อาการ เหงือกเป็นหนอง ซึ่งก็คือหนึ่งในภาวะเหงือกอักเสบที่พบได้บ่อยในกลุ่มของปัญหาสุขภาพช่องปาก แม้ดูเหมือนจะเป็นเพียงจุดเล็กๆ ภายในร่างกาย
แต่หากปล่อยทิ้งไว้นาน ก็สามารถกลายเป็นโรคอันตรายที่จะทำให้การติดเชื้อลุกลามมากขึ้นได้เช่นกัน
ด้วยอาการหนองที่พบนี้จะมาพร้อมกับอาการบวม มีเลือดออกตามไรฟัน หรือที่เราเรียกกันว่า “โรคเหงือกอักเสบ” (Gingivitis)
จะมาจากการที่มีคราบหินปูนที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ ไปกระตุ้นให้เหงือกเกิดการอักเสบ บวมแดง
การรักษาอย่างไม่ถูกต้อง และไม่รีบทำการรักษา จะทำให้ระยะของโรคลุกลามกลายเป็นปริทันต์อักเสบตามมาได้
เหงือกเป็นหนอง โรคเหงือกอักเสบ มีลักษณะเป็นอย่างไร?
อาการเหงือกเป็นหนองและบวม จนกลายเป็นโรคเหงือกอักเสบนั้น เป็นที่รู้จักกันดีว่า
มีต้นตอมาจากการที่ เหงือกได้รับการตอบสนองจากเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่ตามซอกฟัน
เมื่อสะสมเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย จะกลายเป็นโรคปริทันต์ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้
เหงือกที่บวมและเป็นหนอง หากเริ่มรุนแรงแล้วจะมีเลือดออก มีหนองไหลออกมาตามร่องเหงือก
เมื่อแปรงฟันหรือใช้ไม้จิ้มฟันสอดเข้าไปตามร่อง จะมีเลือดซึมออกมาได้ง่าย
ด้วยเหตุที่ทำความสะอาดช่องปากไม่สะอาดเพียงพอจนติดเป็นนิสัย ส่งผลให้หินปูนค่อยๆ สะสมตัวมากขึ้น
นานวันเข้าคราบที่เกิดขึ้นจะมีการสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรียที่เป็นพิษรวมอยู่ด้วย
ทำให้เหงือกเกิดอาการระคายเคือง สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของเหงือกที่เห็นได้ชัด
คืออาการบวมแดงในระยะแรกเริ่ม และจะค่อยๆ ลุกลามมากขึ้นเป็นระยะๆ
อย่างไรก็ตาม โรคเหงือกอักเสบ จะเกิดความผิดปกติขึ้นที่บริเวณของเหงือกเท่านั้น
ส่วนในโรคปริทันต์จะมีความเกี่ยวข้องกับอวัยวะอื่นด้วย ทั้งส่วนของเหงือก เยื่อยึดปริทันต์
เคลือบในส่วนของรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน ดังนั้นการสังเกตว่าเราเป็นเพียงโรคเหงือกอักเสบหรือเป็นโรคปริทันต์นั้น
จะต้องหมั่นสังเกตสภาพของช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการอ้าปากและส่องดูกับกระจกเงา
โดยดูจากสภาพของเหงือกเป็นอันดับแรก เมื่อแปรงฟัน มีเลือดออกง่าย เหงือกเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีคล้ำ
หรือมีหนองไหลออกมา ตัวฟันดูยาวขึ้น ฟันโยกหรือมีอาการปวดร่วมด้วย ให้รีบเข้ารับการรักษา
เพื่อจะได้ป้องกันการลุกลามไปมากกว่านี้ จนทำลายฟันซี่นั้นๆ ไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ดังเดิมอีกต่อไป
เหงือกเป็นหนอง จากโรคเหงือก รักษาอย่างไร?
เนื่องจากสภาพที่เหงือกเป็นหนองจะลุกลามกลายเป็นโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งมีหลายระยะด้วยกัน
ทว่าในระยะแรกเริ่ม หากรีบทำการรักษาได้ทันการ คือการทำความสะอาดช่องปากให้ถูกวิธี
แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย จะช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุของคราบพลัคไม่ให้สะสมจนกลายเป็นหินปูน
การรักษาด้วยทันตแพทย์ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการถ่ายภาพรังสี เพื่อดูลักษณะอาการภายในที่เกิดขึ้นลึกเข้าไปในระดับกระดูกฟันว่าถูกทำลายไปแล้วมากน้อยแค่ไหน
หากฟันถูกทำลายไปด้วย มีฟันที่โยกคลอน ทันตแพทย์อาจจะเลือกให้ถอนทิ้ง ไม่คุ้มต่อการเก็บรักษาไว้
เพราะฟันซี่นั้นอาจจะไม่สามารถกลับมาใช้งานได้เป็นปกติอีกแล้ว แถมยังให้เหงือกที่เป็นหนองลุกลามมากขึ้น
แต่หากอาการยังไม่หนักมาก จะใช้วิธีกำจัดหินปูนออก มีการเกลารากฟัน โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์แต่ละคน
หนองที่อยู่ภายในจะมีการผ่าตัดเปิดเหงือกในรายที่มีอาการรุนแรง เพื่อกำจัดเชื้อโรคไม่ให้เข้าไปถึงรากฟันด้านล่าง ช่วยตกแต่งเหงือกที่บวมแดงให้กลับมามีสุขภาพดีมากขึ้นและง่ายต่อการทำความสะอาด
ผู้ป่วยที่เป็นหนองและมีการติดเชื้อที่คลองรากฟันด้วย มีต้นตอมาจากการที่รูทะลุเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน
เชื้อโรคที่อาศัยอยู่ภายในช่องปากจะเล็ดลอดเข้าไป ซึ่งสามารถมาได้จาก ฟันผุ ฟันโยก ฟันหัก หรือฟันสึกหรอ
การที่มีหนองไหลทะลักออกมาด้านนอกจนเห็นได้ชัดแล้ว นั่นแสดงให้เห็นว่ามีการสะสมของหนองที่ปลายรากฟันจนเต็ม
ทำให้เหงือกบวม และมีหนองไหลเยิ้มออกมา ในการรักษานั้น ทันตแพทย์จึงต้องทำการประเมินความรุนแรงของโรคในแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป
เพื่อให้สามารถระบุตำแหน่งของโรคได้อย่างถูกจุดมากที่สุด โดยอาจจะมีการรักษาเฉพาะส่วนของเหงือกเป็นหนอง หรือทำการถอนฟันซี่นั้นๆ ออกไปด้วยเลยก็ได้ หากรากฟันถูกทำลายไปมากแล้ว
Photo Credit : healthline.com
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติของช่องปาก จนทำให้ฟันติดเชื้อเข้าไปลึกถึงด้านใน จนทำให้ เหงือกเป็นหนอง ควรดูแลสุขภาพช่องปากให้ถูกวิธี แปรงฟันให้ทั่วถึงทุกจุด ใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย
อย่าลืมที่จะสังเกตลักษณะของเหงือกและฟันตัวเอง เพื่อหาความผิดปกติ และเข้ารับการตรวจสุขภาพเหงือกและฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งตามคำแนะนำของทันตแพทย์ด้วยค่ะ