Hyperventilation syndrome โรคหอบจากอารมณ์ ภัยเงียบที่หลายคนมองข้าม !

โรคหอบจากอารมณ์ ปฐมพยาบาล

โรคหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndrome) เป็นชื่อที่ดูไม่ค่อยคุ้นหูพวกเราเท่าใดนัก แม้ว่าจะเป็นโรคที่พบได้มาก แต่เราอาจจะคุ้นในชื่อเรียกว่า ภาวะไฮเปอร์

มักจะเกิดขึ้นจากผลกระทบที่มีต่ออารมณ์ ทำให้เกิดอาการหอบ หายใจเร็วมากเกินไป ส่งผลให้ออกซิเจนในร่างกายผิดปกติ ผู้ป่วยจะเกิดการหายใจเร็วโดยไม่รู้ตัว

มักจะลึกบ้างตื้นบ้างสลับกันอยู่นาน ค่าสารเคมีในเลือดเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดภาวะอื่นๆ ทางร่างกายตามมา

ทั้งนี้อาการดังกล่าวจะเชื่อมโยงโดยตรงกับความรู้สึกกังวล เครียด ความกดดันทางจิตใจ เป็นโรคที่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราว ไม่มีอันตรายถึงชีวิต

แต่หากปล่อยทิ้งไว้นาน ผู้ป่วยอาจจะเกิดอารมณ์คิดสั้นแบบชั่ววูบ เป็นผลกระทบทางอ้อมตามมาได้นั่นเองค่ะ

ลักษณะของอาการ Hyperventilation ที่พบได้ทั่วไป

สำหรับลักษณะอาการที่พบของโรคหอบทางอารมณ์ จะเริ่มจากที่ผู้ป่วยหายใจแบบผิดปกติโดยไม่รู้ตัว

ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดจะต้องพบกับตัวกระตุ้นที่ส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้รู้สึกโกรธ กดดัน หงุดหงิด เครียด

และวิตกกังวล เมื่อการหายใจไม่เป็นไปตามธรรมชาติ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนที่หมุนเวียนในเลือด

ผู้ป่วยจะมีการหอบหายใจแบบลึกและเร็วติดต่อกันนาน ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองหายใจไม่ทัน

รู้สึกหอบเหนื่อย เหมือนว่ากำลังจะตาย บางคนมีภาวะหน้ามืด ใจสั่น เกร็งตามมือและเท้า มือจีบ

เท้าเหยียดตรง ชาตามปาก ปลายนิ้ว และมือ โดยมีสาเหตุมาจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ในเลือดที่ลดลง

ส่งผลให้เส้นเลือดหดตัว  ไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้เต็มที่ นอกจากนี้ยังพบว่า

มีการลดลงของแคลเซียมในเลือด กระทบต่อการทำงานของสมองโดยตรง โรคนี้มีความใกล้เคียงกับอาการของโรคหอบหืด

ภาวะเป็นกรดในเลือดจากเบาหวาน และภาวะหัวใจขาดเลือด ซึ่งการรักษาแพทย์จะต้องทำการซักประวัติ

และตรวจร่างกายให้แน่ชัดเสียก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดขึ้นจากโรคหอบทางอารมณ์หรือมาจากโรคทางกายชนิดอื่นกันแน่

กรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้เพิ่งเกิดอาการขึ้น แต่อยู่ในกลุ่มที่เป็นเรื้อรังมาบ่อยครั้งแล้ว อาการมักจะไม่แสดงออกมาทั้งหมด

มักไม่ค่อยพบอาการหายใจผิดปกติ มือและเท้าไม่จีบเกร็งให้เห็นแบบเด่นชัดแต่อย่างใด

ทว่าจะแสดงอาการออกมาในลักษณะ อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยง่าย เจ็บบริเวณหน้าอก

รู้สึกหายใจไม่อิ่ม แน่นอึดอัด ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือรอบปาก คลื่นไส้ มีลมในท้อง

อาจถอนหายใจหรือหาวบ่อยกว่าปกติ แต่หากอาการรุนแรงจนถึงขั้นมือและเท้าจีบเกร็ง

ผู้ป่วยสามารถหายใจในกรวยกระดาษหรือถุงพลาสติก ก็จะช่วยให้อาการค่อยๆ กลับมาดีขึ้นได้

การหายใจผิดปกติที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

การหอบหายใจแบบผิดปกติที่เกิดขึ้นกับภาวะความเครียดทางอารมณ์ของโรคนี้ เป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายขึ้น

กล่าวคือ การหายใจตามปกติจะรับออกซิเจนเข้าไป แต่เมื่อเกิดการหายใจแบบหอบถี่อย่างรวดเร็วเกิดขึ้น ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากเกินไป

ปริมาณที่เคยสมดุลภายในเลือด ทำให้มีมากจนเต็มเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงกระทบต่อปริมาณของคาร์บอนไดออกไซต์

ที่ร่างกายพยายามกำจัดออก กลายเป็นว่าปริมาณออกซิเจนมีมาก ส่วนคาร์บอนไดออกไซต์ลดลงมากเกินไป

การทำงานของร่างกายจึงเสียสมดุล ความเป็นกรดด่างเกิดการเปลี่ยนแปลง ความเป็นกรดในเลือดลดลง ส่งผลให้เกิดอาการทางกาย เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมองจะหดตัว

ไม่สามารถส่งออกซิเจนไปได้เพียงพอ ผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะง่วงและหลับ จากนั้นอาการที่รุนแรงก็จะค่อยๆ ทุเลาลงจนดีขึ้น การหายใจที่รวดเร็ว ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง

สาเหตุของการเกิดโรค Hyperventilation

สาเหตุของการเกิดโรคโรคหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndome) ยังเป็นโรคที่แพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดได้

แต่พบว่าก่อนเกิดอาการ ผู้ป่วยมักจะมีพฤติกรรมหายใจเร็ว เปลี่ยนจากการหายใจด้วยกะบังลม และกล้ามเนื้อท้องเป็นส่วนของกล้ามเนื้ออกแทน

ส่งผลให้เกิดการหายใจที่ไม่มีประสิทธิภาพ รู้สึกหายใจไม่อิ่ม อึดอัด จนกระตุ้นให้ตัวเองหายใจลึกและเร็วแบบไม่รู้ตัว

เชื่อกันว่า มีต้นตอมาจากความเครียดที่กระทบต่อสภาพจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นความกลัว โกรธ น้อยใจ วิตกกังวล เสียใจ

การกระทบกระทั่งกันกับคนอื่น หรือการถูกกระตุ้นจากอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ก็สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน

วิธีการรักษาและดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคหอบจากอารมณ์

การรักษาอาการไม่ให้กำเริบหนักขึ้น ควรแก้ไขที่การหายใจหอบถี่ พยายามให้ผู้ป่วยกลับมาหายใจให้ช้าลง

สามารถใช้ถุงกระดาษครอบที่ปากและจมูกระหว่างหายใจ จะช่วยให้อาการทุเลาลงได้

บางรายอาจมียาในกลุ่มคลายกังวลตามแพทย์สั่งเอาไว้ หากสามารถกินได้ก็จะช่วยคลายอาการให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

แต่ในบางรายที่มีอาการเกร็งจนไม่สามารถกลืนยาได้เอง แพทย์จะใช้การฉีดยา ซึ่งจะสามารถออกฤทธิ์ได้ทันที ให้ผู้ป่วยสงบลง

การดูแลตัวเองในผู้ป่วย จำเป็นต้องได้รับการรักษาในระยะยาว โดยผู้ป่วยจะต้องดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม

หลีกเลี่ยงสถานการณ์สุ่มเสี่ยงให้เกิดความเครียด ควรได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการจากแพทย์

เพื่อจะได้สามารถช่วยเหลือตัวเอง ไม่ให้อาการเพิ่มความรุนแรง การดูแลที่สำคัญจะต้องเกี่ยวข้อง

ทั้งด้านจิตใจและร่างกายไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะช่วยลดไม่ให้โรคนี้เกิดขึ้นซ้ำบ่อยครั้งได้

ผู้ป่วยที่พบว่า ตัวเองมีภาวะการหายใจที่ผิดปกติ จนเกิดเป็นอาการดั่งกล่าวมาข้างต้น

hypoventilation เกิดจาก

Photo Credit : gettyimages.com

ช่วงแรกจำเป็นต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อจะได้นำเอามาปฏิบัติดูแลตัวเองในยามขับขันได้ถูกต้อง

ทั้งนี้การรักษาด้วยยาอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยหายได้ การร่วมมือฝึกหายใจให้ช้าลง

และหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นร่วมด้วย จึงจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหอบทางอารมณ์กลับมาเป็นปกติสุขได้มากขึ้นตามลำดับค่ะ