โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Lumbar spinal stenosis) อาการปวดหลังบริเวณช่วงเอว เป็นสิ่งที่มักพบได้บ่อยในสาวๆ วัยทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคนที่นั่งเก้าอี้ติดต่อกันตลอดเวลา
หรือคนที่อาจจะเคลื่อนไหวผิดท่าผิดทางไป มักจะทำให้เกิดการพลิกตัวของเส้นเอ็น ตามมาด้วยอาการอักเสบที่ปวดร้าวอย่างน่ารำคาญ
ซึ่งบางคนรุนแรงถึงขั้นที่ไม่สามารถทำงาน หรือทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายอื่นๆ ได้ไปช่วงระยะหนึ่งๆ เลยทีเดียว อาการเหล่านี้จะหายไปได้เอง
หากเกิดขึ้นจากสาเหตุธรรมดาทั่วไป แต่หากเป็นปรากฏการณ์ที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคร้ายนั่นเอง
เรามาทำความรู้จักกับอาการของโรคนี้กันว่า มีที่มาและอาการเป็นอย่างไร เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพตามมาเอาได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียวค่ะ
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ คืออะไร?
กระดูกสันหลังของเราแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกันตั้งแต่ ระดับต้นคอ ระดับอกหรือกลางหลัง และระดับเอวส่วนล่าง
การตีบแคบของโพรงประสาทในกระดูกสันหลัง จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับโพรงภายในกระดูกสันหลัง (Spinal canal) ภายในคือเส้นทางผ่านของเส้นประสาทที่เรียกกว่า “Neural foramina”
การตีบที่พบได้มากคือ ระดับต้นคอและเอวส่วนล่าง ส่วนกลางหลังหรือระดับอกจะเป็นการตีบที่พบได้ไม่มากนัก ช่องโพรงกระดูกที่เกิดการตีบแคบ
อาจจะเกิดขึ้นจากโรคหรือภาวะของกระดูกที่หนาตัวขึ้น หรือแม้กระทั่งเส้นเอ็นหนาตัว หมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังเกิดการเคลื่อนตัว
ทำให้เกิดอาการปวด แม้จะดูเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหู แต่โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อย
ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และคอยดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมไปพร้อมๆ กันด้วย
สาเหตุของการเกิดโรคโพรงกระดูสันหลังตีบแคบ
สาเหตุโดยทั่วไปที่พบได้บ่อย คือความเสื่อมสภาพของกระดูกไขสันหลังเอง จนทำให้เกิดการหนาตัวของโครงสร้างที่อยู่รอบๆ
ดังนั้นจึง มักพบในผู้สูงอายุมากกว่าในวัยเด็ก บางรายอาจมีสาเหตุมาจากการอักเสบของข้อ ลักษณะทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคกระดูกสันหลังผิดรูปตั้งแต่กำเนิด
การเกิดอุบัติเหตุที่กระทบต่อกระดูกสันหลัง เนื้องอก จนเข้าไปกดทับโพรงกระดูก
ลักษณะอาการของโรคกระดูกสันหลังตีบ ที่พบได้ทั่วไป
สำหรับอาการของโรคจะแตกต่างกันออกไปตามระดับความรุนแรง หากเกิดขึ้นบริเวณกระดูกสันหลังต้นคอ
จะทำให้ปวดและชาบริเวณต้นคอ บางรายมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย เนื่องจากการกดทับกันของเส้นประสาท
หากเกิดบริเวณเอวจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ยิ่งจะปวดรุนแรงมากขึ้นในท่ายืนหรือท่าแอ่นหลัง
ร่วมกับอาการชาและอ่อนแรงได้เช่นเดียวกัน แต่อาการอ่อนแรงจะส่งผลไปถึงขาทั้งสองข้างได้
ในขณะเดินหรือยืน เสี่ยงต่อการหกล้มได้หากเกิดอาการในช่วงที่กำลังเดินอยู่ เมื่อนั่งพักอาการจึงจะค่อยๆ กลับมาดีขึ้น
เมื่อมีอาการเกิดขึ้นผู้ป่วยควรรบเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอาการปวดขาหรือปวดหลังมากจนส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว
ไม่สามารถเดินเหินได้ปกติ เดินได้เพียงระยะทางสั้นๆ หยุดเดินบ่อย หรือมีปัญหาในการขับถ่าย
ในรายที่รุนแรงจะพบการติดเชื้อ ทำให้มีอาการปวดร่วมกับภาวะไข้ เบื่ออาหาร
น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว และมักพบอาการปวดอย่างรุนแรงในช่วงกลางคืน
[wpsm_video]https://www.youtube.com/watch?v=glcWonbdxjI[/wpsm_video]
ขั้นตอนในการรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
การรักษาโรคนี้ แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดว่ามาจากโรคหรือความผิดปกติภายในโพรงประสาทเอง
มีการตรวจร่างกาย ซักประวัติ เอกซเรย์กระดูกสันหลังแบบธรรมดาเพื่อหาความผิดปกติว่าเกิดขึ้นจากกระดูกสันหลังจริงหรือไม่
หากพบว่าเกิดขึ้นจากโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ จะใช้การรักษาด้วยยาและทำกายภาพบำบัดในเบื้องต้น
แต่หากอาการรุนแรงจะต้องใช้การผ่าตัดหรือวิธีที่ซับซ้อนมากกว่าเป็นทางเลือกต่อไป
Photo Credit : youtube.com
ดังนั้นหากสาวๆ คนไหนที่มีปัญหาอาการปวดหลังแบบผิดปกติติดต่อกันหลายวัน อาการไม่ทุเลาลงมา
ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ เพื่อจะได้หาสาเหตุที่แน่ชัด ป้องกันการลุกลามของโรคหากติดเชื้อไปยังบริเวณข้างเคียง
ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเราได้มากกว่า และอาจสายเกินแก้ต่อการรักษาให้หายเป็นปกติก็เป็นได้