รู้และเข้าใจ “โรคธาลัสซีเมีย” อันตรายแค่ไหน รักษาหายไหม?

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) โรคโลหิตจาง ในหญิงตั้งครรภ์ มีลูกได้ไหม อันตรายหรือไม่

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)  เป็นอีกโรคหนึ่งที่กำลังแพร่หลายเป็นอย่างมาก และพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว

แม้ว่าจะเป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรมก็ตาม ดังนั้นเพื่อเตรียมตัวรับมือและป้องกันการติดต่อของ โรคธาลัสซีเมีย

จึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากขึ้น ซึ่งเราก็ได้รวบรวมข้อมูลของโรคมาให้ได้ศึกษากันดังนี้

โรคธาลัสซีเมีย คืออะไร?

ธาลัสซีเมีย หรือชื่อเรียกแบบไทยๆ คือ โรคโลหิตจาง เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เนื่องจากร่างกายมีการสร้างฮีโมโกลบิน

ที่เป็นส่วนประกอบของการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ จึงทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งผู้ป่วยจะมีสภาพร่างกายที่อ่อนแอกว่าคนปกติทั่วไป

ติดเชื้อได้ง่ายและมักจะมีอาการตัวซีดเหลืองเรื้อรังอย่างเห็นได้ชัด และสามารถที่จะติดต่อไปสู่ลูกได้อีกด้วย

สาเหตุของการเกิดโรคธาลัสซีเมีย

สำหรับสาเหตุของอาการป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดต่อๆ กันมาจากบรรพบุรุษ

กล่าวคือหากคนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นธาลัสซีเมียมาก่อน โอกาสที่ตนเองและลูกหลานจะเป็นโรคหรือพาหะก็มีสูงเช่นกัน

อย่างไรก็ตามผู้ที่จะป่วยด้วยโรคนี้ได้จะต้องได้รับยีนผิดปกติมา ทั้งจากฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่เท่านั้น ในปัจจุบันจึงได้มีการตรวจคัดกรองก่อนแต่ง

เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะติดต่อไปสู่ลูกนั่นเอง โดยสำหรับความผิดปกติของยีนส์นั้นก็จะมีได้หลากหลายลักษณะ และมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไปด้วย

ผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคหรือเป็นพาหะธาลัสซีเมีย

จะรู้ได้อย่างไรว่า ตนเองเสี่ยงที่จะเป็นโรคหรือเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ เราก็มีข้อบ่งชี้ที่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ดังนี้

  • เคยแท้งบุตร เนื่องจากบุตรเสียชีวิตในครรภ์เพราะทารกบวมน้ำ
  • เคยมีบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งกรณีนี้ผู้เป็นพ่อและแม่จะเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือเป็นพาหะทั้งคู่
  • เมื่อมีไข้อย่างรุนแรง ตัวจะซีดลงอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัด
  • มีประวัติคนในครอบครัวมีอาการตัวซีด ม้ามโตและตับโตมาก่อน
  • ตรวจพบความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เช่น มีเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่าปกติ

ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคธาลัสซีเมียได้อย่างไร?

หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นพาหะหรือเป็นโรค จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางได้อย่างไร มาดูความเป็นไปได้กัน

  • กรณีที่พ่อและแม่เป็นพาหะทั้งคู่ จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นพาหะของโรค 50% เป็นโรคธาลัสซีเมีย 25% และปกติสมบูรณ์ 25%
  • กรณีที่พ่อหรือแม่เป็นพาหะของโรคเพียงฝ่ายเดียว โดยอีกฝ่ายปกติ จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นพาหะ 50% และมีความปกติสมบูรณ์อีก 50%
  • กรณีที่พ่อและแม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคธาลัสซีเมีย 100%
  • กรณีที่พ่อหรือแม่เป็นพาหะของโรคและอีกฝ่ายเป็นโรคธาลัสซีเมีย จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นพาหะ 50% และเป็นโรค 50%

อาการของโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

เมื่อป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) หรือ โรคโลหิตจาง จะมีอาการที่แสดงออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด

แต่ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคด้วย โดยจะแบ่งอาการออกตามระดับความรุนแรงของโรคดังนี้

1.รุนแรงน้อยสุด โดยจะไม่มีอาการให้เห็น

กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความรุนแรงน้อยสุด ส่วนใหญ่จะไม่มีการแสดงอาการออกมา จึงทำให้ดูเหมือนกับคนปกติทั่วไป

แต่ในขณะเดียวกัน ก็สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้เช่นเดียวกับผู้ที่เป็นพาหะของโรค โดยจะรู้ได้อย่างไร

นั่นก็ต้องทำการตรวจความผิดปกติโดยวิธีทางการแพทย์เท่านั้น

2.รุนแรงน้อย มีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความรุนแรงไม่มาก ซึ่งก็จะมีอาการแสดงออกมาเพียงเล็กน้อยเช่นกัน นั่นก็คือภาวะซีดเหลืองนั่นเอง

แต่สำหรับการเจริญเติบโตและลักษณะใบหน้าของผู้ป่วย จะมีความเป็นปกติและมีสุขภาพที่แข็งแรงในระดับหนึ่ง

ทำให้ไม่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการรับเลือด แต่อย่างไรก็ต้องระมัดระวังความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วย

โดยเฉพาะภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน ที่มีความอันตรายมากทีเดียว

3.รุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก มีอาการอย่างเด่นชัด

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่มีอาการให้เห็นตั้งแต่แรกเกิด แต่จะค่อยๆ แสดงอาการออกมาหลังจากมีอายุได้ประมาณ 2-3 เดือน

โดยอาการที่เห็นได้ชัดก็คือ ตัวซีด เหลือง ม้ามโต ตับโต และมีรูปร่างเล็กแกร็น เนื่องจากร่างกายไม่เจริญเติบโตไปตามวัย

และอาจมีใบหน้าที่ดูแปลกมาก อย่างที่เรียกกันว่า “หน้าธาลัสซีเมีย” นั่นเอง โดยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจะมีอายุสั้น

อาจมีอายุแค่ 10-25 ปี ส่วนผู้ป่วยระดับปานกลางถ้าได้รับการเยียวยาอย่างถูกวิธี ก็อาจมีอายุยืนยาวได้

4.รุนแรงที่สุด ผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการรุนแรงที่สุด โดยสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และมีโอกาสที่จะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์สูงมาก

ซึ่งอาการที่เห็นได้ชัดคือ ตัวซีดบวม ท้องป่อง ม้ามโตและตับโต เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

เนื่องจากผู้ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียจะมีภูมิต้านทานต่ำมาก ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย

และมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่เสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โดยมีภาวะแทรกซ้อนที่มักจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคโลหิตจางดังนี้

  • ติดเชื้ออย่างรุนแรง
  • กระดูกแขนขาเปราะบาง แตกหักได้ง่าย
  • เป็นโรคนิ่วน้ำดี
  • หัวใจวาย
  • มีภาวะเหล็กเกิน ทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน โรคต่อมไร้ท่อและตับแข็งได้ง่าย

วิธีรักษาโรคธาลัสซีเมีย

การรักษาเมื่อป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย จะต้องรักษาด้วยวิธีการทางแพทย์ควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายมากขึ้น โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

1.การรับเลือดตั้งแต่อายุน้อย

จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ซึ่งผู้ป่วยจะต้องรับเลือดอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2-3 สัปดาห์

โดยจะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และมีภูมิต้านทานต่อภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น

2.ให้ยาเม็ดกรดโฟลิก

จะใช้กับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงแบบเรื้อรัง โดยจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูกมากขึ้น

ซึ่งจะต้องทานยาไปตลอดชีวิต

3.การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด

จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ทั้งสิ้น โดยจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดจากโรคโลหิตจางได้มากถึง 80% เลยทีเดียว

แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ด้วยว่า จะรักษาด้วยวิธีนี้หรือไม่ และมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร

4.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เป็นการรักษาแบบค่อยเป็นค่อยไป ควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ โดยให้ผู้ป่วยทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่

โดยเฉพาะอาหารที่มีสารโฟเลตสูง แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเด็ดขาด เพราะนั่นจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะเหล็กเกินได้

นอกจากนี้ ให้งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ รวมถึงหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ โดยเลือกการออกกำลังกายที่ไม่หักโหมจนเกินไป

เท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดีทีเดียว

การป้องกันโรคธาลัสซีเมีย

สำหรับการป้องกันโรคธาลัสซีเมีย จะพุ่งเป้าไปที่คู่รักที่กำลังจะแต่งงานเป็นหลัก หรือผู้ที่กำลังวางแผนมีลูก

โดยมีการรณรงค์ให้ตรวจสุขภาพก่อนแต่ง เพื่อลดความเสี่ยงของการติดต่อทางพันธุกรรมไปสู่ลูกนั่นเอง

แต่สำหรับใครที่ตั้งครรภ์โดยยังไม่ได้ตรวจ แพทย์จะทำการเฝ้าระวังและวินิจฉัยทารกในครรภ์ว่า

มีโอกาสป่วยด้วยโรคดังกล่าวหรือไม่ เพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือได้ทัน

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) โรคโลหิตจาง

Credit : runnersanonymes.wordpress.com

โรคโลหิตจาง หรือ ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคที่มีความอันตรายและส่งผ่านไปสู่ลูกได้อย่างง่ายดาย

เพราะฉะนั้นอย่าละเลยการตรวจก่อนแต่งหรือตรวจก่อนตั้งครรภ์เด็ดขาด เพื่อจะได้เตรียมรับมือและหาแนวทางแก้ปัญหาได้ทัน

นอกจากนี้ในผู้ที่ป่วยด้วยโรคโลหิตจาง ก็ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง

และดูแลสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้อาการป่วยบรรเทาลงไปและมีอายุที่ยืนยาวมากกว่าเดิมนั่นเอง