กินอย่างไร ไม่เสี่ยงต่อการเป็น โรคอ้วน

กินอย่างไร ไม่ให้อ้วน

ปัจจุบันนี้ ถ้าพูดถึงเรื่องอาหารการกินแล้วล่ะก็ ต้องบอกว่า เป็นอะไรที่หากินได้ง่าย เอามากๆ ไม่ว่าคุณ จะอยากกินอาหารจากประเทศไหนส่วนใดของโลกก็ตาม

เพียงแค่เปิดอินเตอร์เน็ตดู หรือหาวัตถุดิบมาปรุงเพียงแค่นี้ ก็สามารถกินได้แล้ว หรือบางครั้งการเดินผ่านตลาด หรือแหล่งค้าขายต่างๆ ก็มักจะมีของกินมากมาย ให้เราจับจ่าย และเลือกซื้อหากันมารับประทาน

และทั้งหมดทั้งมวล ก็เลยทำให้คนไทยในปัจจุบัน มีโอกาสเสี่ยงต่อ โรคอ้วน คิดเป็นร้อยละ 40% ที่เป็นโรคอ้วนแล้ว และอีก 30% ที่กำลังเสี่ยงต่อโรคอ้วน

แน่นอนว่า ปัญหาของโรคอ้วน นั้นถือว่า เป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายๆ คน และก็มักจะงัด วิธีการลดความอ้วน ต่างๆ มาใช้

ทั้งการอดอาหารเอย, ออกกำลังกายเอย หรือแม้แต่การหายาลดความอ้วนมากิน

ซึ่งถ้าใช้เพียงแค่ วิธีการออกกำลังกาย ถือว่า เป็นผลดีสำหรับร่างกายเรา แต่ใครที่อดอาหาร หรือ กินยาลดความอ้วน ถือว่าเป็นวิธีที่เสี่ยง และอันตรายต่อร่างกายของตัวเองเป็นอย่างมาก

เพราะการอดอาหาร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และมีผลทำให้เกิดโยโย่เอฟเฟ็ค ส่วนการกินยาลดความอ้วน ก็เป็นอันตรายต่อชีวิตอาจจะทำให้ช็อคและตายได้

ก็เกริ่นมาซะยาวหลายบรรทัด เอาเป็นว่าเรื่องหนักๆ ขอพักไว้ก่อนดีว่า วันนี้เราจะมาแนะนำ เกี่ยวกับ

วิธีการกินอย่างไรไม่ให้อ้วน โดยที่คุณสามารถกินได้แบบ ไม่ต้องอดมื้อกินมื้อ หรือควบคุมอาหารให้มากมายอะไร

วิธีการนี้ เป็นหลักการกินอาหารแบบง่ายๆ ที่สามารถทำได้เลยทันที และจะเห็นผลได้รวดเร็วมากๆ ถ้าคุณออกกำลังกาย ควบคู่ไปด้วย

อาหารแต่ละมื้อ ควรแบ่งสัดส่วนในการกินอย่างชัดเจน

การแบ่งสัดส่วน การกินอาหารในแต่ละมื้อของคนเรานั้น มักจะมีการแบ่งออกแบบผิดๆ ทำให้เกิดโรคอ้วนได้แบบง่ายๆ หลายคนอาจจะทราบกันดีแล้วว่า

คนเราโดยเฉลี่ยแล้ว ต้องการพลังงานต่อวันประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี่ ตรงนี้หลายคนอาจจะมีการสังเกตว่า

ทำไมคนบางคนกินเยอะมาก แต่ไม่อ้วน และบางคนกินไม่ถึง 2,000 กิโลแคลอรี่ด้วยซ้ำ แต่ทำไมอ้วน

กินอย่างไร ไม่ให้อ้วน

Credit photo: myfancytips.com

ซึ่งจริงๆ แล้ว ในส่วนนี้ มันมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าคิดในส่วนของคนปกติทั่วไป ที่มีการออกกำลังกายบ้าง ไม่ออกบ้างแล้ว

จะขึ้นอยู่กับช่วงเวลา และปริมาณอาหารที่กินในแต่ละมื้อเป็นหลัก โดยความสำคัญในแต่ละมื้อ และปริมาณที่เหมาะสม มีดังนี้

อาหารมื้อเช้า

ถือว่า เป็นอาหารมื้อที่สำคัญมากที่สุด ในแต่ละวัน นั่นก็เพราะว่า เราจำเป็นต้องใช้พลังงาน ในการขับเคลื่อนร่างกายในกิจกรรมต่างๆ ทั้งเรียน, เล่น, ทำงาน และอื่นๆ

สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ ต้องใช้พลังงานแทบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น อาหารมือเช้า จึงเป็นมื้อที่ขาดไม่ได้ และควรจะกินให้มากกว่ามื้ออื่นๆ

โดยรวมแล้วก็จะอยู่ที่ประมาณ 40%-50% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน (800 – 1,000 กิโลแคลอรี่)

หลายคนเห็น จำนวนกิโลแคลอรี่แล้ว อาจจะคิดมาก เพราะค่อนข้างสูง และกังวลเรื่องอ้วน แต่บอกไว้เลยว่า การกินขนาดนี้ในตอนเช้า ไม่ทำให้อ้วนอย่างแน่นอน

เพราะในระหว่างวัน คุณจะเผาผลาญพลังงานเหล่านี้ ได้แทบทั้งหมด จนอาจจะไม่เหลือถึงตอนเย็นเลยก็ว่าได้

เพราะนอกจาก การเคลื่อนไหวของร่างกายที่เผาผลาญพลังงานแล้ว การใช้สมองในการคิดงาน หรือทำงาน ก็จะช่วยในการเผาผลาญด้วยเช่นกัน

ทำให้หมดห่วงเรื่องความอ้วนไปได้เลย สามารถจัดหนักได้ตามที่ต้องการ

อาหารมื้อกลางวัน

สำหรับมื้อกลางวันนั้น จะเป็นมื้อที่เอาไว้เสริมพลังงานจากมื้อเช้าเท่านั้น ปริมาณอาหาร ควรจะลดลงเหลือที่ 25% – 40% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน (500-800 กิโลแคลอรี่)

เหตุที่ต้องให้ลด นั่นก็เพราะว่า เราจะมีพลังงานสะสม ที่เหลือจากอาหารมื้อเช้าในระดับหนึ่ง การกินอาหารกลางวัน จะเผาผลาญในช่วงบ่าย จนถึงอาหารมื้อเย็น

ซึ่งมีระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน จุดนี้เอง เมื่อประกอบกับพลังงานจากมื้อเช้า ก็จะเพียงพอต่อการใช้งาน นั่นเอง

อาหารมื้อเย็น

อาหารมื้อเย็น ถือว่า เป็นมื้อที่สำคัญเช่นกัน แต่ควรกินในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป ควรจะอยู่ที่ 15% – 25% (300-500 กิโลแคลอรี่) นั่นก็เพราะว่า กิจกรรมหลังจากอาหารมื้อเย็น ก็คือ การนอน

ซึ่ง การนอนหลับ จะใช้พลังงานที่น้อยมากๆ ร่างกายจะต้องการเพียงแค่ สารอาหารที่จำเป็นในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เท่านั้น

การกินอาหารเกินความจำเป็น ทำให้พลังงานที่กินเกินเข้าไป ก็จะสะสมกลายเป็นชั้นไขมันแทน ความสำคัญของมื้อเย็น จำเป็นเพียงแค่ อาหารที่ใช้ในการซ่อมแซมร่างกายเท่านั้น

ควรจะรับประทานอาหารพวกโปรตีน และผักผลไม้ที่มีแร่ธาตุและวิตามิน เป็นมื้อที่ควรควบคุมปริมาณที่สุด

กินอย่างไร ไม่ให้อ้วน

ถ้ากินให้อยู่ในปริมาณ 2,000 กิโลแคลอรี่ แล้วกินมื้อเย็นมาก แต่มื้อเช้าน้อย ต่างกันยังไง?

อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็คือ ความแตกต่างอยู่ที่ กิจกรรมหลังจากการกิน เพราะมื้อเช้า เป็นสิ่งที่เรากินเข้าไป และจะเปลี่ยนเป็นพลังงานทันที ใช้ขับเคลื่อนการทำงานของร่างกายตลอดทั้งวัน

แต่สำหรับ คนที่กินมื้อเย็นหนัก มื้อเช้าน้อย อาหารที่กินเข้าไปจะเปลี่ยนเป็นไขมันก่อน เมื่อถึงตอนเช้าแล้วกินมื้อเช้าเข้าไปอีก

ร่างกายจะเผาผลาญพลังงาน จากการกินก่อน เมื่อไม่เพียงพอ ก็จะดึงเอาพลังงานสะสมที่เป็นไขมันมาใช้

แต่ด้วยระยะเวลา ช่วงเช้าและกลางวันมีน้อย ทำให้พลังงานสะสมถูกดึงมาใช้น้อย เมื่อเราทานมื้อกลางวัน ร่างกายก็จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากการกินอีกครั้ง

จากนั้น ก็จะวนเวียนไปจนถึงมื้อเย็นแล้ว ก็สะสมไปเรื่อยๆ จนทำให้เกิดโรคอ้วนทั้งๆ ที่กินในปริมาณที่เหมาะสม นั่นเอง

มาถึงจุดนี้ หลายคนอาจจะพอเข้าใจเกี่ยวกับ การแบ่งปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ ไม่มากก็น้อย และขอบอกไว้เลยว่าการทำตามนั้น ถือว่า เป็นเรื่องที่ง่าย แถมเราไม่จำเป็นต้องอดอาหารอีกด้วย

เพียงแค่นี้ ก็สามารถกินของกินและขนมที่อยากกิน หรืออาหารที่มีแคลอรี่สูงได้ เพียงแค่เปลี่ยนรูปแบบเวลา และปริมาณอาหารเท่านั้น

อ้อ!! ลืมบอกไปว่า ถ้ามีการออกกำลังกาย เสริมเข้าไปด้วย ก็จะสามารถกินได้มากขึ้น และไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย ส่วนปริมาณอาหารที่แน่นอนนั้น จะขึ้นอยู่กับอายุ, เพศ, ส่วนสูงและน้ำหนัก

รวมไปถึง กิจกรรมในแต่ละวันด้วย อย่างนักกีฬาและคนทั่วไป ก็จะต้องการพลังงานในปริมาณที่แตกต่างกัน นั่นเอง จุดนี้ก็ต้องไปศึกษากันให้ลึกๆ อีกครั้ง