รักษานอนกรน ตรวจการนอนหลับ กับ 8 โรงพยาบาลรักษาอาการนอนกรน ภาวะเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

โรงพยาบาลรักษาโรคนอนกรน

โรงพยาบาลรักษาอาการนอนกรน หากได้ยิน ได้อ่านครั้งแรก สำหรับผู้ไม่ประสบปัญหาด้านการนอนหลับแล้วมีอาการนอนกรน

อาจจะรู้สึกแปลกใจ ว่าแค่ “นอนกรน” จำเป็นต้องมีโรงพยาบาลรักษาโดยเฉพาะเลยหรือ? แต่สำหรับผู้ประสบปัญหาด้านการนอนกรน

และคนในครอบครัว ที่อาจต้องเจอเสียงกรนรบกวนเวลานอน โรงพยาบาลรักษาอาการนอนกรน คือทางออกของปัญหาที่ตามหา

ไม่ว่าจะเพื่อรักษาสุขภาพกายของผู้นอนกรน และรักษาสุขภาพจิตของผู้ต้องทนนอนฟังเสียงกรนมานานให้หายดี

มาดูกันดีกว่าว่า โรงพยาบาลรักษาโรคนอนกรน มีที่ไหนกันบ้าง เราจะยกมานำเสนอในบทความนี้ 8 แห่ง ติดตามได้เลยดังนี้

โรงพยาบาลรักษาโรคนอนกรน มีที่ไหนบ้าง?

1.พี.เอ็ช.ซี.สหคลินิก (PHC Clinic)

PHC Clinic เป็นศูนย์รวมรักษานอนกรนและปัญหาการนอน โดยแพทย์เฉพาะทาง ที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ วินิจฉัย

และรักษาปัญหาการนอนหลับชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนอนกรน, หยุดหายใจขณะหลับ, นอนกัดฟัน โดยจะเริ่มตรวจสอบปัญหาการนอนผ่าน Sleep Test

ที่มีทั้งตรวจการนอนที่บ้าน Home sleep apnea testing (HSAT), ตรวจการนอนที่โรงพยาบาล และมีอุปกรณ์ทันสมัยในการรักษาอาการนอนกรน

ได้แก่ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกต่อเนื่อง (Continuous positive airway pressure CPAP) อุปกรณ์ทันตกรรมนอนกรน

เครื่องยืดขากรรไกรล่างมาด้านหน้า และเครื่องมือป้องกันลิ้นตก อีกทั้งยังเป็นคลีนิกทันตกรรมทั่วไปอีกด้วย

ที่ตั้ง : 61/19 ถ.พระราม 9 ซอย 7 (อ.ส.ม.ท.) เขตห้วยขวาง

ติดต่อ : Facebook: professionsleep / LINE ID: @phcclinic

Website : https://www.professionsleepclinic.com/

2.ไวทัลสลีปคลินิก (Vital Sleep Clinic)

Vital Sleep Clinic เป็นคลินิกรักษาอาการนอนกรน และโรคนอนกรนที่ทันสมัย มีเครื่องมือทันตกรรมรักษาอาการนอนกรน

โดยไม่ต้องผ่าตัดที่ได้รับมาตรฐานการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicine ( ABDSM)

โดยตรวจวินิจฉัยอาการผู้ป่วยผ่าน Sleep Test และใช้เครื่อง Continuous positive airway pressure devices (CPAP)

อัดกระแสอากาศเปิดทางเดินหายใจที่เกิดจากกล้ามเนื้อที่ผ่อนคลายขณะหลับ ทำให้ไม่มีอะไรขัดขวางการหายใจ, Oral Sleep Appliances

อุปกรณ์ที่ทำโดยทันตแพทย์ช่วยปรับกล้ามเนื้อบริเวณคางและโคนลิ้น เพื่อไม่ให้อุดกั้นทางเดินหายใจ อันเป็นสาเหตุการนอนกรน

ที่ตั้ง : 128/364 ชั้น 33 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

โทรศัพท์ : 02-612-9188-9 / 02-612-9187 / 092-256-6800

Website : http://www.vitalsleepclinic.com

3.โรงพยาบาลยันฮี

โรงพยาบาลยันฮี เป็นโรงพยาบาลรักษาโรคนอนกรนที่มีศูนย์หู คอ จมูกตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคนอนกรนโดยตรวจสอบ 2 วิธีคือ

1.Sleep Test คือการใช้อุปกรณ์ตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วัดลมหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจและระดับออกซิเจนในกระแสเลือดขณะหลับ

2.Polysomnography เป็นการตรวจตามโปรแกรม Sleep Test ที่เพิ่มการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง วัดการทำงานของกล้ามเนื้อ

เพื่อวัดระดับความลึกของการนอนหลับ จากนั้นจึงวินิจฉัยว่าควรรักษาด้วยวิธีใดถึงจะเหมาะสม ได้แก่ 1.รักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ไม่ต้องผ่าตัด

2.การผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์เพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ 3.ใช้เครื่องช่วยหายใจ เป่าอากาศขณะนอนหลัง

4.รักษาด้วย Pillar สอดอุปกรณ์ทางการแพทย์ ลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็ก 3 แท่งเข้าไปในเพดานอ่อนเพื่อช่วยลดการสั่นสะเทือนที่ทำให้เกิดเสียงกรน

ที่ตั้ง : 454 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพ

โทรศัพท์ : 02-879-0300 / 02-435-7545 / 1723

Website : https://th.yanhee.net/หัตถการ/นอนกรน

4.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศูนย์นิทราเวช

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลรักษาโรคนอนกรน มีศูนย์นิทราเวชจัดตั้งศูนย์ตรวจการนอนหลับในปีพ.ศ.2547

และพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านความผิดปกติจากการนอนหลับ ก่อนขยับขยายบริการใหม่

ณ อาคารผู้ป่วยพิเศษ 14 ชั้น 5 ในปีพ.ศ.2556 และได้รับชื่อ “ศูนย์นิทราเวช” จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ศูนย์การรักษาโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ โดยวินิจฉัยผ่าน Sleep Test รอรับผล 1 เดือน จะมารับผลที่โรงพยาบาล

หรือรับผลผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ www.sleepcenterchula.org ก็ได้ จากนั้นจึงเข้ารับการรักษาผ่านวิธีการที่เหมาะสมกับอาการ

เช่น ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (Continuous Positive Airway pressure CPAP)

ที่ตั้ง : 1873 ถนนพระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

โทรศัพท์ : 02-649-4000

Website : https://www.sleepcenterchula.org/index.php/th/

5.โรงพยาบาลกรุงเทพ ศูนย์ตรวจการนอนหลับและศูนย์ลมชัก

โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลรักษาโรคนอนกรน ที่มีศูนย์ตรวจการนอนหลับและศูนย์ลมชัก ให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับ

โดยมีบริการ Sleep Test ทั้ง Night Sleep Lab หลับตอนกลางคืนและ Day Time Sleep Lab ห้องมืดนอนช่วงกลางวัน

ซึ่งมีเจ้าหน้าที่เทคนิคการนอนดูแลผู้ป่วย ช่วยปรับระดับความดันเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (Continuous Positive Airway pressure CPAP)

ขณะเข้ารับการรักษาตลอด 24 ชั่วโมง จะมีการตรวจประเมินช่วงหลับและช่วงตื่นจาก Actigraphy อุปกรณ์พิเศษคล้ายนาฬิกาข้อมือ

ซึ่งทำให้แพทย์ติดตามพฤติกรรมการนอนหลับของผู้ป่วย เพื่อนำมาวินิจฉัยได้ง่ายขึ้น

ที่ตั้ง : 2 ซอยวิจัย 7 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

โทรศัพท์ : 02-310-3011, 02-310-3815 หรือ โทร.1719

Website : http://ww2.bangkokhospital.com/th

6.โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์โรคการนอนหลับ

โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นโรงพยาบาลรักษาโรคนอนกรน ซึ่งมีศูนย์โรคการนอนหลับเพื่อแก้ปัญหาผู้ที่มีปัญหานอนหลับยากโดยเฉพาะ

โดยได้ริเริ่มโครงการศึกษาวินิจฉัยโรคการนอนหลับมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2536 และจัดซื้อเครื่องตรวจการนอนหลับ (Polysomnogram) ในปีเดียวกัน

ซึ่งในตอนแรกนั้นยังขาดผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ ทำให้ไม่อาจบริการรักษาผู้ป่วยได้มาก จากนั้นในปี 2540 ได้พัฒนาเพิ่มบุคลากร

และการใช้ยารักษาอาการนอนหลับ ทำให้ช่วยรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น ขั้นตอนการรักษานั้น มี 3 วิธี

โดยจะขึ้นอยู่กับผู้ป่วยคือ 1.ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (Continuous Positive Airway pressure CPAP)

2.การใช้ฟันยาง 3.การผ่าตัด ซึ่งมีทั้งผ่าตัดจมูก, ผ่าตัดระดับลิ้นไก่, ผ่าตัดระดับโคนลิ้น และผ่าตัดขากรรไกร

ที่ตั้ง : อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี 270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

โทรศัพท์ : 02-200-3768 กด 0
Website : https://med.mahidol.ac.th/sleep_disorders/th

7.โรงพยาบาลพญาไท 3

โรงพยาบาลพญาไท 3 เป็นโรงพยาบาลรักษาโรคนอนกรน ซึ่งมีทั้งคลีนิคหู คอ จมูกวินิจฉัยและรักษาอาการนอนกรนอย่างครบถ้วนพร้อมกัน

โดยตรวจสอบลักษณะทางกายภาพทั่วไปของหู คอ จมูก และใช้เครื่อง Polysomnography เป็นแกนหลักของการวินิจฉัยหาระดับความรุนแรงของอาการนอนกรน

และเลือกสรรวิธีรักษาอย่างเหมาะสม โดยมี2วิธีคือ 1.แบบไม่ผ่าตัด ได้แก่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดน้ำหนัก เปลี่ยนท่านอน

หลีกเลี่ยงยาหรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง หรือใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (Continuous Positive Airway pressure CPAP), ใช้ฟันยาง

2.แบบผ่าตัด เพื่อเพิ่มขนาดของทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น แก้ไขลักษณะทางกายวิภาคที่ผิดปกติ

ได้แก่ ผ่าตัดจมูก, ผ่าตัดต่อมทอนซินล หรือต่อมอะดีนอยด์ออก, ผ่าตัดตกแต่งเพด่านอ่อน, ผ่าตัดโคนลิ้น และผ่าตัดขากรรไกร

ที่ตั้ง : 111 ถนนเพชรเกษม 19 แขวงภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ

โทรศัพท์ : 1772

Website : https://www.phyathai.com/branch/PYT3/

8.โรงพยาบาลพระราม 9

โรงพยาบาลพระราม 9 เป็นโรงพยาบาลรักษาโรคนอนกรน ให้บริการในแผนกศูนย์หู คอ จมูก และดูแลผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรน

โดยตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของหู คอ จมูก และส่องกล้องตรวจขนาดเล็ก เพื่อหาตำแหน่งอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบน

ตั้งแต่จมูกถึงกล่องเสียง และใช้ Polysomnography ตรวจสอบความผิดปกติขณะนอนหลับเพื่อนำไปวินิจฉัยระดับอาการ

โดยเลือกวิธีการรักษาซึ่งมีด้วยกัน 2 วิธีคือ 1.แบบไม่ผ่าตัด ควบคุมพฤติกรรมการนอน คุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย

งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และยาที่กดประสาทส่วนกลาง ใช้เครื่อง Continuous Posititve Airway Pressure (CPAP)

2.การผ่าตัด ที่จะผ่าตัดขยายช่องทางการหายใจให้โล่งขึ้น ซึ่งมีด้วยกัน 3 จุดคือ จมูก, ลิ้นไก่เพดานอ่อน และขากรรไกร

ที่ตั้ง : เลขที่ 99 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพ

โทรศัพท์ : 1270

Website : https://www.praram9.com/

รักษาโรคนอนกรน

Credit : bangkokhospital.com

โรคนอนกรน เป็นหนึ่งในปัญหาของการนอนหลับที่รบกวนช่วงเวลาพักผ่อนได้มากที่สุด สาเหตุมีทั้งปัจจัยภายนอก ท่านอน นอนน้อย

พักผ่อนไม่เพียงพอ สภาพแวดล้อมของห้องนอน การทานอาหารและเครื่องดื่ม และปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ

ซึ่งการนอนกรน เป็นอาการเริ่มต้นของ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสมอง

หากไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอในการนอน ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจกับการนอน โดยเข้าพบแพทย์ใน โรงพยาบาลรักษานอนกรน

ทั้ง 8 แห่งที่นำเสนอ เพื่อสุขภาพกายและใจที่ดีจากการนอนหลับทั้งตัวคุณเอง และครอบครัว