การตรวจคัดกรองโรคในผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป อะไรบ้างที่ควรตรวจ?

ตรวจคัดกรองโรคผู้ชาย

สำหรับผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปควรที่จะต้องมีการตรวจทุกปี เพราะผู้ชายเป็นเพศที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเฉพาะเพศชายหลายโรค

โดยเฉพาะตอนอายุก้าวเข้าสู่วัยเลข 4 ซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลายอย่าง โดยกระบวนการตรวจคัดกรองพร้อมสิ่งที่ควรรรู้ก็มีดังนี้

การตรวจคัดกรองโรค คืออะไร?

การตรวจคัดกรองโรค (Screening Tests) คือ การตรวจสุขภาพประจำปี แต่สามารถที่จะเข้าไปขอรับการตรวจได้ตลอดเวลา

หากเริ่มมีอาการของโรค แม้ยังไม่ถึงระยะเวลาในการตรวจสุขภาพประจำปีก็ตาม ทั้งนี้เพื่อจะได้รู้เท่าทันโรค และรับมือกับความผิดปกติอันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างทันท่วงที

ทำไมการตรวจคัดกรองโรคจึงสำคัญ?

อย่างที่ทราบว่าการตรวจคัดกรองโรคคือ การตรวจสุขภาพ สาเหตุที่จะต้องตรวจ เนื่องจากการตรวจสุขภาพจะสามารถทำให้ค้นพบความผิดปกติหรือพบเจอโรคได้เร็ว

โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ถือเป็นช่วงวัยที่ระบบภายในร่างกายมีประสิทธิภาพในการดูแลและซ่อมแซมตนเองที่ต่ำลง

จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย เช่น โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิต โรคหัวใจและโรคเบาหวาน

การตรวจคัดกรองโรคในเพศชาย มีโรคอะไรบ้าง?

หากจะแยกการตรวจคัดกรองโรคเป็นเพศชายและเพศหญิง ขั้นตอนหรือรูปแบบสำหรับการตรวจคัดกรองจะแตกต่างกันไป

เพราะเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักจะมีโรคที่เป็นความเสี่ยงเฉพาะเพศชายเท่านั้น  โดยการตรวจคัดกรองโรคสำหรับเพศชายที่สำคัญหลักๆ มีดังนี้

1.มะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer)

ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ถือเป็นวัยที่ควรจะเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากจะเติบโตอย่างช้าๆ

ดังนั้น การตรวจเพื่อให้พบเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากจึงเป็นไปได้ยาก ยกเว้นสำหรับบางรายที่เซลล์มะเร็งกระจายตัวได้รวดเร็วย่อมทำให้แสดงอาการออกได้อย่างชัดเจน

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์จะใช้การตรวจ 2 รูปแบบหลักๆ คือ การตรวจทางทวารหนัก (digital rectal exam)

และการตรวจสารวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate specific antigen) แต่อาจจะต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาความชัดเจนของโรคเพิ่มเติมด้วย

2.มะเร็งอัณฑะ (testicular cancer)

เป็นโรคมะเร็งเฉพาะในเพศชายที่เกิดจากความผิดปกติของลูกอัณฑะ โดยอาจจะเกิดจากการเจริญเติบโตของลูกอัณฑะที่ผิดปกติ

อาการของมะเร็งอัณฑะสามารถที่จะสังเกตได้ชัดเจนคือ ลูกอัณฑะบวม รู้สึกเจ็บ และอาจจะมีอาการผิดปกติเป็นอื่นๆ เกิดขึ้นกับลูกอัณฑะ

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอัณฑะ สามารถทำได้จากการสังเกตความผิดปกติด้วยตนเอง แต่บางรายอาจจะต้องทำการทดสอบผ่านทางห้องปฏิบัติการ

เช่น การทำ CT Scan เพื่อตรวจสอบการลุกลามของเซลล์มะเร็ง การอัลตร้าซาวด์ เพื่อเป็นการดูตำแหน่งของเซลล์มะเร็งภายในถุงอัณฑะ

3.มะเร็งลำไส้ใหญ่ (colon cancer)

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเสียชีวิต โดยการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ

จะถูกพัฒนามาจากปลายของลำไส้ที่ติดกับทวารหนัก หากเซลล์มะเร็งที่อยู่บริเวณนั้นเริ่มแพร่กระจายก็จะลุกลามไปได้อย่างรวดเร็ว

โดยส่วนใหญ่อาการที่แสดงออกมักจะมีปัญหาในเรื่องของการขับถ่าย โดยอาจจะเกิดจากการถ่ายเป็นเลือด หรือถ่ายไม่ออก

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีวิธีการตรวจแบบเฉพาะทางมากกว่าการตรวจเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น การตรวจด้วยภาพเสมือน (CT Colonoscopy)

ซึ่งเป็นการถ่ายภาพรังสีบริเวณลำไส้ใหญ่ และการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โดยเป็นวิธีที่ใช้ตรวจการทำงานของลำไส้ใหญ่เพื่อหาสิ่งผิดปกติ

4.มะเร็งผิวหนัง (Skin cancer)

ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป มักมีปัญหาเรื่องมะเร็งผิวหนังเนื่องจากไม่ค่อยได้ใส่ใจดูแลผิวเท่าไรนัก ชนิดของมะเร็งผิวหนังที่เป็นกันบ่อย

คือ เมลาโนมา (melanoma) ซึ่งมาจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดสีเมลานิน พฤติกรรมเสียส่วนใหญ่ของผู้ชาย

คือการอยู่กลางแดดเป็นเวลานานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน การไม่ได้ทาครีมกันแดด และผู้ที่ติดเชื้อ HIV

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนัง แพทย์ส่วนใหญ่จะมีการวินิจฉัยเพียงแค่การดูลักษณะความผิดปกติของผิว เช่น สี ขนาด รูปร่าง

แต่หากอยู่ในระยะที่รุนแรงแพทย์อาจจะต้องให้ทำการเอกซเรย์ผ่านคอมพิวเตอร์ และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็ง

5.โรคความดันโลหิตสูง (high blood pressure,Hypertension)

โรคความดันโลหิตสูงสามารถที่จะพัฒนาความรุนแรงไปได้ตามอายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรูปแบบของการใช้ชีวิต และโรคความดันโลหิตสูง

สามารถที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะไตล้มเหลว ภาวะหัวใจขาดเลือด

ซึ่งถือเป็นโรคที่จะต้องมีการระมัดระวังการใช้ชีวิตมากพอสมควร กิจกรรมบางอย่างอาจจะต้องมีขอบเขตทำอย่างจำกัด เช่น การออกกำลังกาย

การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง หากไปตรวจที่โรงพยาบาลก็จะมีเครื่องสำหรับการตรวจวัดความดันโลหิตโดยเฉพาะ

โดยปกติแล้วค่าระดับความดันโลหิตจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหากค่าบนและค่าล่างสูงมากกว่าระดับปกติที่กำหนด

ก็ควรที่จะต้องรีบนั่งพักหรือปรับอิริยาบถให้อยู่ในท่าที่สบายๆ ผ่อนคลายโดยทันที

6.ระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol Levels)

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันอันตรายต่อร่างกาย เพราะหากมีปริมาณในเลือดมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดการสะสมตามผนังหลอดเลือด ส่งผลทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน และโรคหัวใจ

โดยระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายสามารถที่จะเพิ่มได้จากการทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารไขมันไม่ดี อย่างไขมันทรานส์

การตรวจคัดกรองระดับคอเลสเตอรอล เป็นการเจาะเลือดเพื่อนำไปวัดระดับคอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในร่างกาย

แต่สำหรับระยะเวลาสามารถที่จะตรวจทุกปีหรือตรวจทุกๆ 5 ปีขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละราย

หรืออาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการเข้าตรวจ และหากเป็นผู้ป่วยโรคอ้วนแพทย์อาจจะต้องมีการให้ตรวจเพิ่มเติม

6.โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes)

หรือที่รู้จักกันในชื่อโรค hyperglycemia ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดมีปริมาณสูง และภาวะที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลินที่จะใช้เพื่อการควบคุมน้ำตาล

โดยโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป มักจะเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว และสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคไต และโรคหัวใจ

การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการเจาะเลือดตรวจคล้ายกับการตรวจระดับคอเลสเตอรอล แต่จุดประสงค์การตรวจก็เพื่อตรวจสอบระดับกลูโคสในร่างกาย

7.การติดเชื้อ HIV (Human Immunodeficiency Virus)

เชื้อ HIV เป็นเชื้อซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ที่ปะปนอยู่ในสารคัดหลั่งชนิดต่างๆ เช่น เลือด น้ำตา น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยสามารถที่จะได้รับเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์

หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย แต่การติดเชื้อ HIV ยังไม่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นโรคเอดส์ ดังนั้น ยังสามารถรักษาให้หายได้

การตรวจคัดกรองการติดเชื้อ HIV แพทย์จะให้เจาะเลือดเพื่อทดสอบการติดเชื้อ นอกจากนี้ แพทย์จะให้ทำการตรวจโดยการใช้แอนติบอดี้ของร่างกาย

ที่ติดเชื้อ HIV เรียกว่า อีไลซ่า (Elisa,enzyme linked immunosuppressant essay) ในการตรวจเพื่อหาความชัดเจนของโรคร่วมด้วย

8.โรคต้อหิน (Glaucoma)

โรคต้อหินเป็นปัญหาสายตาที่สามารถเกิดขึ้นได้สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยความเสียหายของสายตาจากเริ่มตั้งแต่การมองเห็นได้ไม่ชัดเจน

และส่งผลทำให้ตาบอด สาเหตุจากการที่น้ำหล่อเลี้ยงลูกตามีการไหลเวียนที่ผิดปกติและทำให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้น

การตรวจคัดกรองโรคต้อหิน สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปจะต้องตรวจทุกปี โดยแพทย์จะเริ่มจากการวัดระดับสายตา และทำการขยายม่านตาเพื่อตรวจ

นอกจากนี้จะต้องมีการทดสอบวัดค่าความดันภายในลูกตา หากพบความผิดปกติเกิดขึ้นในลูกตาก็ควรทำการรักษาทันที

9.โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะเพศชายความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดปริมาณลง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถที่จะผลิตมวลกระดูกได้ตามที่ต้องการและเพียงพอต่อการใช้งาน

จึงทำให้กระดูกและข้อต่อเสื่อม โดยอาจจะทำให้เปราะและบางมากกว่าปกติ และเมื่อล้มหรือชนกับสิ่งของก็จะทำให้กระดูกแตกหักได้ง่าย

การตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน จะมีการวินิจฉัยอยู่ 1 รูปแบบ คือ การทำ dexa Scan (dual Energy X-ray absorption)

เป็นการตรวจเพื่อหาค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกที่มีความแม่นยำมากที่สุด โดยจะใช้การสแกนรังสี ซึ่งจะมีผลทำให้ร่างกายได้รับรังสีปริมาณต่ำ

10.โรคปอด (Pulmonary disease)

โรคปอดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อปอด หรืออาจจะส่งผลมาจากหลอดลม ซึ่งโรคปอดรวมหลายโรค

ได้แก่ วัณโรคปอด มะเร็งปอด หลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ล้วนมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมที่ส่งผลทำลายเนื้อเยื่อปอด เช่น การสูบบุหรี่

และยังสามารถเกิดได้จากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง ด้วยเพราะอายุมากขึ้นระบบภูมิคุ้มกันจะเสื่อมสภาพลงไปตามกาลเวลาร่วมด้วย

การตรวจคัดกรองโรคปอด จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปสำหรับแต่ละโรคที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกับโรคปอด

แต่โดยรวมแพทย์จะให้ทำการเอกซเรย์ผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยการใช้รังสีปริมาณต่ำ (Low-Dose Computed Tomography)

Credit : westhouston-867.comfortkeepers.com

การตรวจคัดกรองโรคของผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป จะต้องทำตามขั้นตอนการตรวจอย่างละเอียดเพื่อรู้เท่าทันการแอบแฝงของโรค

โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่เซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายและลุกลามได้อย่างรวดเร็ว มากกว่าการพบเจอเซลล์มะเร็งในร่างกาย

ดังนั้น หมั่นเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยรับมือด้านการเกิดโรคได้ทันการณ์อย่างแน่นอน