คาเทชิน (catechin) คือสารในกลุ่มสารประกอบฟีนอล (phenolic compounds) ประเภทพอลิฟีนอล (polyphenol) ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่พบมากในใบชา (tea)
เป็นสารโภชนะเภสัช (nutraceutical) ที่มีศักยภาพในด้านประโยชน์กับสุขภาพ มีฤทธิ์เป็นสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) ที่จับกับอนุมูลอิสระ และเป็น chelating agent ที่รวมตัวกับไอออนของโลหะหนักได้
คาเทชิน (Catechin) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ได้จากพืช และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สามารถพบได้ในอาหารประเภทต่างๆ เช่น โกโก้ ไวน์ แอ็ปเปิ้ล แต่พบปริมาณสูงที่สุดในชาเขียว
คาเทชินเป็นอาวุธสำคัญของธรรมชาติที่เข้าไปทำหน้าที่ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในร่างกาย” ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาหารอธิบาย
ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณแคทีชิน (catechin) ในชา
ปริมาณแคทีชิน ในใบชามีผลต่อ สี กลิ่น รสชาติของชา ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณ catechin ในชา ได้แก่ พันธุ์ชา ฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และระยะความอ่อน-แก่ของใบ
ในใบชา ชาในฤดูใบไม้ผลิ (รุ่นแรก) มี catechin ประมาณ 12-13% ขณะที่ชาในฤดูร้อน (รุ่นสองสาม) มี catechin ประมาณ 13-14% ใบชาอ่อนมี catechin มากกว่าใบชาแก่
ชาขาว และ ชาเขียวมีปริมาณ catechin มากกว่าชาที่ผ่านการคลึงใบชาและการหมักเพื่อให้เกิดปฏิกิริยการเกิดสีน้ำตาล (enzymatic browning reaction) เช่น ชาดํา และชาอู่หลง
คุณสมบัติของคาเทชินในชาเขียว
สารประกอบที่สำคัญในชาเขียวเป็นสารในกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมีสรรพคุณเป็นสารแอนติออกซิแด็นซ์ (Anti-Oxidant) หรือสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง
ในชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โดยมีการยืนยันจากรายงานของทีมวิทยาศาสตร์จากศูนย์กลางการวิจัยโรคมะเร็ง
ในบริติชโคลัมเบีย พบว่า ในชาเขียวมี “สารแคเทชิน โพลิฟินอล (Catechin Polyphenol)” สามารถยับยั้งการสร้างไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้
นอกจากนี้ ยังพบสาร EGCG (Epigallocatechin Gallate หรือ เอพิกัลโลแคเทชิน กัลแลต ) เป็นสารต้านพิษและยังช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
วิธีดื่มชา ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ถ้าหากต้องการดื่มชา ที่มีสารคาเทชินให้ครบถ้วนแล้ว ควรจะดื่มตอนร้อนเท่านั้น เพราะเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปที่เราเห็นตามตู้แช่ ได้ผ่านกรรมวิธี จนสารคาเทชินไม่เหลืออยู่แล้ว
แถมผู้ผลิตยังได้ใส่น้ำตาลเพื่อเข้าไปเพื่อให้มีรสชาติถูกปาก (รสชาติชาที่แท้จริง จะมีรสขมปนฝาด) แทนที่จะได้รับประโยชน์จากชาเขียวเต็มที่ ยังต้องเสียรู้ให้กับผู้ผลิตอีกต่างหาก
*** ดังนั้น การดื่มชาเขียว ไม่ใช้สักแต่ว่าจะดื่ม หรือใครก็ดื่มได้ มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ต้องการดื่มชาเขียวด้วย ***
– ไม่ควรดื่มชาขณะกินยา เพราะสารต่างๆ ในน้ำชาอาจทำปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่อยาที่กินเข้าไป อาจทำให้คุณสมบัติของยาเจือจางหรือเสื่อมสภาพลง หรือขั้นร้ายแรงอาจกลายเป็นสารพิษได้ ถ้าหากอยากดื่มควร ดื่มก่อนหรือหลังทานยาประมาณ 2 ชั่วโมง
– ไม่ควรดื่มชาก่อนนอนโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์ คนชรา และเด็กเล็ก และโดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ ไม่ควรดื่มน้ำชา เพราะกรดแทนนิก เมื่อรวมตัวกับธาตุเหล็กในกระเพาะอาหารและลำไส้ จะกลายเป็นสารที่ไม่สามารถละลายได้ ทำให้เด็กเล็กไม่เติบโต มีอาการขาดธาตุเหล็กและเป็นโรคโลหิตจางได้
– ไม่ควรดื่มชาร้อนจัด เพราะการดื่มของร้อนจัดมีผลข้างเคียงต่อช่องปาก ลำคอ ลำไส้ได้ อาจทำให้เนื้อบางส่วนในช่องปากตาย และอาจเป็นต้นเหตุกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้
– ผู้ที่ไตทำงานบกพร่องหรือมีอาการไตวาย ไม่ควรดื่มน้ำชามาก เพราะจะทำให้ปัสสาวะบ่อยและไตต้องทำงานหนักขึ้น ขณะที่ประสิทธิภาพของไตยังทำงานได้ไม่เต็มที่
– ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่หลอดเลือดแดงใหญ่ในหัวใจอุดตันไม่ควรดื่มน้ำชาเข้มข้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป หากความดันโลหิตขึ้นสูงมาก หรือหัวใจถูกกระตุ้นมากเกินขีดจะเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างรวดเร็วฉับพลัน
– ผู้ที่มีไข้สูง ไม่ควรดื่มน้ำชา เพราะด่างในน้ำชาจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น จึงยิ่งทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น
กรดแทนนิกในน้ำชายังส่งผลให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ระบบการขับเหงื่อของร่างกายทำงานบกพร่อง
แล้วดื่มชาอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง?
มีเคล็ดลับง่าย ๆ คือ ไม่ควรต้มชานานเกินไป ในชา 1 ถึง หรือประมาณ 2-4 กรัม (1-2 ช้อนชา ขึ้นอยู่กับชนิดของชา) ต่อถ้วย
ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นทิ้งไว้ 3 นาที แล้วเทน้ำร้อนลงบนถุงชา และทิ้งไว้ 3 นาที นำถุงชาออก ปล่อยให้เย็นอีก 3 นาที
Resource: http://www.never-age.com
นิตยสาร Herbs for Health อ้างตัวอย่างรายงานจากญี่ปุ่นว่า คนที่ดื่มชาเขียว 10 แก้วต่อวัน จะปลอดโรคมะเร็งนานกว่าคนที่ดื่มชาเขียวน้อยกว่า 3 แก้วต่อวันถึง 3 ปี
การดื่มชาเพียง 4-5 ถ้วยต่อวัน ดูจะให้ประโยชน์สูงสุด และอาจจะดื่มได้มากกว่านั้น แต่ควรคำนึงถึงปริมาณคาเฟอีนที่คุณอาจได้รับเพิ่มขึ้นด้วย
การบริโภคเครื่องดื่มชาเขียว ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกมาเตือนว่า ควรพิจารณาเลือกบริโภคเฉพาะชนิดที่ไม่มีน้ำตาลผสม
การชงชาด้วยตนเอง นอกจากจะได้อรรถรสของการดื่มชาแล้ว ยังได้ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่า การดื่มชาเขียวที่จำหน่ายเป็นขวดแบบพร้อมดื่ม มีสารสกัดจากชาเขียวน้อย แต่มีน้ำตาลเยอะซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ