สัญญาณเตือน เสี่ยงมีพฤติกรรม ฆ่าตัวตาย

แต่ละปีจะมีคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ยราวๆ 8 แสนราย และเกือบ 80% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในนั้น ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่า ทุก ๆ 40 วินาที จะมี 1 ชีวิตที่มอดดับ และในระหว่างที่คุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ ก็จะมีอีกหนึ่ง และอีกหนึ่ง และอีกหลายสิบหนึ่งชีวิต อำลาโลกใบนี้ไปอย่างขมขื่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข เปิดเผย วิธีการสังเกตอาการเสี่ยงฆ่าตัวตาย บนโลกโซเชียล หลังจากมีข่าวการฆ่าตัวตายของดาราชายท่านนึง พร้อมแนะนำวิธีช่วยเหลือเบื้องต้น ให้คนรอบข้างหรือคนใกล้ชิดพึ่งสังเกตพฤติกรรมดังกล่าว 5 สัญญาณเตือน เสี่ยงมีพฤติกรรม ฆ่าตัวตาย บนโลกโซเชียล 1. การโพสต์ข้อความสั่งเสียเป็นนัยๆ เช่น ขอบคุณ ขอโทษ ลาก่อน 2. โพสต์ข้อความพูดถึงความตาย หรือไม่อยากอยู่อีกต่อไปแล้ว 3. โพสต์ข้อความว่า ตนเองรู้สึกผิด รู้สึกตนเองล้มเหลว รู้สึกหมดหวังในชีวิต 4. โพสต์ข้อความพูดถึงความเจ็บปวด 5. โพสต์ข้อความว่าตนเองเป็นภาระของผู้อื่น กว่าที่คน ๆ หนึ่งจะไปถึงจุดที่ฆ่าตัวตายได้ […]

mahosot

October 10, 2019

โรค PBA ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ แสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์

ภาวะควบคุมการหัวเราะหรือร้องไห้ไม่ได้ หรือ โรค PBA – Pseudobulbar Affect (สู-โด-บัล-บาร์-แอฟ-เฟ็ค) บางครั้งก็ถูกเรียกอีกชื่อว่า Pathological Laughing and Crying ท่านที่พึ่งเป็นดูภาพยนต์เรื่อง Joker มา และได้เห็นถึงการแสดงการอามณ์ของโจ๊กเกอร์ ตัวเอก ตัวร้ายของเรื่อง จะเห้นภาวะอารมณ์ที่สือ่ถึงการ ควบคุมการร้องไห้ หรือการหัวเราะไม่ได้ สิ่งที่น่าสนใจใน Joker (2019) ประเด็นหนึ่งคือการพูดถึง “ความเจ็บป่วย” ในหลายๆ มิติ เราได้พบตั้งแต่เริ่มว่า Joker มีปัญหาทางจิตและโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เขามีปัญหาในการหัวเราะ (และทุกๆครั้งที่เขาหัวเราะมักไม่ได้เกิดขึ้นเพราะรู้สึกตลก หากแต่เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม) ซึ่งไม่ได้ถูกรักษา หรือมีความพยายามจะเยียวยาแต่อย่างใด มาถึงตรงนี้ คงสงสัยเกี่ยวกับโรคนี้ว่า คืออะไร มันมีที่มาที่ไปอย่างไร เรามาดูกันค่ะว่า คนที่เป็นโรคควบคุมการหัวเราะหรือการร้องไห้ไม่ได้ หรือ PBA นี้ อาการเป็นอย่างไร อาการของโรคภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ หรือ โรค PBA การร้องไห้ การหัวเราะ เป็นเรื่องปกติของชีวิตคน แต่บางครั้งการหัวเราะ และการร้องไห้ก็เป็นความผิดปกติเหมือนกัน […]

mahosot

October 8, 2019

รวม 10 โรงพยาบาลรักษาโรคซึมเศร้าที่มีจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากที่สุด

โรงพยาบาลรักษาโรคซึมเศร้า เป็นโรงพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตโดยตรง โดยเฉพาะ โรคซึมเศร้า เนื่องจาก ความกดดันส่งผลทำให้คนไทยในปัจจุบัน ป่วยเป็นโรคนี้กันอย่างมากขึ้น และยังมีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับวันโรคซึมเศร้ามักตรวจพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานที่มักเผชิญความกดดัน สำหรับอาการของโรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิด ไม่สบายใจ รู้สึกเศร้าใจ ลดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว มีอาการนอนไม่หลับกระสับกระส่าย รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถ ผิดหวังอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถตัดสินใจและไม่มีสมาธิ มีอาการอ่อนล้า ไม่มีกำลังใจอย่างเห็นได้ชัด พร้อมทั้งเป็นคนที่ยังคิดย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งขั้นรุนแรงมากที่สุดก็คือ คิดถึงแต่ความตาย วันนี้เราจึงรวบรวม โรงพยาบาลรักษาโรคซึมเศร้า 10 แห่งที่มีจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดสภาวะจิตใจ และการจ่ายยาเฉพาะทางได้อย่างตรงจุด ใครที่เป็นโรคนี้อยู่ ไม่ควรพลาดเด็ดขาด โรงพยาบาลรักษาโรคซึมเศร้า มีที่ไหนบ้าง? 1.สถาบันจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดสภาพจิตใจผู้ป่วยทางจิต โดยโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่มีการรักษาจิตเวชโดยได้รับความมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้โดยเริ่มแรกได้มีแพทย์ชาวต่างชาติประจำอยู่โรงพยาบาลและเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาล หลังจากนั้นทางโรงพยาบาลเริ่มมีแพทย์เฉพาะทางจิตเวชเพิ่มจำนวนในการประจำการเพื่อรักษาผู้ป่วย โรคซึมเศร้า รวมทั้งความพร้อมของเครื่องมือ และยาสำหรับใช้รักษาผู้ป่วยรวมทั้งบุคลากรที่มีความสามารถและมีความรู้เฉพาะทาง ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชและฟื้นฟูสภาพจิตใจ จากโรคซึมเศร้า ที่ตั้ง : 112 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 เบอร์โทรศัพท์ : 02-442-2500 […]

kaewsai

June 23, 2018

Hyperventilation syndrome โรคหอบจากอารมณ์ ภัยเงียบที่หลายคนมองข้าม !

โรคหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndrome) เป็นชื่อที่ดูไม่ค่อยคุ้นหูพวกเราเท่าใดนัก แม้ว่าจะเป็นโรคที่พบได้มาก แต่เราอาจจะคุ้นในชื่อเรียกว่า ภาวะไฮเปอร์ มักจะเกิดขึ้นจากผลกระทบที่มีต่ออารมณ์ ทำให้เกิดอาการหอบ หายใจเร็วมากเกินไป ส่งผลให้ออกซิเจนในร่างกายผิดปกติ ผู้ป่วยจะเกิดการหายใจเร็วโดยไม่รู้ตัว มักจะลึกบ้างตื้นบ้างสลับกันอยู่นาน ค่าสารเคมีในเลือดเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดภาวะอื่นๆ ทางร่างกายตามมา ทั้งนี้อาการดังกล่าวจะเชื่อมโยงโดยตรงกับความรู้สึกกังวล เครียด ความกดดันทางจิตใจ เป็นโรคที่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราว ไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่หากปล่อยทิ้งไว้นาน ผู้ป่วยอาจจะเกิดอารมณ์คิดสั้นแบบชั่ววูบ เป็นผลกระทบทางอ้อมตามมาได้นั่นเองค่ะ ลักษณะของอาการ Hyperventilation ที่พบได้ทั่วไป สำหรับลักษณะอาการที่พบของโรคหอบทางอารมณ์ จะเริ่มจากที่ผู้ป่วยหายใจแบบผิดปกติโดยไม่รู้ตัว ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดจะต้องพบกับตัวกระตุ้นที่ส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้รู้สึกโกรธ กดดัน หงุดหงิด เครียด และวิตกกังวล เมื่อการหายใจไม่เป็นไปตามธรรมชาติ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนที่หมุนเวียนในเลือด ผู้ป่วยจะมีการหอบหายใจแบบลึกและเร็วติดต่อกันนาน ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองหายใจไม่ทัน รู้สึกหอบเหนื่อย เหมือนว่ากำลังจะตาย บางคนมีภาวะหน้ามืด ใจสั่น เกร็งตามมือและเท้า มือจีบ เท้าเหยียดตรง ชาตามปาก ปลายนิ้ว และมือ โดยมีสาเหตุมาจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ในเลือดที่ลดลง ส่งผลให้เส้นเลือดหดตัว  ไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้เต็มที่ นอกจากนี้ยังพบว่า มีการลดลงของแคลเซียมในเลือด […]

admin24

July 13, 2016

“PTSD” โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ ที่คนรอบข้างต้องเข้าใจ

ความเครียด เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้เราเกิดความทุกข์ พบได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยส่วนมากเมื่อเหตุการณ์ทุกอย่างคลี่คลาย ความเครียดก็จะหายไป และทำให้เราสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติเช่นเดิม แต่ยังมีอีกหนึ่งความเครียดที่มักสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วย สาวๆ ที่เผชิญกับเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง เสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเครียดชนิด PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) แบบไม่รู้ตัว และเนื่องจากโรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางจิตเวช ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่เลี่ยงการเข้าพบแพทย์ เพราะยังมีความเชื่อผิดๆ ที่ว่า คนที่เข้าพบจิตแพทย์คือคนที่เป็นบ้าหรือไม่สมประกอบเท่านั้น จนกลายเป็นภัยเงียบที่อาจจะทำให้เกิดความรุนแรงอย่างคาดไม่ถึง อีกทั้งยังเป็นโรคที่จำเป็นต้องมีคนรอบข้างเข้าใจ จึงจะช่วยให้การรักษาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอีกด้วย ทำความรู้จักกับโรค PTSD ให้มากขึ้น เนื่องจาก โรค PTSD  จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เป็นความผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากความเครียด หลังจากได้ประสบกับเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง แตกต่างกับความเครียดที่เกิดขึ้นทันที ในช่วงเวลาที่เจอกับสถานการณ์นั้นๆ (Acute stress reaction) ซึ่งถือว่าเป็นความเครียดแบบทั่วไป สามารถหายไปได้เองโดยใช้เวลาไม่นาน แต่สำหรับความเครียดแบบ PTSD จะคงอยู่ ตามหลอกหลอน แม้ว่าบางคนจะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ร่วมกับผู้อื่น แต่เมื่อได้รับฟังจากคำบอกเล่า กลับรู้สึกเครียด จนทำให้เกิดอาการตื่นกลัว ราวกับว่าตัวเองกำลังตกอยู่ในสถานการณ์นั้นด้วย โดยกลุ่มผู้ป่วย จะแบ่งอาการออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ […]

admin24

July 12, 2016

โรคไบโพล่า อาการเป็นอย่างไร รักษาที่ไหนดี?

ไบโพล่า (ภาษาอังกฤษ – Bipolar) หรือ โรค 2 อารมณ์ แปรปรวนสองขั้ว เป็นโรคทางจิตประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มของความผิดปกติ ทางด้านอารมณ์ ผู้ที่เป็นโรคนี้ มักจะมีอาการซึมเศร้า (Depression) ร่วมกับ อาการคึกคัก (Mania) มากจนเกินไป โดยทั่วไป จะมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ แต่จะพบว่า คนที่มีอาการนี้ ก็ต่อเมื่อก้าวสู่วัยกลางคน หรือมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ไบโพล่า ยังมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติของสารสื่อประสาท ทางสมอง ในส่วนของการควบคุมอารมณ์ รวมไปถึง ระดับฮอร์โมนในร่างกาย และความเครียด ที่แม้จะไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่ก็เป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดโรคนี้ได้มาก โรคไบโพล่า อาการ มีลักษณะอย่างไร? ผู้ป่วยด้วยโรคไบโพล่า จะมีอารมณ์สองขั้ว ในลักษณะสุดโต่ง กล่าวคือ เมื่ออยู่ในภาวะซึมเศร้า ก็จะมีความรู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกตัวว่าไม่มีค่า อยากฆ่าตัวตาย รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง และมักจะทะเลาะกับคนใกล้ชิด เพราะคิดว่า ไม่มีใครเข้าใจ อารมณ์อ่อนไหวง่าย […]

mahosot

August 1, 2015