ลิ้นเป็นตุ่ม ตุ่มขึ้นที่โคนลิ้น เจ็บๆ สัญญาณสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม !

ลิ้นเป็นตุ่ม ข้างลิ้น ใต้ลิ้น ปลายลิ้น

ลิ้นเป็นตุ่ม ข้างลิ้น ใต้ลิ้น ปลายลิ้น ร้อนใน ไม่ว่าจะเกิดตุ่มขึ้นตรงไหน เป็นใครก็รู้สึกไม่สบายปาก ทานอะไรก็ไม่สะดวก ไม่อร่อยกันทั้งนั้น

บางครั้งมีตุ่มขาว หรือเป็นแผลลักษณะเหมือนร้อนในปรากฏขึ้นด้วย ใต้ลิ้นเป็นตุ่ม หรืออาจเป็นตุ่มแดงๆ ขึ้นมา

อาการเหล่านี้ส่วนมากเราไม่ค่อยให้ความสำคัญ และมักจะหายไปเองในที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ กับร่างกาย

แต่หากเกิดขึ้นบ่อยจนผิดสังเกต มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย สาวๆ ควรหันมาสังเกตตัวเอง เพราะนั่นอาจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิดที่ไม่ควรมองข้าม

ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพในช่องปาก และบอกได้ถึงสัญญาณโรคของเราได้อย่างมากมายเลยทีเดียวค่ะ

อาการ ถุงน้ำใต้ลิ้น ลักษณะผิดปกติ เมื่อลิ้นเป็นตุ่มขาว

นอกจากลิ้นเป็นตุ่มที่พบได้บ่อยแล้ว ความผิดปกติที่เราสามารถพบได้บริเวณลิ้นตั้งแต่ส่วนของปลายลิ้น

กลางลิ้น โคนลิ้น และส่วนด้านข้างของลิ้น มีการสังเกตความผิดปกติได้ตั้งแต่สีสันของลิ้น พื้นผิว การเคลื่อนไหว

และสีของฝ้าที่เกิดขึ้นว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง ที่พบได้บ่อยคือ “ถุงน้ำใต้ลิ้น” ซึ่งทำให้เรารู้สึกเหมือนกับลิ้นเรียบๆ มีตุ่มขึ้นมาอยู่ใต้โคนลิ้น

อาการจะเกิดขึ้นด้วยความรู้สึกระคายเคือง แต่ไม่เจ็บปวด ทว่าพบอาการข้างเคียงคือ ทำให้ทานอาหารลำบาก

รู้สึกว่ามีน้ำลายมากกว่าปกติ หรือหากก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย ก็จะเหมือนมีอะไรค้ำอยู่ที่โคนด้านใต้ลิ้น ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก พูดไม่สะดวก ไม่ชด เหมือนกับคนอมลูกอมเอาไว้

อาการผิดปกติของถุงน้ำใต้ลิ้น อาจมีทั้งขนาดเล็กใหญ่ สาเหตุมาจาก การอุดตันของต่อมน้ำลายขนาดเล็ก เรียกในทางการแพทย์ว่า “minor salivary gland

หรืออาจเป็นซีสต์ชนิดหนึ่ง (Ranular Cyst) ไปจนถึงลักษณะของถุงน้ำที่บริเวณท่อน้ำลาย ที่อยู่ในส่วนของท่อน้ำลายขนาดใหญ่ (Major salivary gland)

ลักษณะความผิดปกติ เมื่อลิ้นเป็นตุ่มจาก “การขังของน้ำลาย”

การขังตัวของน้ำลาย จนทำให้กลายเป็นตุ่มนูนที่ใต้ลิ้น สามารถมองเห็นเป็นตุ่มสีน้ำเงินอมม่วงหากพบอยู่ด้านบนๆ ของเนื้อเยื่ออ่อน

หรือบางครั้งก็เป็นตุ่มนูนขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัด โดยทั่วไปจะไม่มีอาการเจ็บที่ลิ้นแต่อย่างใด

เมื่อตุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถที่จะแตกจนทำให้ของเหลวไหลออกมาภายในช่องปาก

ตุ่มดังกล่าวก็จะยุบตัว และเกิดขึ้นมาซ้ำได้อีกในอนาคต ซึ่งอาจจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิมก็ได้

ส่วนขนาดของตุ่มที่เกิดขึ้นจากการขังตัวของน้ำลาย จะมีขนาดตั้งแต่ไม่กี่เซนติเมตร

ตุ่มดังกล่าวหากปล่อยทิ้งเอาไว้นาน จะทำให้นูนมีขนาดใหญ่ขึ้น ลิ้นจะถูกยกตัว ทำให้เกิดความรู้สึกรำคาญ

ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อให้ขนาดของโรคเล็กลง ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ลักษณะความผิดปกติเมื่อเกิดตุ่มโคนลิ้น

หากเป็นความผิดปกติจากตุ่มที่โคนลิ้น ซึ่งจริงๆ จะเป็นต่อมน้ำเหลืองที่กระจายยู่ทั่วไปตามโคนลิ้น

เรียกในทางการแพทย์ว่า ต่อมทอนซิลโคนลิ้น (Lingual Tonsil) ต่อมนี้พบได้ในทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย

แต่ขนาดจะเล็กหรือใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบว่าอยู่ในระดับไหน

ซึ่งการอักเสบอาจจะลุกลามตั้งแต่คอหอยไปจนถึงอวัยวะส่วนอื่นๆ ในช่องปาก กลายเป็นคอหอยอักเสบ

หรือลิ้นอักเสบ กลายเป็นต่อมทอนซิลบริเวณลิ้นโตมากขึ้น เม็ดเลือดขาวถูกเร่งให้ผลิตตัวจับกินเชื้อโรค

หากเกิดอาการดังกล่าวขึ้นจึงจำเป็นต้องทำการรักษาอย่างถูกวิธี โดยไม่ใช้วิธีการบี้หรือบีบตุ่มที่เกิดขึ้นนั้น

เพราะจะยิ่งเป็นตัวการทำให้เชื้อโรคแพร่กระจาย ตามมาด้วยการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่รุนแรงกว่าเดิม

การรักษาอาการลิ้นเป็นตุ่ม หรือตุ่มที่โคนลิ้น ต้องทำอย่างไร ?

เนื่องจากลักษณะอาการที่ปรากฏขึ้นมานั้นมาได้จากหลายสาเหตุ ตำแหน่งของตุ่มที่เกิดขึ้นก็พบได้หลายจุด มีขนาดที่แตกต่างกันออกไป การรักษาจึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน

ลิ้นเป็นตุ่ม ข้างลิ้น ใต้ลิ้น ปลายลิ้น ร้อนในPhoto Credit : YouTube.com

หากพบว่า อาการไม่รุนแรงก็จะสามารถหายไปได้เอง แต่หากลิ้นเป็นตุ่ม ที่เป็นการอักเสบติดเชื้อ จะต้องพิจารณาทำการรักษา

ให้อาการของโรคลดความรุนแรงลง ตามด้วยการผ่าตัดบริเวณต่อมน้ำลายและตุ่มที่เกิดขึ้น

ดังนั้นทางที่ดีที่สุด หากสาวๆ พบความผิดปกติ เกิดอาการลิ้นเป็นตุ่ม ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งในช่องปาก

ก็ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะตามมาในอนาคตจนทำการรักษาได้ยุ่งยากมากขึ้นนั่นเองค่ะ