ไขข้อสงสัย ทำไมกินยาฆ่าเชื้อไม่ครบ ถึงเสี่ยงดื้อยา ?

ดื้อยา ภาษาอังกฤษ

ยาฆ่าเชื้อ หรือที่รู้จักกันในชื่อว่ายาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เป็นยาที่มีสรรพคุณช่วยรักษาการติดเชื้อ ที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ซึ่งยาแต่ละตัวก็จะจัดแบ่งกลุ่มแตกต่างกันออกไปตามประเภทของการติดเชื้อ ที่พบได้บ่อยมักจะเป็นยาฆ่าเชื้อหวัด

การเจ็บคอที่มาจากการอักเสบอันมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นสิว ตากุ้งยิง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้ยากลุ่มนี้จะมีประโยชน์ทางด้านการรักษา ลดการติดเชื้อ และกำจัดเชื้อแบคทีเรียอย่างจำเพาะให้ถูกทำลายไป

ทว่าผู้คนส่วนมากกลับไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาอย่างถูกวิธี คิดว่าไม่มีอันตรายต่อร่างกาย

กินพร่ำเพรื่อจนเป็นนิสัย ส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผลเมื่ออาการเกิดซ้ำขึ้นในครั้งต่อๆ มา

จึงจำเป็นต้องใช้ยาที่มีโดสสูงขึ้นกว่าเดิม หรือที่เราเรียกกันว่า “ดื้อยา” (drug resistance)

ใครที่สงสัยว่าทำไมจึงเกิดขึ้นกับยาฆ่าเชื้อ ลองหาคำตอบจากข้อมูลดังต่อไปนี้กันได้เลยค่ะ

เข้าใจหน้าที่ของยาปฏิชีวนะ

การออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ จะมีหน้าที่หลักๆ คือช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

และทำหน้าที่ในการฆ่าเชื้อไปพร้อมๆ กัน การออกฤทธิ์จึงมีกระบวนการอันได้แก่

ทำหน้าที่ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย โปรตีน เอนไซม์ และการสร้างสารอาหารที่ช่วยเพิ่มพลังงาน

ทำให้เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้และตายในที่สุด

ทำไมถึงเกิดภาวะดื้อยา?

เหตุผลที่เกิดการดื้อยาขึ้นมา กรณีที่สาวๆ กินยาไม่ครบตามกำหนด ส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าตัวเองหายแล้วก็เลิกกิน

ทั้งทีแพทย์หรือเภสัชย้ำหนักหนาว่าต้องกินให้หมดแผง เป็นเพราะว่าโดยทั่วไปเชื้อโรคส่วนใหญ่จะมีทั้งแบบธรรมดา

ไม่มีการดื้อยาเกิดขึ้น ส่วนอีกชนิดหนึ่งจะสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง รหัสพันธุกรรม

กลายเป็นเชื้อแบคทีเรียดื้อยาขึ้นมา แม้ว่าจะเป็นเชื้อที่พบได้ในปริมาณน้อย ทว่าหากเกิดการดื้อยาขึ้นมาแล้ว

ก็จะทำให้ยาฆ่าเชื้อที่กินอยู่ไม่สามารถกำจัดมันออกจากร่างกายได้ สิ่งที่ตามมาคืออาการป่วยที่ไม่ยอมหาย

หรือเป็นๆ หายๆ กลับมาเป็นซ้ำได้เพราะการแพร่จำนวนของพวกมัน ด้วยเหตุที่การไม่ได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ

เชื้อจะพัฒนาตัวเองให้สามารถต่อต้านการถูกทำลายได้ อาจรุนแรงถึงขั้นที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาตัวเดิม

ต้องเปลี่ยนมาใช้ยาตัวใหม่สำหรับเชื้อที่มีความรุนแรงขึ้น หากยังมีพฤติกรรมกินยาไม่ครบกำหนดอีก

ก็ทำให้เชื้อแบคทีเรียในอนาคตมีอันตรายต่อร่างกายมากขึ้นตามมา

วิธีแก้ไข เมื่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยา

เมื่อเกิดภาวะดื้อยาขึ้นมา การแก้ไขควรเริ่มจากการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่มีความถูกต้อง

จำเพาะกับเชื้อแบคทีเรียจริงๆ และควรกินยาตรงตามเวลา ด้วยวิธีที่ถูกต้อง แม้จะเป็นอาการติดเชื้อเพียงเล็กน้อย

แต่ให้จำเอาไว้เสมอว่าเชื้อเหล่านี้มีโอกาสพัฒนาตัวเองให้ต้านทานต่อยาได้เสมอ

อีกทั้งการใช้ยาปฏิชีวนะจะต้องไม่ใช้อย่างพร่ำเพรื่อ ใช้แค่ระยะสั้นๆ เท่านั้น และควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชที่เชื่อถือได้อย่างเคร่งครัด

อยากรู้ไหม ทำไมถึงดื้อยา

Photo Credit : laboratoryequipment.com

เพียงเท่านี้สาวๆ ก็ควรเปลี่ยนความคิดตัวเองเสียใหม่ เพราะยาฆ่าเชื้อไม่ใช่ยาที่ควรกินติดต่อกันนานๆ

อีกทั้ง จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการดื้อยาให้น้อยลงได้แล้วล่ะค่ะ