โรคนิ่วในต่อมน้ำลาย โรคต่อมน้ำลายอุดตันเกิดจากอะไร รักษาป้องกันได้อย่างไรบ้าง?

แม้ โรคนิ่วในต่อมน้ำลาย เป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากถึงมากที่สุด และเป็นโรคที่ไม่ได้มีความรุนแรงมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่อยากให้ทุกคนมองข้าม เพราะหากเป็นโรคนี้แล้ว ย่อมทำให้ผู้ป่วยมีความทรมานจากอาการปวดบวมของต่อมน้ำลายอยู่บ้างไม่น้อย ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาทำความเข้าใจโรคนี้กันให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้รับมือป้องกัน วันนี้เราเลยมาแนะนำว่า โรคนิ่วในต่อมน้ำลาย คืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง? รู้แล้วจะได้หลีกเลี่ยงปัจจัยในการเกิดโรคนั่นเอง โรคต่อมน้ำลายอุดตัน หรือนิ่วในต่อมน้ำลาย คืออะไร? โรคต่อมน้ำลายอุดตัน หรือ นิ่วในต่อมน้ำลาย (Sialolithiasis) คือ การอุดตันที่เกิดขึ้นบริเวณท่อน้ำลายหรือต่อมน้ำลาย จนทำให้เกิดเป็นก้อน ตกตะกอน ที่ทางแพทย์เรียกกันว่า “นิ่ว” โดยนิ่วตัวนี้จะเกิดบริเวณท่อน้ำลายตัวในของต่อมน้ำลาย ซึ่งโดยปกติแล้ว นิ่วจะมีขนาดเล็กและสามารถหลุดออกไปยังท่อน้ำลายตัวนอกของต่อมน้ำลายเองได้ ซึ่งตัวท่อน้ำลายตัวนอกนี้ก็คือ ตัวที่ส่งน้ำลายออกไปทางช่องปากอีกที  โดยนิ่วจะเกิดบริเวณต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ซึ่งมีอยู่ 3 จุด คือ ต่อมน้ำลายหน้ากกหู ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น ซึ่งกระจายกันอยู่ภายในหน้าทั้งด้านซ้ายและขวา และสามารถเกิดการอุดตันได้หลายจุดพร้อมกัน แต่ก็สามารถหลุดออกมากับน้ำลายได้เองเช่นกัน จากผลสำรวจพบว่าโรคต่อมน้ำลายอุดตันส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ก็พบในเด็กโตบ้างประปราย สามารถเกิดได้ทั้งเพศชายและหญิง โดยโอกาสเกิดเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ยังพบว่าจุดที่เกิดการอุดตันบ่อยที่สุดคือ บริเวณต่อมใต้ขากรรไกร โรคนิ่วต่อมน้ำลายอุดตันเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากซึ่งพบเพียงแค่ […]

kaewsai

March 7, 2018

ต่อมน้ําลายอักเสบ มีอาการ สาเหตุและการรักษาอย่างไรบ้าง?

ต่อมน้ําลาย (ภาษาอังกฤษ: Inflammatory salivary glands) คือส่วนของต่อมที่ใช้สำหรับสร้างน้ําลายทำให้ภายในช่องปากเกิดความชุ่มชื้น และยังเป็นตัวช่วยให้การเคี้ยวอาหารสะดวก ช่วยคลุกเคล้าอาหารและช่วยย่อยไปในตัว ตามปกติต่อมน้ําลาย จะมีการสร้างปริมาณน้ําลายออกมาในสัดส่วนที่เพียงพอกับการนำไปใช้ ตำแหน่งของต่อมชนิดนี้พบได้ที่ กกหู (Parotid gland) จะสร้างน้ําลายแบบใส, ขากรรไกรล่าง (Submaxillary gland หรือ Submandibular gland) จะสร้างน้ําลายทั้งชนิดเหนียวและใส เป็นต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ําลายมากที่สุด และสุดท้ายคือใต้ลิ้น (Sublingual gland) จะสร้างน้ําลายชนิดเหนียวมากกว่าชนิดใส แต่ในกรณีที่เกิดโรคต่อมน้ําลายอักเสบ จะทำให้การผลิตน้ําลายผิดปกติ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการอักเสบ ตำแหน่งที่เกิดขึ้น และระดับความรุนแรงของผู้ป่วย ที่การอักเสบอาจแปรสภาพไปเป็นมะเร็งได้เลยทีเดียวค่ะ ลักษณะของต่อมน้ําลายอักเสบ โรคต่อมน้ําลายอักเสบ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคคางทูม ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มาจากเชื้อไวรัส ผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูง แต่เกิดการอักเสบของต่อมน้ําลายตามมา รวมถึงภาวะอื่นๆ สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางเสมหะและน้ําลาย การเกิดเนื้องอกขอต่อมน้ําลาย ที่จะแสดงตัวด้วยอาการต่อมน้ําลายอักเสบ เนื่องจากการอุดตันของทางเดินน้ําลาย ทำให้ตรวจพบก้อนที่อยู่ภายใน หรือการคลำพบโดยบังเอิญ การอักเสบของต่อมน้ําลาย จะพบได้มากที่บริเวณต่อมน้ําลายข้างหู ที่เรียกกันว่า “โรคคางทูม” พบได้ทั้งในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ส่วนในผู้ใหญ่จะพบได้ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 […]

admin24

November 17, 2016

ลิ้นเป็นตุ่ม ตุ่มขึ้นที่โคนลิ้น เจ็บๆ สัญญาณสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม !

ลิ้นเป็นตุ่ม ข้างลิ้น ใต้ลิ้น ปลายลิ้น ร้อนใน ไม่ว่าจะเกิดตุ่มขึ้นตรงไหน เป็นใครก็รู้สึกไม่สบายปาก ทานอะไรก็ไม่สะดวก ไม่อร่อยกันทั้งนั้น บางครั้งมีตุ่มขาว หรือเป็นแผลลักษณะเหมือนร้อนในปรากฏขึ้นด้วย ใต้ลิ้นเป็นตุ่ม หรืออาจเป็นตุ่มแดงๆ ขึ้นมา อาการเหล่านี้ส่วนมากเราไม่ค่อยให้ความสำคัญ และมักจะหายไปเองในที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ กับร่างกาย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยจนผิดสังเกต มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย สาวๆ ควรหันมาสังเกตตัวเอง เพราะนั่นอาจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิดที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพในช่องปาก และบอกได้ถึงสัญญาณโรคของเราได้อย่างมากมายเลยทีเดียวค่ะ อาการ ถุงน้ำใต้ลิ้น ลักษณะผิดปกติ เมื่อลิ้นเป็นตุ่มขาว นอกจากลิ้นเป็นตุ่มที่พบได้บ่อยแล้ว ความผิดปกติที่เราสามารถพบได้บริเวณลิ้นตั้งแต่ส่วนของปลายลิ้น กลางลิ้น โคนลิ้น และส่วนด้านข้างของลิ้น มีการสังเกตความผิดปกติได้ตั้งแต่สีสันของลิ้น พื้นผิว การเคลื่อนไหว และสีของฝ้าที่เกิดขึ้นว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง ที่พบได้บ่อยคือ “ถุงน้ำใต้ลิ้น” ซึ่งทำให้เรารู้สึกเหมือนกับลิ้นเรียบๆ มีตุ่มขึ้นมาอยู่ใต้โคนลิ้น อาการจะเกิดขึ้นด้วยความรู้สึกระคายเคือง แต่ไม่เจ็บปวด ทว่าพบอาการข้างเคียงคือ ทำให้ทานอาหารลำบาก รู้สึกว่ามีน้ำลายมากกว่าปกติ หรือหากก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย ก็จะเหมือนมีอะไรค้ำอยู่ที่โคนด้านใต้ลิ้น ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก พูดไม่สะดวก ไม่ชด เหมือนกับคนอมลูกอมเอาไว้ อาการผิดปกติของถุงน้ำใต้ลิ้น อาจมีทั้งขนาดเล็กใหญ่ […]

admin24

November 8, 2016

เหงือกเป็นหนอง บวม อักเสบ สัญญาณเตือนอันตรายจากโรคเหงือก

อาการ เหงือกเป็นหนอง ซึ่งก็คือหนึ่งในภาวะเหงือกอักเสบที่พบได้บ่อยในกลุ่มของปัญหาสุขภาพช่องปาก แม้ดูเหมือนจะเป็นเพียงจุดเล็กๆ ภายในร่างกาย แต่หากปล่อยทิ้งไว้นาน ก็สามารถกลายเป็นโรคอันตรายที่จะทำให้การติดเชื้อลุกลามมากขึ้นได้เช่นกัน ด้วยอาการหนองที่พบนี้จะมาพร้อมกับอาการบวม มีเลือดออกตามไรฟัน หรือที่เราเรียกกันว่า “โรคเหงือกอักเสบ” (Gingivitis) จะมาจากการที่มีคราบหินปูนที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ ไปกระตุ้นให้เหงือกเกิดการอักเสบ บวมแดง การรักษาอย่างไม่ถูกต้อง และไม่รีบทำการรักษา จะทำให้ระยะของโรคลุกลามกลายเป็นปริทันต์อักเสบตามมาได้ เหงือกเป็นหนอง โรคเหงือกอักเสบ มีลักษณะเป็นอย่างไร? อาการเหงือกเป็นหนองและบวม จนกลายเป็นโรคเหงือกอักเสบนั้น เป็นที่รู้จักกันดีว่า มีต้นตอมาจากการที่ เหงือกได้รับการตอบสนองจากเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่ตามซอกฟัน เมื่อสะสมเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย จะกลายเป็นโรคปริทันต์ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ เหงือกที่บวมและเป็นหนอง หากเริ่มรุนแรงแล้วจะมีเลือดออก มีหนองไหลออกมาตามร่องเหงือก เมื่อแปรงฟันหรือใช้ไม้จิ้มฟันสอดเข้าไปตามร่อง จะมีเลือดซึมออกมาได้ง่าย ด้วยเหตุที่ทำความสะอาดช่องปากไม่สะอาดเพียงพอจนติดเป็นนิสัย ส่งผลให้หินปูนค่อยๆ สะสมตัวมากขึ้น นานวันเข้าคราบที่เกิดขึ้นจะมีการสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรียที่เป็นพิษรวมอยู่ด้วย ทำให้เหงือกเกิดอาการระคายเคือง สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของเหงือกที่เห็นได้ชัด คืออาการบวมแดงในระยะแรกเริ่ม และจะค่อยๆ ลุกลามมากขึ้นเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตาม โรคเหงือกอักเสบ จะเกิดความผิดปกติขึ้นที่บริเวณของเหงือกเท่านั้น ส่วนในโรคปริทันต์จะมีความเกี่ยวข้องกับอวัยวะอื่นด้วย ทั้งส่วนของเหงือก เยื่อยึดปริทันต์ เคลือบในส่วนของรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน ดังนั้นการสังเกตว่าเราเป็นเพียงโรคเหงือกอักเสบหรือเป็นโรคปริทันต์นั้น จะต้องหมั่นสังเกตสภาพของช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการอ้าปากและส่องดูกับกระจกเงา โดยดูจากสภาพของเหงือกเป็นอันดับแรก […]

admin24

October 25, 2016