สาวๆ เป็นจำนวนมากที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ในยุคปัจจุบัน มากกว่าร้อยละ 50 ต้องเผชิญกับ ปัญหาประจําเดือนมาผิดปกติ
โดยเฉพาะปัญหาประจําเดือนไม่มาหรือมาแบบกระปิดกระปรอย บางคนถึงขั้นที่ประจําเดือนไม่ยอมมาเลย
อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่สาวๆ มักจะมองข้าม ไม่กล้าเข้าตรวจ เพราะความอายและกลัวจะตรวจเจอความผิดปกติ
ซึ่งสาเหตุบางครั้งก็มาจากความผิดปกติธรรมดา อย่างการกินยาคุมหรือยาคุมฉุกเฉินแล้วประจําเดือนไม่มา
ทำให้ฮอร์โมนรวน แต่ก็สามารถมาจากสาเหตุที่ร้ายแรงได้เช่นกัน ทางที่ดีที่สุดหากพบประจําเดือนไม่มา1เดือนหรือ 2 เดือนขึ้นไป
ควรพาตัวเองเข้ารับการตรวจจากแพทย์จะดีกว่า เพราะหากมั่นใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมดีกว่าอาการลุกลามหนักจนยากต่อการเยียวยา
ประจําเดือนคืออะไร ?
ประจําเดือน (อังกฤษ: Menstruation) หรือเมนส์ หรือรอบเดือน หรือระดู คือ “เลือด” ที่ออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์
ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกเดือนตามธรรมชาติ เป็นการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยมีฮอร์โมนเพศเข้ามาเกี่ยว
นั่นก็คือฮอร์โมน Progesterone และ Estrogen เป็นตัวทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในมดลูก
ช่วยให้เยื่อบุที่ถูกสร้างขึ้น แต่ไม่มีการตั้งครรภ์หลุดลอกออกมา ซึ่งยังมีความเกี่ยวเนื่องกับการทำงานรังไข่และการตกไข่ด้วย
ดังนั้นในช่วงที่มีการตั้งครรภ์ เยื่อบุโพรงมดลูกจะไม่หลุดออกมา แต่จะเป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อน
ในช่วงเวลาดังกล่าวประมาณ 9 เดือน จะไม่มีประจําเดือนออกมา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ
แต่ในกรณีที่สาวๆ ไม่เกิดการตั้งครรภ์ แต่พบว่ามีอาการประจําเดือนมากระปิดกระปรอย
ประจําเดือนไม่มา ถือว่าเป็นความผิดปกติที่ควรหาสาเหตุเพื่อแก้ไข
ประจําเดือนไม่มาเกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง ?
ประจําเดือนไม่มา หรือภาวะประจําเดือนขาดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
ในทางการแพทย์จะแบ่งอาการออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1.ประจําเดือนไม่มาขั้นปฐมภูมิ (Primary amenorrhea)
เป็นภาวะขาดประจําเดือนที่เกิดขึ้นในผู้หญิงที่ไม่เคยมีประจําเดือนมาก่อน
ซึ่งให้สังเกตตั้งแต่ในวัย 15-16 ปีขึ้นไป แต่กลับไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามธรรมชาติที่จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
เช่น สะโพกผาย เต้านมขยาย หรือการมีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ แม้จะเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยมาก
แต่หากเกิดขึ้น จะมาจากการทำงานของระบบรังไข่ที่ผิดปกติ รวมถึงการทำงานของระบบฮอร์โมนภายในร่างกาย
ความผิดปกติของมดลูกตั้งแต่กำเนิด การเจริญเติบโตของรังไข่ที่ไม่สมบูรณ์
การไม่มีมดลูกหรือรังไข่ตั้งแต่กำเนิด ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ประจําเดือนไม่มาได้
โดยเราสามารถแบ่งเป็นลักษณะความผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องไปถึงระดับโครโมโซมที่ผิดปกติได้ดังนี้
– ภาวะเยื่อพรหมจารีไม่ขาด (Imperforated hymen) ลักษณะของเยื่อพรหมจารี
จะเป็นเยื่อบางๆ มีความหนาราว 1.5-2 มิลลิเมตร ถูกสร้างขึ้นอยู่รอบปากช่องคลอด
ความผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เมื่อตัวเยื่อไม่ยอมขาด ก็จะทำให้ไม่มีรูออกสู่ภายนอกให้ประจําเดือนสามารถไหลออกมาได้
ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติแสดงให้เห็นในช่วงแรก แต่จะเริ่มเกิดอาการเมื่อเข้าสู่วัยที่มีประจําเดือน
ปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือบางครั้งจะปวดท้องอย่างหนัก
และมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยเป็นเวลา 3-5 วันต่อเดือน โดยที่ไม่มีประจําเดือนออกมาเลย
– ภาวะเนื้อเยื่อมดลูกไม่พัฒนา (Mullerian agenesis) จะเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อของตัวอ่อน
ซึ่งพบได้ตั้งแต่ในครรภ์ แต่แพทย์ไม่สามารถหาความผิดปกติดังกล่าวได้ โดยเนื้อเยื่อตัวอ่อนจะถูกเรียกว่า Mullerian duct
ซึ่งเนื้อเยื่อตามปกติที่จะกลายสภาพไปเป็นมดลูก เจริญเติบโตเมื่อเด็กผู้หญิงคลอดออกมา
แต่กลับพบว่าไม่มีการเจริญเติบโตที่เป็นปกติ มีพัฒนาการเกิดขึ้นบางส่วนเท่านั้น
ทว่าภายในรังไข่ยังคงทำงานได้เป็นปกติ เนื่องจากเนื้อเยื่ออยู่คนละส่วนกัน
พบได้ว่าผู้ป่วยจะไม่มีมดลูก หรือช่องคลอด เป็นเหตุให้ไม่มีทางออกของประจําเดือนนั่นเอง
– ภาวะรังไข่หยุดทำงานหรือไม่พัฒนา (Gonadal dysgenesis หรือ Premature ovarian failure)
จะแบ่งออกเป็นกรณีที่เกิดขึ้นก่อนในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเจริญพันธุ์ จะพบว่าผู้ป่วยไม่มีอาการประจําเดือนมาเลย
และการพัฒนาทางร่างกายจะไม่เติบโตไปเป็นผู้หญิงได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากรังไข่ไม่ทำงาน
ซึ่งสาเหตุมาจากความผิดปกติในระดับโครโมโซมอย่างในกลุ่มอาการ Turner syndrome
– ภาวะ Testicular feminization (Androgen insensitivity) มาจากความผิดปกติของโครโมโซมผู้ป่วยเป็นแบบ XY
ซึ่งถือว่าเป็นโครโมโซมของเพศชาย ทำให้ผู้ป่วยไม่มีการสร้างมดลูกเกิดขึ้น
ทว่ายังมีความเป็นหญิง แต่กลับพบต่อมเพศชายทำงานสร้างฮอร์โมนขึ้นมา
โดยที่เนื้อเยื่อจะไม่ทำการตอบสนองต่อฮอร์โมนเหล่านั้นอีกด้วย
ดังนั้นจึงเสมือนกับว่าร่างกายภายในของผู้ป่วยเป็นชาย แต่ภายนอกของผู้ป่วยเป็นผู้หญิง
– ภาวะเนื้องอกหรือมะเร็งสมอง การเกิดเนื้องอกภายในสมอง
ซึ่งสามารถลุกลามไปเป็นโรคมะเร็งได้นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจําเดือนไม่มาได้
เนื่องจากการกดทับของเนื้องอกในส่วนสำคัญของสมองที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการมีประจําเดือน ระบบฮอร์โมนเสียสมดุล ไม่ทำงาน
จนส่งผลให้เกิดภาวะขาดประจําเดือน บางคนอาจพบประจําเดือนไม่มา ตรวจแล้วไม่ท้อง
โดยหาสาเหตุไม่ได้ในช่วงแรก เนื่องจากไม่มีอาการผิดปกติของเนื้องอกปรากฏให้เห็น
2.ประจําเดือนไม่มาขั้นทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea)
เป็นภาวะขาดประจําเดือนที่พบได้มาก และเกิดได้ในช่วงวัยเจริญพันธุ์แล้ว คือในผู้หญิงที่เคยมีประจําเดือนมาก่อนแล้ว
แล้วเกิดอาการประจําเดือนไม่มา ซึ่งอาจพบประจําเดือนไม่มา1เดือนหรือ 2 เดือนเป็นต้นไป
เมื่อตรวจการตั้งครรภ์แล้วพบว่าไม่ท้อง ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอาการ คือ
1.ภาวะประจําเดือนไม่มาตามธรรมชาติ (Physiologic secondary amenorrhea)
ด้วยความเป็นการที่ประจําเดือนไม่มาตามธรรมชาติ จึงสามารถเกิดขึ้นได้จากการตั้งครรภ์
หรือช่วงระยะแรกของการให้นมบุตร ไปจนถึงในวัยทอง เป็นอาการทั่วไปที่พบได้นั่นเอง
2.ภาวะประจําเดือนไม่มาจากพยาธิสภาพ (Pathologic secondary amenorrhea)
จะเกิดจากผลกระทบของโรคภัยไข้เจ็บทางกายที่ส่งผลต่อฮอร์โมน การทำงานของรังไข่ และมดลูก
นอกจากนี้ยังพบในผู้ป่วยที่เป็นโรค Polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS
คือการที่รังไข่ทั้งสองข้างมีถุงน้ำเป็นจำนวนมากโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆ อย่างที่ไม่สามารถเจาะจงได้แน่ชัด
การทำงานที่ผิดปกติของระบบไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำหรือมากเกินไป
ภาวะเครียด โรคอ้วน การรักษาโรคด้วยวิธีฉายรังสี การใช้เคมีบำบัด ภาวะ Anorexia nervosa
การใช้ยาคุมฉุกเฉิน การกินยาคุมต่อเนื่องในระยะยาว ฯลฯ ก็ไปกระทบกับการทำงานของการมาของประจําเดือนได้เช่นกัน
กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มาเกิดจากอะไร ?
กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มา พบได้มากในกลุ่มผู้หญิงที่กินยาดังกล่าวเป็นเวลานานติดต่อกัน
รวมไปถึงการกินยาคุมฉุกเฉินด้วย แม้ว่าจะเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
แต่ด้วยยาคุมเหล่านี้เป็นยาที่เข้าไปส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน
สาวๆ ส่วนมากไม่ค่อยใส่ใจกับความเสี่ยงเหล่านี้ นิยมกินเป็นเวลานาน
หรือเลือกกินยาคุมฉุกเฉินกันบ่อยมากจนน่าใจหาย เมื่อหยุดกินกลับพบว่าประจําเดือนไม่
กรณีที่หยุดกินยาคุมแล้วเกิดภาวะขาดประจําเดือน ให้ตั้งข้อสังเกตตั้งแต่การตั้งครรภ์ที่จะเกิดขึ้นได้และเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจําเดือนไม่มา
แต่หากประจําเดือนไม่มาตรวจแล้วไม่ท้องควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์จะเป็นการดีที่สุด
สาวๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าการกินยาคุมต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อร่างกายได้โดยที่เราไม่รู้ตัว
การหยุดกินยาคุมในที่เคยกินมาอย่างต่อเนื่อง จะไปส่งผลกระทบต่อการมาของประจําเดือนในรอบเดือนถัดไป
เนื่องจากตัวฮอร์โมน 2 ชนิดที่ทำหน้าที่ในส่วนนี้ถูกควบคุมเอาไว้
ทำให้เกิดอาการรวนเมื่่อฮอร์โมนเพศหลั่งออกมาตามธรรมชาติอีกครั้ง ทางที่ดีหลังจากหยุดกินยาคุมแล้ว 1 เดือน
ควรทำการทดสอบการตั้งครรภ์ทันทีหากเกิดภาวะขาดประจําเดือน
แต่กรณีที่หยุดกินยาคุมไปแล้วประจําเดือนไม่มา2เดือน ให้เข้ารับการตรวจหาสาเหตุจากแพทย์ที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
Photo Credit : cambio.com
การที่สาวๆ พบว่าตัวเองมีประจําเดือนไม่มาในช่วงเวลาที่ควรมา
มีการกินยาคุมหรือยาคุมฉุกเฉิน หลังจากหยุดแล้ว ประจําเดือนก็ยังไม่ยอมมาอีก
ทำการทดสอบไม่พบการตั้งครรภ์ ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาการเหล่านี้
แม้จะดูเหมือนไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงในช่วงแรก แต่หากปล่อยทิ้งเอาไว้นานๆ ก็มีโอกาสที่จะลุกลามกลายเป็นโรคร้ายที่เราคาดไม่ถึงก็เป็นได้ค่ะ