บอกลาปัญหา “โรคนิ่ว” ด้วยการบริโภคอย่างถูกวิธี

Gallstone อาการสาเหตุของโรคนิ่ว

นิ่ว (ภาษาอังกฤษ – Gallstones) เป็นโรคที่เกิดจากผลึกของแคลเซียมและสิ่งแปลกปลอมที่มีการตกตะกอนเป็นก้อน เป็นโรคที่พบมากในผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 30–40 ปี โดยเฉพาะในเพศชาย และผู้ที่เป็นโรคเกาต์

สำหรับปัจจัยของการก่อโรคเชื่อว่า เกิดจาดหลายสาเหตุทั้งกรรมพันธุ์ การดื่มน้ำน้อยจนทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของแคลเซียมสูง

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติทางโครงสร้างของไต และความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

โดยปกติ “ก้อนนิ่ว” ทั้งที่เกิดขึ้นในไต ในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือในถุงน้ำดี มักจะประกอบไปด้วยหินปูน แคลเซียม และสารเคมีอื่นๆ

เช่น ออกซาเลต และกรดยูริก ซึ่งจะมีขนาดต่างๆ กัน และอาจมีเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่ว มักแสดงอาการปวดแบบเสียดๆ หรือปวดบิดเป็นพักๆ บริเวณบั้นเอวหรือบริเวณหลังข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะมีสีแดงขุ่น

หากก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก ก็อาจหลุดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ จนทำให้รู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายปนออกมาได้

ส่วนในบางรายที่ไม่แสดงอาการใดๆ ก็มักจะถูกปล่อยทิ้งไว้จนก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้น และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา

เช่น เกิดการติดเชื้อจนกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยไว้นานจนเกิดการติดเชื้อมากขึ้น ก็จะทำให้เนื้อไตเสีย และกลายเป็นไตวายเรื้อรังในที่สุด

โรคนิ่ว สามารถรักษาได้อย่างไร

การรักษาโรคนิ่วจึงทำได้ 2 วิธี คือ ปล่อยให้หลุดออกมาเองหากก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก และใช้การผ่าตัดหรือใช้เครื่องสลายนิ่ว หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่

อย่างไรก็ดี แม้นิ่วจะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็คงไม่มีใครอยากเจ็บตัว เพราะต้องเผชิญกับอาการต่างๆ รวมทั้งแผลที่เกิดจากการผ่าจัด

โรคนิ่ว วิธีรักษา อาการ

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บอกลาปัญหา “โรคนิ่ว” ไปชั่วนิรันดร์ ก็คือการป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ ได้แก่ การเอาใจใส่ในเรื่องของอาหารการกินให้มากขึ้น ซึ่งมีแนวทางที่ควรรู้ ดังนี้

  1. ดื่มน้ำให้มากๆ หรือมากกว่าวันละ 1.5 ลิตร หรือ 8 แก้วต่อวัน เพื่อลดการอิ่มตัวของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ และลดโอกาสการก่อผลึกนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะด้วย
  1. รับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเกิดนิ่วได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ ในผักผลไม้ยังเป็นแหล่งของเส้นใยอาหารที่ดีจึงช่วยลดแคลเซียมในปัสสาวะ และช่วยลดการทำลายของเซลล์เยื่อบุท่อไตได้ด้วย
  1. หลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันที่ไม่มีคุณภาพ แล้วหันมาบริโภคไขมันที่ได้จากพืชและเนื้อปลา เพราะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ช่วยลดปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะจึงช่วยลดโอกาสการเกิดนิ่วได้ดี
  1. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น หนังของสัตว์ปีก ตับ ไต และปลาซาร์ดีน รวมทั้งอาหารที่มีออกซาเลตมากเกินไป เช่น งา ผักโขม และถั่วต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดนิ่ว

ดนตรีบําบัดคืออะไร ดนตรีคลาสิคบำบัดโรคได้หรือไม่

แม้สิ่งสำคัญของการดูแลตนเองไม่ให้เป็นนิ่วจะชี้ประเด็นไปที่ การดูแลเรื่องอาหารการกินที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว

แต่ก็ไม่ควรละเลยในเรื่องของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เพราะจะช่วยให้ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กลงและหลุดออกมาเองได้

นอกจากนี้ การเดินสมาธิ ฝึกโยคะ หรือรำไทเก๊ก ก็ยังช่วยให้การทำงานของร่างกายดีขึ้น จึงช่วยลดความเครียด และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วได้อีกทางหนึ่ง