอาจเหยียบหรือสะดุดล้มได้ 2.ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายใน ก็คือปัญหาสุขภาพของตัวผู้สูงอายุเอง เช่น สายตาพร่ามัว สายตาสั้นหรือยาวไป ทำให้พลาดในการคำนวนระยะทาง มีปัญหาข้อต่อและเส้นเอ็นเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้การทรงตัวไม่ดีพอ จึงเกิดการหกล้มได้ง่าย หรืออาจเป็นเพราะโรคประจำตัว ที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดสมอง จนทำให้มีปัญหาแขนขาอ่อนแรง โรคพาร์กินสัน ซึ่งทำให้ร่างกายสั่น มักจะทำให้ผู้สูงอายุหกล้มได้บ่อย รวมถึงการรับประทานยาลดความดันโลหิต ยานอนหลับและยาต้านการซึมเศร้า ก็จัดเป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน ผลกระทบเมื่อเกิดการล้ม เมื่อผู้สูงอายุล้ม อาจก่อให้เกิดผลกระทบได้ดังนี้ 1.ทางด้านร่างกาย จะทำให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตได้ 2.ต้องเสียเงินในการรักษา และถ้าหากเป็นมาก […]

mahosot

October 13, 2018

ภาวะสมองเสื่อม ตัวการทำลายความจำที่คนวัย 40 Up ควรระวัง !

ภาวะสมองเสื่อม เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรเฝ้าระมัดระวังมากพอสมควร หลายคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคนี้ จวบจนเมื่ออาการแย่หนักขึ้น ดังนั้น เราจึงควรใส่ใจศึกษาโรคนี้กันอย่างเนิ่นๆ โดยเฉพาะ สุขภาพคนวัย 40 ซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ค่อนข้างสูง ไปตลอดจน ผู้สูงอายุ ก็เช่นเดียวกัน วันนี้เราเลยจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ ภาวะสมองเสื่อม คืออะไร? ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีปัญหาจากการบกพร่องของระบบประสาทจากสมอง และเนื่องจากเป็นกลุ่มอาการของโรค ภาวะสมองเสื่อมจึงสามารถจำแนกได้อีกหลากหลายประเภท โดยส่วนใหญ่แล้วในปัจจุบันผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักมีความเสี่ยงในการเป็นภาวะสมองเสื่อมสูงมากขึ้น ผิดจากในอดีตที่ภาวะสมองเสื่อมมักจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ประเภทของภาวะสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการความผิดปกติที่สามารถจำแนกได้หลายประเภท ดังนี้ โรคอัลไซเมอร์ : เป็นโรคที่เกิดจากคราบพลาก ที่มาจากเซลล์ในสมองตายทำให้เกิดการสะสมรวมตัวกัน และอาจจะเกิดได้จากความผิดปกติของระบบภายในสมอง ทำให้พัฒนาได้ช้า ส่งผลต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โรคคล้ายอัลไซเมอร์ : รูปแบบของอาการอาจจะมีความคล้ายคลึงกับอัลไซเมอร์ แต่จะแตกต่างตรงที่จะมีภาวะเป็นอัลไซเมอร์แบบชั่วคราว คือเป็นๆ หายๆ โดยเกิดจากความผิดปกติของโปรตีนภายในระบบสมอง ที่จับตัวรวมกันเป็นก้อน เรียกว่า ก้อนโปรตีน Lewy body […]

kaewsai

July 8, 2018

โรคพาร์กินสัน โรคทางสมอง ทำลายการทรงตัวผู้สูงอายุให้เสียสมดุล

โรคพาร์กินสัน ถือเป็นที่อีกหนึ่งภัยเงียบที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด และมีการสั่นของมือและขา ซึ่งโรคพาร์กินสันเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบการทำงานของเซลล์สมองที่คอยควบคุมเรื่องการเคลื่อนไหวของร่างกาย ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ทำให้หายขาดจากโรคนี้ได้ แต่ก็สามารถใช้การรับประทานยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการป่วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติมากขึ้น ดังนั้น ก่อนที่โรคพาร์กินสันจะเกิดขึ้นกับตัวเราหรือญาติ ผู้สูงอายุ เราควรทำความรู้จักกับโรคพาร์กินสันให้มากยิ่งขึ้นดังนี้ โรคพาร์กินสัน คืออะไร? โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หรือ โรคสันนิบาต คือโรคที่เกิดขึ้นทางสมองโดยเกิดจากเซลล์ประสาท ที่อยู่ในบางตำแหน่งมีการเสื่อมสภาพหรือตายลงอย่างไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ส่งผลทำให้สารสื่อประสาทภายในสมองที่เรียกว่า โดปามีน มีปริมาณลดน้อยลง เมื่อสารดังกล่าวลดลงผู้ป่วยจะมีอาการสำคัญคือ เกิดอาการสั่นในขณะช่วงของการพัก เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลง มีอาการแข็งแรงตามสภาพร่างกาย และการทรงตัวเสียสมดุล เป็นต้น สาเหตุของการเกิดโรค โรคพาร์กินสันเกิดจากการเสื่อมเซลล์สมองในส่วนของก้านสมองที่ทำหน้าที่สร้างสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเป็นเซลล์ที่คอยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ควบคุมเรื่องการทรงตัว ซึ่งเมื่อเซลล์ดังกล่าวเสื่อมสภาพหรือลดลง จึงส่งผลให้ร่างกายของเราเกิดอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ได้แก่ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้าลง บางครั้งก็อาจมีอาการแข็งเกร็ง ซึ่งอาการทั้งหมดส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย มีปัญหาในการเดินและทรงตัว ปัจจัยสำคัญที่เป็นผลให้เกิดโรคพาร์กินสัน ปัจจัยสำคัญที่เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคพาร์กินสัน มีอยู่ 3 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ 1.อายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากอาการของโรคพาร์กินสันเป็นอาการที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ในสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุที่สุขภาพถดถอยลงตามวัย 2.เกิดจากพันธุกรรม […]

kaewsai

June 6, 2018