วิธีรับมือโรคกระดูกพรุน พร้อมอาหารป้องกันโรคกระดูกพรุนที่มีประโยชน์

อาหารป้องกันกระดูกพรุน

ปัญหากระดูกพรุนในผู้สูงอายุ นับเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมากและเป็นกันได้แทบทุกคน

เพราะเมื่ออายุมากขึ้นความหนาแน่นของมวลกระดูกก็จะลดลง แต่เราสามารถรับมือและป้องกันไม่ให้ โรคกระดูกพรุน มาเยือนได้

หรือหากเกิดโรคนี้แล้วก็สามารถชะลออาการของโรคไม่ให้รุนแรงได้ เช่น การทาน อาหารป้องกันโรคกระดูกพรุน และวิธีอื่นๆ โดยเรามีคำแนะนำมาให้ปฏิบัติด้วยกันดังนี้

โรคกระดูกพรุน คืออะไร?

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่เกิดจากความหนาแน่นภายในมวลกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกเสื่อม เปราะและบางลง

จนเกิดการผิดรูปและแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ ซึ่งมีผลทำให้กระดูกไม่สามารถทำงาน

หรือเคลื่อนไหวได้ปกติเหมือนเคย เช่น ทนต่อการรับน้ำหนักหรือแรงกระแทกได้น้อยลง เป็นต้น

โดยสามารถเกิดได้กับกระดูกเกือบจะทุกส่วนของร่างกายได้ ซึ่งส่วนที่พบมักมักจะเป็นบริเวณ กระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ

อาการของโรคกระดูกพรุน

ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการแสดงออกแบบชัดเจน แต่จะมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่พอจะใช้สังเกตเบื้องต้นได้ เพื่อให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที นั่นก็คือ

  • กระดูกแตกหักง่าย แม้จะไม่ได้ถูกกระแทกอย่างรุนแรง
  • ปวดหลังแบบเรื้อรัง
  • หลังมีลักษณะงอ
  • ส่วนสูงลดลงในผู้ป่วยบางราย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค

1.อายุ มักจะเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

2.เพศ โรคกระดูกพรุนพบในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 40-45 ปี หรือเคยผ่านการผ่าตัดเอารังไข่ออกก่อนที่จะถึงวัยหมดประจำเดือน

3.น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน (ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 19 กิโลกรัม/ตารางเมตร) เนื่องจากคนผอมจะมีมวลความหนาแน่นน้อยกว่าคนปกติทั่วไป

4.การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการสูญเสียน้ำหนักตัวในระยะเวลาที่สั้น จะมีผลกระทบต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้เกิดกระดูกพรุนได้เช่นกัน

5.มีภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมักจะพบในวัยที่เข้าสู่การหมดประจำเดือน ซึ่งจะทำให้เซลล์สร้างกระดูกทำงานน้อยลงกว่าปกติ

6.มีภาวะขาดสารอาหาร ประเภทโปรตีน แคลเซียม และวิตามินดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่ใช้ในการสร้างกระดูก ซึ่งผู้สูงอายุส่วนมากมักจะขาดสารอาหารในกลุ่มนี้

7.ดื่มแอลกอฮอล์และกาเฟอีนเป็นประจำในปริมาณมาก เนื่องจาการดื่มสิ่งเหล่านี้ติดต่อกันประจำจะทำให้ลำไส้เล็กไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างเต็มที่ ซึ่งมีผลทำให้ขาดสารอาหารได้

8.สูบบุหรี่เป็นประจำ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรด และแคลเซียมเป็นตัวรักษาค่าความสมดุลของเลือด

เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่สูบบุหรี่เข้าไปแคลเซียมจะคอยๆ สลายออกจากกระดูกเพื่อมาทำหน้าที่ในการสะเทินฤทธิ์กรดบุหรี่

9.ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณมาก เนื่องจากกรดฟอสฟอริกที่มีอยู่ในน้ำอัดลม จะมีผลทำให้ฟอสฟอรัสในเลือดสูงขึ้น

ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องสลายแคลเซียมออกจากกระดูก เพื่อป้องกันไม่ให้ฟอสฟอรัสมีปริมาณในเลือดสูงเกิน จนอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิติได้

10.รับประทานเนื้อสัตว์หรืออาหารประเภทโปรตีนมากจนเกินไป ซึ่งมีผลทำให้เกิดการกระตุ้นให้ไตมีการขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะมากขึ้้น

11.รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง เนื่องจากโซเดียมจะไปทำให้ลำไส้มีการดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลงกว่าปกติ และยังไปช่วยเร่งให้มีการขับแคลเซียมทางไตมากขึ้นอีก

12.การใช้ยาบางกลุ่มติดต่อกันเป็นประจำ เช่น ยาสเตียรอยด์, ยากดภูมิคุ้มกัน, ยากันชักบางชนิด, ยารักษามะเร็ง, ยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ,

ยาเฮพาริน, ยาขับปัสสาวะและยากลูโคคอร์ติคอยด์ เป็นต้น ซึ่งยาแต่ละตัวจะมีผลข้างเคียงต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไปอีกที

13.เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ และอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย เช่น โรคระบบต่อมเพศทำงานน้อยผิดปกติ,

โรคไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินและต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นต้น

วิธีรักษาโรคกระดูกพรุน

สำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุนจะใช้วิธีเพิ่มการทำงานให้กับเซลล์สร้างกระดูกภายใน และลดการทำงานของเซลล์กลุ่มที่จะทำลายกระดูก ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  • กินวิตามินหรืออาหารเสริมต่างๆ เช่น แคลเซียม หรือวิตามินดี เป็นต้น
  • ใช้ยากลุ่ม Bisphospho nate ซึ่งเป็นยาที่ใช้ต้านการทำงานของเซลล์ที่ทำลายกระดูก
  • ใช้ยากลุ่มยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น Estradiol, Levonorgestrel เพื่อเพิ่มการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและยังช่วยลดการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูกได้อีกด้วย

การเลือกใช้ยาในแต่ละกลุ่ม จะต้องได้รับการรับรองจากแพทย์ก่อน เนื่องจากยาแต่ละตัวอาจจะมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป

และนอกเหนือจากการใช้ยาแล้ว ควรทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายด้วย เพื่อให้กระดูกได้มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด

อาหารป้องกันโรคกระดูกพรุน

1.โยเกิร์ต หลายคนอาจจะมองว่าโยเกิร์ตเป็นเพียงของหวาน แต่รู้หรือไม่ว่าในดยเกิร์ตอุดมไปสารอาหารที่สำคัญมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน B1, B12, D ธาตุแมกนีเซียม โพแทสเซียม และแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันการเสื่อมของกระดูกได้

สำหรับคุณผู้หญิงที่กำลังกล่าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมสูง ซึ่งโยเกิร์ตก็ถือว่าเป็นตัวช่วยในเรื่องนี้ได้

2.ปลาเล็กปลาน้อย ปลาเป็นอาหารป้องกันกระดูกพรุนที่ดีอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งแคลเซียมชั้นดี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาเล็กปลาน้อย รวมถึงปลาซาร์ดีนและปลาแซลมอน เนื่องจากในกระดูกของปลาทั้งมีแคลเซียมค่อนข้างสูง

ซึ่งแคลเซียมจะมีส่วนในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก และยังมีบทบาทในการช่วยรักษามวลกระดูกได้อีกด้วย

3.ผักตระกูลกะหล่ำ ผักในตระกูลกะหล่ำ จะอุดุมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน B6 ธาตุเหล็ก โฟเลต ธาตุแมงกานีส

ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นในการเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง ซึ่งผักที่ว่าก็ได้แก่ กะหล่ำปลี บร็อกโคลี เป็นต้น

4.ไข่ ไข่จัดได้ว่าเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการประกอบอาหารแต่ละมื้อไปแล้ว เพราะสามารถนำมาทำได้หลากหลายเมนู

และยังอุดุมด้วยในสารอาหารที่สำคัญอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น โปรตีน แคลเซียม วิตามินดี ฟอสฟอรัส โฟเลต เป็นต้น

สำหรับโปรตีนที่ได้รับจะมีบทบาทช่วยในการป้องกันกระดูก ผมและเล็บให้แข็งแรงมีสุขภาพดี

ส่วนแคลเซียมแลฟอสฟอรัสที่มีหน้าที่ในการสร้างมวลกระดูก เพราะฉะนั้นการทานไข่จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคกระดูกพรุนได้

5.ผลไม้และผักบางชนิด ผลไม้และผักที่ว่าก็ได้แก่ ส้ม แอปเปิ้ล สตรอว์เบอร์รี่ เชอร์รี่ บีทและพริกหวาน เป็นต้น

ซึ่งล้วนอุดุมไปด้วยวิตามิน C, D ธาตุฟอสฟอรัสและแมกนีเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยชะลอการสูญเสียมวลกระดูก

6.กล้วย กล้วย เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์และสามารถหาทานได้ทั่วไป การทานกล้วยเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียม

และสารอาหารอื่นๆ ที่มีส่วนช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง นอกจากช่วยในเรื่องการดูดซึมแล้ว ในกล้วยยังอุดุมไปด้วยวิตามิน A, Cและ E

ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม และธาตุโพแทสเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูกด้วย

7.ถั่วงอก ในถั่วงอกจะประกอบไปด้วยสารอาหารมากมาย เช่น ไฟเบอร์ เหล็ก วิตามิน D ไทอามีน ฟอสฟอรัส

แมงกานีส คอปเปอร์ เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ช่วยป้องกันการเกิดดรคกระดูกพรุนและกระดูกเสื่อมได้

8.อัลมอนด์ อัลมอนด์ จัดว่าเป็นแหล่งที่ให้สารอาหารอย่างวิตามิน E แมงกานีส ไบโอติน ไบโอฟลาวิน และคอปเปอร์ ซึ่งในสารอาหารดังกล่าว

มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และยังช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้อีกด้วย เหตุนี้อัลมอนด์จึงนิยมถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารให้ผู้ป่วยกระดูกพรุนทาน

9.นม สำหรับนม ที่หลายคนต้องเคยทานไม่ได้มีเพียงโปรตีนเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วยธาตุอาหารที่สำคัญอย่างแคลเซียม วิตามินดี ฟอสฟอรัส และแมงกานีส

ซึ่งเป็นสารอาหารที่ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อกระดูก โดยเฉพาะวิตามินดีจะมีหน้าที่สำคัญในการช่วยดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย

และยังช่วยป้องกันการเกิดภาวะโรคกระดูกพรุนได้ด้วย เป็นอีกหนึ่งอาหารป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ควรทานทุกวัยเลยทีเดียว

Credit : universityhealthnews.com

โรคกระดูกพรุน อาจจะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนนัก ซึ่งหากเป็นแล้วก็ต้องดูแลรักษาแบบประคับประคองพอสมควร

เนื่องจากเสี่ยงที่กระดูกจะแตกหักได้ตลอดเวลา ซึ่งการรักษาก็ทำได้หลายทาง ทั้งกินยา กินอาหารเสริม และออกกำลังกายควบคู่กันไป

แต่อย่างไรก็ตาม การหมั่นดูแลรักษาสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ย่อมเป็นเกาะป้องกันโรคต่างๆ ได้ดีที่สุด

บวกกับกิน อาหารป้องกันกระดูกพรุน ที่มีประโยชน์ และหมั่นออกแดดอ่อนๆ เพื่อรับวิตามินดี

มาเสริมความแข็งแรงให้กระดูกเป็นประจำ เพียงเท่านี้สุขภาพที่ดีก็จะอยู่คู่กับคุณไปอีกนานแน่นอน