สาวๆ อย่ามองข้าม กลั้นปัสสาวะนาน เสี่ยงโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ!

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ pantip

วิถีชีวิตที่ทำให้ผู้หญิงยุคใหม่ต้องเร่งรีบแข่งขันกับเวลา ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน

การติดแหงกอยู่บนท้องถนน ไปจนถึงการนั่งเล่นมือถือจนลืมทุกอย่างรอบตัวไป

ส่งผลให้สาวๆ ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตเช่นนี้ มีความเสี่ยงต่อการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน

ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือเพราะลืมตัวก็แล้วแต่ ด้วยนิสัยเช่นนี้ หากทำเป็นประจำบ่อยครั้ง

แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ นั่นก็คือ “โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ” (Cystitis)

ที่พบได้มากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อีกทั้งยังอันตรายต่อการติดเชื้อ ที่สามารถลุกลามเข้าสู่ระบบสืบพันธุ์ได้กว่าอีกด้วย

ทำความรู้จักกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าในชาย ช่วงอายุประมาณ 20-50 ปี

สาเหตุก็เป็นเพราะ ท่อปัสสาวะของผู้หญิงมีพื้นขนาดสั้นกว่าผู้ชาย และยังอยู่ใกล้กับทวารหนัก เสี่ยงที่เชื้อแบคทีเรียบริเวณนั้น

ที่มีอยู่ในปริมาณมากแพร่เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ จนเกิดการเจริญเติบโต แพร่ขยายพันธุ์ ทำให้เกิดการอักเสบภายในตามมา

เรามักจะเคยได้ยินการอักเสบที่เรียกกันว่า Honey Moon Cystitis ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงของการมีเพศสัมพันธ์ในระยะแต่งงานใหม่ๆ

เชื้อแบคทีเรียจากทวารหนัก จะหลุดเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย จนตามมาด้วยอาการป่วยดังกล่าวนั่นเอง

วิธีสังเกตุอาการของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

เชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคนี้ มีหลายชนิด แต่ที่พบราวๆ 80-95 เปอร์เซ็นต์ มาจากเชื้อที่ชื่อว่า อีโคไล (E. coli)

โดยอาการจะเป็นได้ทั้งชนิดเฉียบพลัน ซึ่งจะเกิดอาการทันที สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 2-3 อาทิตย์

และชนิดเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นๆ หายๆ ทว่าจะไม่รุนแรงเท่ากับชนิดแรก

สำหรับอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอันเนื่องมาจากมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปภายในท่อปัสสาวะ

จนทำให้เกิดอาการอักเสบ ส่งผลให้สาวๆ รู้สึกปัสสาวะบ่อยขึ้น แต่ว่าจะปัสสาวะในปริมาณน้อย

ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ รู้สึกปวดปัสสาวะมากจนทนไม่ไหว

แต่ปริมาณที่ออกมาบางครั้งแค่ 2-3 หยดเท่านั้นก็มี อีกทั้งยังมีอาการปวดแสบภายในท่อปัสสาวะ

เมื่อปัสสาวะจนสุดแล้วจะรู้สึกปวดเสียด ระหว่างวันจะปวดถ่วง และตึงบริเวณท้องน้อย

ปัสสาวะมีกลิ่นผิดไปจากเดิม บางรายหากอาการรุนแรงอาจมีสีปัสสาวะเป็นสีเหลืองปนแดง เนื่องจากมีเลือดปนออกมาด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ปัจจัยแรกที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้ขึ้น อันเนื่องมาจากสรีระของผู้หญิง แต่ด้วยนิสัยและพฤติกรรมหลายอย่าง

ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นความเสี่ยงทำให้เกิดโรคนี้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะสาวๆ ที่ติดนิสัยกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน

ทำให้เกิดการแช่ค้างของปัสสาวะ เชื้อโรคที่อยู่ภายในจึงเจริญเติบโตมากขึ้น บางคนไม่ค่อยชอบดื่มน้ำ

ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ การปัสสาวะในระหว่างวันลดลง ทำให้เชื้อโรคที่อยู่ภายในไม่ถูกกำจัดออกมา

นอกจากนี้ ในผู้หญิงสูงอายุ คนที่จำเป็นต้องนั่งๆ นอนๆ อยู่กับที่ตลอดเวลา

ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัสสาวะแช่ค้างอยู่ภายในได้ อีกทั้งการมีเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดการติดเชื้อ

คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ที่ง่ายต่อการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ หากดูแลตัวเองไม่ดีพอ ก็จะตามมาด้วยการติดเชื้อได้

การใช้สเปรย์ดับกลิ่น หรือน้ำยาล้างจุดซ่อนเร้นที่มีผลต่อแบคทีเรียที่ดี ทำให้ค่ากรดเบสเสียสมดุล

เชื้อแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ป้องกันช่องคลอดถูกทำลาย เชื้อที่ไม่ดีจึงเข้าสู่ช่องคลอดได้ง่าย

ขั้นตอนการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การรักษาเมื่อแพทย์ตรวจพบว่าเกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะจนเกิดการอักเสบ

ซึ่งอาจมีการเพาะเชื้อ ตรวจเลือด หรือส่องกล้องร่วมด้วยตามดุลยพินิจของแพทย์

โดยมีแนวทางการรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะเป็นหลัก ตามด้วยการรักษาโดยหาสาเหตุของการเกิดโรค

หลีกเลี่ยงต้นตอ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทำการรักษาประคับประคองตามอาการ คนที่มีอาการปวดมาก

จะให้ยาแก้ปวดเพื่อลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย

ส่วนผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือ ด้วยการดูแลตัวเองตามแพทย์แนะนำ ดื่มน้ำให้มากๆ หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นด้วยน้ำยา

ให้ใช้เพียงแค่น้ำเปล่า และในระหว่างที่ยังไม่หายดี ควรงดกิจกรรมเพศสัมพันธ์ไปก่อนระยะหนึ่งด้วย

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ภาษาอังกฤษ

Photo Credit : cystitiscure.co.uk

สำหรับโรคนี้อาจจะดูไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง ทว่าหากปล่อยทิ้งไว้นาน เชื้อแบคทีเรียสามารถลุกลามเข้าสู่อวัยวะข้างเคียง

ทำให้ไตอักเสบ เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อในกระแสเลือด จนทำให้อาการทรุดหนักจนเสียชีวิต

ดังนั้นทางที่ดี สาวๆ จะต้องหมั่นดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวไปข้างต้น หากมีอาการน่าสงสัยเกิดขึ้น ก็ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์

เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบลุกลามมากขึ้น จนยากต่อการรักษาได้นั่นเองค่ะ