โรคกลัวอ้วน เป็นอีกหนึ่งโรคที่ผู้หญิงบางกลุ่มเป็นกันไม่น้อย เนื่องจากกลัวว่าอ้วนแล้วจะไม่สวย จะทำให้หมดความมั่นใจในการเข้าสังคม และอีกมากมาย
ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้จึงมักจะมีพฤติกรรมการอดอาหารบ่อยๆ หรือกินอาหารไปแล้วก็จะต้องทำให้อาหารขับออกมาจากร่างกาย
เราไปดูกันเพิ่มเติมดีกว่านะคะว่า โรคกล้วอ้วนคืออะไร อันตรายหรือไม่ มีวิธีรักษาป้องกันอย่างไร ไปติดตามกันเลยค่ะ
โรคกลัวอ้วน คืออะไร?
โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) คือ โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา โดยจะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะเบื่ออาหาร มีพฤติกรรมอดอาหาร
และเป็นปัญหาสำคัญที่จะทำให้การใช้ชีวิตนั้นเป็นไปได้ด้วยความลำบาก ที่สำคัญจะทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักที่ต่ำมากกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับความสูงของร่างกาย
ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ก็จะมีความรู้สึกว่าตัวเองอ้วนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงต้องหาวิธีกำจัดน้ำหนักหลังจากรับประทานอาหารอยู่บ่อยๆ เพื่อให้ตัวเองผอม
โรคกลัวอ้วนมีกี่ประเภท?
โรคกลัวอ้วน ในปัจจุบันพบอยู่ 2 ประเภท โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้
1.ประเภทที่จะต้องคอยเอาออกให้เท่ากับกิน (Binge-Eating/Purging Type)
ผู้ป่วยโรคกลัวอ้วนประเภทนี้จะมีการกินที่มากกว่าคนปกติ แต่จะเป็นเฉพาะในช่วงที่เริ่มมีอาการเท่านั้น และเมื่อกินเข้าไปมากกว่าปกติ
เมื่อตอนเอาอาหารออกก็จะต้องเอาออกมากกว่าปกติเช่นเดียวกัน ซึ่งจะมีวิธีเอาออกมากมายไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาถ่าย อาเจียน หรือแม้กระทั่งการสวนเอาอุจจาระออก
2.ประเภทแบบจำกัด (Restricting Type)
เป็นประเภทที่ผู้ป่วยจะจำกัดการรับประทานอาหาร รวมถึงเลือกรับประทานอาหารที่มีพลังงานต่ำ แต่จะแตกต่างกับแบบแรกคือ จะรับประทานในปริมาณที่น้อย แต่จะพยายามเอาออกให้เหมือนกัน
สาเหตุของโรคกลัวอ้วน
สาเหตุของโรคกลัวอ้วนสามารถที่จะเกิดได้ในหลายๆ ด้าน ดังนี้
1.สภาพแวดล้อม
หากจะให้พูดถึงสภาพแวดล้อมสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ เช่น
- การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของช่วงวัยรุ่น
- ความเครียดที่มาจากการทำงานหรือการเรียน
- ปัญหาภายในครอบครัว
- โดนกลั่นแกล้ง
- การตกงาน
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่เกิดได้จากสภาพแวดล้อมจนส่งผลถึงโรคกลัวอ้วน และไม่เพียงเท่านั้น ถ้าหากว่าอยู่ในสังคมที่จำเป็นต้องใช้รูปร่างในการเข้าสังคม
หรืออาจจะต้องเป็นการปรับเปลี่ยนบุคลิก ก็จะทำให้บางคนอาจจะรู้สึกเหมือนถูกจำกัดการใช้ชีวิตมากจนเกินไป
ดังนั้น การหันมาจำกัดการรับประทานอาหาร ก็ถือเป็นการที่จะได้ออกนอกกรอบเพื่อควบคุมร่างกายของตัวเองได้
หรือจะเรียกว่าเป็นการเพิ่มอิสระให้แก่ตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นสาเหตุได้เช่นเดียวกัน
2.ชีวภาพ
ถึงแม้จะยังไม่สามารถที่จะยืนยันได้อย่างชัดเจน แต่ก็ยังมีการวิจัยออกมาอยู่ตลอดในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม โดยสามารถส่งผลต่อการทำให้เกิดโรคกลัวอ้วน
หรือสำหรับบางรายอาจจะเป็นเพราะความไม่สมดุลของสารเคมีที่มีอยู่ในสมอง ที่เป็นส่วนสำคัญในการใช้เพื่อการควบคุมการย่อยอาหารรวมทั้งความหิว
3.จิตวิทยา
โรคกลัวอ้วนมีความเกี่ยวข้องจากสาเหตุที่มาจากทางจิต โดยบางคนอาจจะมีบุคลิกภาพแบบผิดปกติ หรือเรียกได้ว่ามีความเป็นเพอร์เฟคชั่นนิส จึงสามารถที่จะยอมอดอาหารเพื่อดูแลรูปร่างให้ผอมอยู่ตลอดเวลา
4.พันธุศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในยีน สามารถที่จะทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร และหากผู้ป่วยมีคนในครอบครัวที่มีภาวะความผิดปกติของยีน ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคกลัวอ้วนได้เช่นเดียวกัน
5.พฤติกรรมการอดอาหาร
สำหรับพฤติกรรมการอดอาหาร มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการจดจำพฤติกรรมเอาไว้ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลต่ออารมณ์
เพราะฉะนั้น ก็จะทำให้เกิดเป็นความกังวลมากขึ้น และจะส่งผลต่อการลดความอยากอาหาร เพราะเมื่อสมองจดจำพฤติกรรมอดอาหารจากความกังวล ก็จะทำให้การรักษายากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
6.การเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงสามารถที่จะส่งผลต่อการเป็นโรคอ้วนได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากทำให้เกิดความกังวลและกดดัน
ดังนั้น จึงทำให้เกิดอาการไม่อยากอาหาร และความเครียดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยเหตุการณ์ที่ส่งผล เช่น การเปลี่ยนที่ทำงาน เปลี่ยนที่เรียน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่สามารถที่ส่งผลได้ทั้งหมด
อาการของโรคกลัวอ้วน
สำหรับอาการของโรคกลัวอ้วน เป็นสิ่งที่ยากมากพอสมควรในการที่จะสังเกตว่ามีอาการอะไรบ้างที่เกิดขึ้นโดยตรง
แต่ทั้งนี้ก็ยังมีบางอาการที่เป็นปัจจัยร่วมของการแสดงออกเมื่อเป็นโรคกลัวอ้วน โดยสามารถสังเกตได้ ดังนี้
อาการทางร่างกาย
เป็นอาการที่อาจจะมองเห็นได้ชัด คือ อาการเบื่ออาหารที่จะมีให้พบมากยิ่งขึ้น และอาการอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย คือ
- เวียนศีรษะ
- แพ้ของเย็นๆ
- มีการเต้นของจังหวะหัวใจที่ผิดปกติ
- ความดันโลหิตต่ำ
- นอนไม่หลับ
- อาการเมื่อยล้า
- อาการบวมของแขนหรือขา
- จำนวนเม็ดเลือดผิดปกติ
อาการทางอารมณ์/พฤติกรรม
โดยอาจจะมีอารมณ์หรือพฤติกรรมที่พยายามจะใช้เพื่อการลดน้ำหนัก แต่ทั้งนี้ ยังมีอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้อีก คือ
- ไม่เข้าสังคม
- หงุดหงิด
- ไม่มีความต้องการทางเพศ
- ปฏิเสธการรับประทานอาหาร
- วิตกกังวลว่าน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น
- ไม่กินอาหารในพื้นที่สาธารณะ
- เลือกอาหารไขมันต่ำ
ภาวะแทรกซ้อนโรคกลัวอ้วน
สำหรับภาวะแทรกซ้อนของโรคกลัวอ้วนนั้น สามารถที่จะเกดขึ้นได้กับในทุกส่วนของร่างกาย โดยมีดังนี้
1.ปัญหาหัวใจ เป็นปัญหาที่มีระดับความดันโลหิตต่ำ ซึ่งส่งผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจต่ำตามไปด้วย และสามารถที่จะสร้างความเสียหายให้กับกล้ามเนื้อหัวใจได้ด้วยนั่นเอง
2.ปัญหาเลือด นอกจากจะส่งผลต่อหัวใจแล้ว ภาวะแทรกซ้อนสามารถที่จะส่งผลต่อหลอดเลือด โดยจะทำให้มีปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำลง
3.ภาวะไตเสื่อม ทำให้ร่างกายเกิดการคายน้ำ ส่งผลทำให้ภายในปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงกว่าปกติ
4.ปัญหาระบบทางเดินอาหาร สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้สำหรับระบบทางเดินอาหาร คือ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ช้า ส่งผลทำให้อยากกินอาหารน้อยลง
5.ระดับฮอร์โมน โดยจะทำให้เกิดการลดระดับของฮอร์โมนที่จะใช้สำหรับการเจริญเติบโต
6.ภาวะกระดูกหักง่าย ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องมาจากระดับฮอร์โมนที่กลายเป็นภาวะแทรกซ้อน
โดยหากกระดูกไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน รวมถึงการสูญเสียมวลกระดูก
การวินิจฉัยโรคกลัวอ้วน
สำหรับการวินิจฉัยโรคกลัวอ้วนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะช่วยหาความแม่นยำของโรคให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยลำดับแรกแพทย์จะเริ่มจากการสอบถามอาการที่เกิดขึ้น
รวมถึงการซักประวัติ นอกจากนี้ แพทย์อาจจะต้องมีการวินิจฉัยเพิ่มเติม เนื่องจากอาการเบื่ออาหารสามารถที่จะเป็นโรคอื่นๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- โรคเบาหวาน
- โรคลำไส้อักเสบ
- โรค HIV
- ภาวะติดเชื้อเรื้อรัง
- โรคมะเร็ง
สำหรับการตรวจอาการเหล่านี้จะต้องใช้การตรวจเลือด การสแกนภาพ และการตรวจผ่านคลื่นไฟฟ้า รวมถึงยังต้องมีการตรวจเพื่อหาผลลัพธ์จากการตรวจผ่านห้องปฏิบัติการ โดยมีดังนี้
- การตรวจร่างกายโดยทั่วไป
- การตรวจชีพจร
- การตรวจสอบสภาพผิวและเล็บ
- การตรวจบริเวณหน้าท้อง
- การวัดอุณหภูมิ
- การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)
- การตรวจอิเล็กโทรไลต์และโปรตีนภายในเลือด
- การตรวจการทำงานของตับและไต
- การตรวจต่อมไทรอยด์
- การตรวจปัสสาวะ
ซึ่งวิธีที่กล่าวมา ล้วนถือเป็นวิธีในการตรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับร่างกายเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการตรวจทางจิตวิทยา
โดยอาจจะต้องมีการกรอกแบบสอบถามประเมินตนเอง เพื่อที่จะดูในส่วนของความรู้สึก นิสัย และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
วิธีรักษาโรคกลัวอ้วน
โดยทั่วไป ในการรักษาโรคกลัวอ้วน อาจจะต้องใช้วิธีรักษาผ่านทางสุขภาพจิตร่วมด้วย โดยมีวิธีในการรักษาต่างๆ ดังนี้
1.การรักษากับทางโรงพยาบาล
การรักษาโรคกลัวอ้วนกับทางโรงพยาบาลหรือทางการแพทย์ แพทย์จะต้องมีการตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น และป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายไปมากกว่าเดิม
โดยจะทำการรักษาไปตามอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการขาดสารอาหาร และการปฏิเสธรับประทานอาหาร
2.การรักษาด้วยนักโภชนาการ
ซึ่งจะมีความสอดคล้องกับรูปแบบแรก เพราะเนื่องจากนักโภชนาการจะต้องมีการปรึกษากับแพทย์ เพื่อที่จะใช้ในการเลือกอาหารให้เหมาะสม
แต่ทั้งนี้ ก็อาจจะต้องมีการใช้กิจกรรมอื่นๆ เข้ามาช่วยพัฒนาพฤติกรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะสามารถทำให้กลับไปรับประทานอาหารได้อย่างเป็นปกติ
3.การรักษาด้วยครอบครัว
หรือจะเรียกได้ว่าเป็นการใช้ครอบครัวบำบัด เพราะผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหารจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้
เพราะฉะนั้น ก็อาจจะต้องให้พ่อแม่หรือคนในครอบครัวช่วยกันรักษา โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
โดยอาจจะต้องสนับสนุนให้ผู้ป่วยหันมากินอาหารมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ส่งผลต่อโรคกลัวอ้วนได้
4.การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยาอาจจะไม่มียาเฉพาะ ดังนั้น การรักษาโรคกลัวอ้วน แพทย์อาจจะต้องให้ยารักษา
ซึ่งเป็นยาชนิดเดียวกันกับยาโรคซึมเศร้า เพื่อบำบัดอาการทางจิตของผู้ป่วยให้กลับมาเป็นปกติมากขึ้น
วิธีป้องกันโรคกลัวอ้วน
สำหรับวิธีป้องกันโรคกลัวอ้วน สามารถที่จะทำได้ ดังนี้
เรียนรู้วิธีออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายเป็นวิธีที่จะทำให้ได้เผาผลาญไขมัน โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องของไขมันสะสม
ทัศนคติบวก การมีทัศนะคติที่ดีต่อรูปร่างเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากจะทำให้พึงพอใจในรูปร่างที่มี และไม่ต้องฝืนเพื่อให้ได้รูปร่างแบบคนอื่น
เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ แนะนำสำหรับผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย เพราะอาหารเพื่อสุขภาพ
เป็นอาหารที่จะต้องจำกัดปริมาณไขมัน เพื่อลดการสะสมไขมันภายในร่างกาย อันเป็นสาเหตุของความอ้วน
ไม่ใช้อาหารเป็นของต่อรอง ไม่ว่าจะมีเรื่องดีใจหรือเสียใจ ก็ไม่ควรที่จะให้รางวัลตัวเองหรือทำโทษตัวเองด้วยการอดอาหาร
ไม่ใส่ใจสังคมมากเกินไป บางคนมักจะมองว่าสังคมมักจะต้องการคนรูปร่างดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ขอเพียงแค่มั่นใจในรูปร่างของตนเอง และเคารพตัวเองให้มากพอ การเข้าสังคมก็จะไม่ใช่เรื่องน่ากังวล
Credit : changnoye.blogspot.com
โรคกลัวอ้วน ถึงแม้จะมีปัจจัยที่เกิดได้จากสังคมโดยรอบ แต่หากรู้วิธีจัดการก็จะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคได้
โดยผู้ป่วยจะต้องรีบหาวิธีในการรักษา ซึ่งเพียงกินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงแค่นี้ก็จะทำให้รูปร่างดี
ไม่อ้วน ร่างกายไม่ขาดสารอาหาร และจะทำให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ ห่างไกลจากโรคกลัวอ้วนได้อย่างแน่นอน