วิธีรับมือโรคกระดูกพรุน พร้อมอาหารป้องกันโรคกระดูกพรุนที่มีประโยชน์

ปัญหากระดูกพรุนในผู้สูงอายุ นับเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมากและเป็นกันได้แทบทุกคน เพราะเมื่ออายุมากขึ้นความหนาแน่นของมวลกระดูกก็จะลดลง แต่เราสามารถรับมือและป้องกันไม่ให้ โรคกระดูกพรุน มาเยือนได้ หรือหากเกิดโรคนี้แล้วก็สามารถชะลออาการของโรคไม่ให้รุนแรงได้ เช่น การทาน อาหารป้องกันโรคกระดูกพรุน และวิธีอื่นๆ โดยเรามีคำแนะนำมาให้ปฏิบัติด้วยกันดังนี้ โรคกระดูกพรุน คืออะไร? โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่เกิดจากความหนาแน่นภายในมวลกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกเสื่อม เปราะและบางลง จนเกิดการผิดรูปและแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ ซึ่งมีผลทำให้กระดูกไม่สามารถทำงาน หรือเคลื่อนไหวได้ปกติเหมือนเคย เช่น ทนต่อการรับน้ำหนักหรือแรงกระแทกได้น้อยลง เป็นต้น โดยสามารถเกิดได้กับกระดูกเกือบจะทุกส่วนของร่างกายได้ ซึ่งส่วนที่พบมักมักจะเป็นบริเวณ กระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ อาการของโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการแสดงออกแบบชัดเจน แต่จะมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่พอจะใช้สังเกตเบื้องต้นได้ เพื่อให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที นั่นก็คือ กระดูกแตกหักง่าย แม้จะไม่ได้ถูกกระแทกอย่างรุนแรง ปวดหลังแบบเรื้อรัง หลังมีลักษณะงอ ส่วนสูงลดลงในผู้ป่วยบางราย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค 1.อายุ มักจะเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป 2.เพศ โรคกระดูกพรุนพบในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 40-45 ปี หรือเคยผ่านการผ่าตัดเอารังไข่ออกก่อนที่จะถึงวัยหมดประจำเดือน 3.น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน […]

kaewsai

August 25, 2018

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม !

โรคกระดูกพรุน (ภาษาอังกฤษ – Osteoporosis) แม้เป็นโรคที่ไม่ได้ร้ายแรงมาก แต่ก็สร้างความทุกข์ให้แก่ผู้ป่วยได้ไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้นการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เป็นเรื่องที่ทุกคนควรใส่ใจ แต่นอกจากการดูแลสุขภาพให้ดีแล้ว การดูแลความแข็งแรงของกระดูก ด้วยการเติมสารอาหารที่ดีให้กับกระดูกเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะโรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกายได้อย่างมากมาย ทำให้กระดูกเปราะแตกได้ง่าย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ วันนี้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนมาฝากกัน โรคกระดูกพรุนคือ อะไร? โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่เกิดจากภาวะที่มีปริมาณแร่ธาตุในกระดูกลดลง โดยเฉพาะปริมาณแคลเซียม ร่วมกับการเสื่อมตัวของเนื้อเยื้อที่เป็นโครงสร้างภายในกระดูก ทำให้เนื้อมวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง จึงส่งผลให้กระดูกเกิดการเปราะแตกได้ง่าย กระดูกที่พบว่าหักได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ สะโพก สันหลัง แต่โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันได้ด้วยการ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับแสงแดดอ่อน ๆ อย่างเป็นประจำ และไม่สูบบุหรี่ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ควรเริ่มทำตั้งแต่ยังอายุยังน้อย สาเหตุที่ทำให้กระดูกพรุน กระดูกประกอบไปด้วยโปรตีน คอลลาเจน แคลเซียม โดยมีแคลเซียมและฟอสเฟตเป็นตัวทำให้กระดูกแข็งแรง ทนต่อการดึงรั้ง กระดูกจะมีการสลายตัวอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่มีการสร้างกระดูกใหม่โดยการใช้แคลเซียมจากอาหารที่ทานเข้าไป ก็จะเกิดการสลายแคลเซียมในเนื้อกระดูกเก่าออกมาในเลือดและถูกออกมาจากทางปัสสาวะและอุจจาระ ในวัยเด็กจะมีการสร้างกระดูกมากกว่าการสลายตัวของกระดูก จึงทำให้กระดูกเกิดการเติบโต จนทำให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้น จนมีความหนาแน่นมากที่สุด เมื่ออายุประมาณ 30 – 35 […]

kaewsai

October 1, 2017

แคลเซียม สารอาหารที่จำเป็นต่อกระดูกและฟันของคุณ

แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุที่ไม่ต้องอธิบายมาก ก็รู้ว่า มีความสำคัญต่อร่างกายคนเราแค่ไหน ก็ถ้าเป็นเด็กๆ ที่ขาดแคลเซียม ก็จะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า ถ้าปล่อยวไว้นานก็จะทำให้ กล้ามเนื้อแขนและขา หรือกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติอีกด้วย สำหรับผู้สูงอายุ หรือสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน หากขาดแคลเซียมแล้ว ก็จะทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกแตกหักง่าย ทำให้เดินไม่สะดวก หลังค่อมได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด การที่ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนเรา แต่การที่จะได้รับสารอาหารอย่าง แคลเซียม ในแต่ละวันนั้น ต้องได้รับในปริมาณที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะหากเราได้รับแคลเซียมมากเกินไป ร่างกายก็ขับส่วนเกินนั้นออกไปนั่นเอง ตามสถิติ ที่สถาบันสุขภาพทั่วโลก แนะนำเลยก็คือ ในวัยเด็กเล็ก อายุ 1-3 ขวบ ควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อย 700 มิลลิกรัมต่อวัน และควรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น เป็นผู้ใหญ่แล้ว ส่วนสตรีมีครรภ์และต้องให้นมบุตร ควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อย 1,200-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน และที่สำคัญ คือ คุณต้องได้รับแคลเซียม ร่วมกับ วิตามินดี ไปพร้อมกันด้วย ประมาณวันละ 400-800 IU […]

mahosot

January 3, 2017

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ อาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาได้อย่างไรบ้าง?

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Lumbar spinal stenosis) อาการปวดหลังบริเวณช่วงเอว เป็นสิ่งที่มักพบได้บ่อยในสาวๆ วัยทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคนที่นั่งเก้าอี้ติดต่อกันตลอดเวลา หรือคนที่อาจจะเคลื่อนไหวผิดท่าผิดทางไป มักจะทำให้เกิดการพลิกตัวของเส้นเอ็น ตามมาด้วยอาการอักเสบที่ปวดร้าวอย่างน่ารำคาญ ซึ่งบางคนรุนแรงถึงขั้นที่ไม่สามารถทำงาน หรือทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายอื่นๆ ได้ไปช่วงระยะหนึ่งๆ เลยทีเดียว อาการเหล่านี้จะหายไปได้เอง หากเกิดขึ้นจากสาเหตุธรรมดาทั่วไป แต่หากเป็นปรากฏการณ์ที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคร้ายนั่นเอง เรามาทำความรู้จักกับอาการของโรคนี้กันว่า มีที่มาและอาการเป็นอย่างไร เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพตามมาเอาได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียวค่ะ โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ คืออะไร? กระดูกสันหลังของเราแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกันตั้งแต่ ระดับต้นคอ ระดับอกหรือกลางหลัง และระดับเอวส่วนล่าง การตีบแคบของโพรงประสาทในกระดูกสันหลัง จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับโพรงภายในกระดูกสันหลัง (Spinal canal) ภายในคือเส้นทางผ่านของเส้นประสาทที่เรียกกว่า “Neural foramina” การตีบที่พบได้มากคือ ระดับต้นคอและเอวส่วนล่าง ส่วนกลางหลังหรือระดับอกจะเป็นการตีบที่พบได้ไม่มากนัก ช่องโพรงกระดูกที่เกิดการตีบแคบ อาจจะเกิดขึ้นจากโรคหรือภาวะของกระดูกที่หนาตัวขึ้น หรือแม้กระทั่งเส้นเอ็นหนาตัว หมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังเกิดการเคลื่อนตัว ทำให้เกิดอาการปวด แม้จะดูเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหู แต่โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และคอยดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมไปพร้อมๆ กันด้วย สาเหตุของการเกิดโรคโพรงกระดูสันหลังตีบแคบ สาเหตุโดยทั่วไปที่พบได้บ่อย คือความเสื่อมสภาพของกระดูกไขสันหลังเอง จนทำให้เกิดการหนาตัวของโครงสร้างที่อยู่รอบๆ ดังนั้นจึง […]

admin24

August 6, 2016

คุณค่าจาก “แคลเซียม” แร่ธาตุสำคัญ ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

แคลเซียม (Ca) เป็นสารอาหารสำคัญอย่างหนึ่งที่ร่างกายต้องการ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก ต่อการเสริมสร้างกระดูกและฟัน หรือจะเรียกได้ว่า เป็นแร่ธาตุที่เป็นหัวใจในการทำงานของระบบภายในร่างกาย ซึ่งในผู้หญิงจะมีโอกาสสูญเสียแคลเซียมได้มากกว่าผู้ชาย จึงมีความต้องการร่าตุชนิดนี้มากเป็นพิเศษ หากไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้ง่าย ซึ่งพบได้มากใน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน การรับเอาอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมเพียงพอต่อวันเ ข้าสู่ร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาวต่อเนื่องกันไป เมื่ออายุมากขึ้นจะสามารถลดปัญหาของกระดูกและฟัน ให้ผู้หญิงสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้แม้จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วก็ตาม ดังนั้น ใครที่ยังไม่รู้ว่า แคลเซียมมีประโยชน์กับเรามากน้อยแค่ไหน ต้องลองไปทำความรู้จักกับ Calcium แร่ธาตุอันเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงตัวนี้กันดีกว่าค่ะ บทบาทของแคลเซียมที่มีผลต่อร่างกาย เนื่องจาก แคลเซียมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการทำงานที่ร่างกายจำเป็นต้องนำมาใช้ เป็นองค์ประกอบของกระดูกและฟัน รวมไปถึงระบบอื่นๆ อีกมากมาย อาทิเช่น ระบบประสาทที่ต้องใช้แคลเซียม เป็นตัวนำพากระแสประสาทภายในเซลล์ของระบบประสาท ทำหน้าที่ในกระบวนการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อและหัวใจ เป็นตัวช่วยปรับสมดุลให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น เป็นตัวนำสารอาหารสำคัญส่งผ่านไปยังเซลล์ และช่วยทำให้เลือดแข็งตัว ปริมาณแคลเซียมที่มีมากพอ จะช่วยสร้างเกราะป้องกันจากโรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุนที่พบได้มากในกลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน กระบวนการนำแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย สำหรับการรับแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายโดยการเลือกกินอาหารที่มีความเหมาะสม เมื่อถูกนำไปย่อยแล้วจะถูกกรดในกระเพาะ ทำหน้าที่กระตุ้นให้แคลเซียมแตกตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการดูดซึมที่ดี การดูดซึมจะเกิดขึ้นบริเวณลำไส้ส่วนปลาย โดยปริมาณที่ร่างกายดูดซึมต่อวันจะอยู่ที่ 20-40 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นจะถูกดูดซึมส่งต่อไปยังกระแสเลือด เพื่อเดินทางไปยังระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยปริมาณส่วนมากจะถูกนำพาเข้าสู่กระดูก บางส่วนถูกส่งไปยังเซลล์ ส่วนที่เหลือหากเกินกว่าร่างกายต้องการ จะถูกขับออกทางปัสสาวะ […]

admin24

March 3, 2016