ปัสสาวะเล็ดอย่ามองข้าม อาจเข้าข่าย “โรคฉี่เล็ด” ไม่รู้ตัว

อาการปัสสาวะเล็ด หรือเหมือนกับว่าตัวเอง กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแค่ในเด็กอย่างที่เราคุ้นชินกันดีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังพบว่า ในหมู่ผู้สูงอายุหรือผู้สูงวัย หลายๆ คนก็มีอาการปัสสาวะออกมาแบบกลั้นไม่อยู่ได้เช่นกัน ลักษณะที่เกิดขึ้นแบบนี้ไม่ใช่อาการปัสสาวะไหลเพราะกลั้นเอาไว้นาน หรือนอนฝันว่ากำลังฉี่ จนทำให้ปัสสาวะรดที่นอน แต่มักจะเป็นอาการที่เกิดจากการกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ ต่างกันอย่างแน่นอนว่ากับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในวัยเด็ก อาการนี้เป็นตัวการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอาย ไม่ค่อยกล้าออกไปไหน แค่ไอหรือจามก็ฉี่กระปริดกระปรอยออกมาแล้ว จะสวมใส่ผ้าอนามัยมันก็ดูจะเหมาะกับผู้หญิงเท่านั้น แต่สำหรับผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องนี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ชนิดที่เป็นกางเกงสวม สามารถใส่ได้ทั้งชายและหญิง ทำให้สะดวกสบายในการเคลื่อนไหวร่างกายในระหว่างที่กำลังทำการรักษา ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม หากพบอาการผิดปกติเช่นนี้ ควรรีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุเบื้องต้นก่อน หลังจากนั้นจะได้ทำการรักษาได้ทันหากเกิดขึ้นจากโรคร้ายแรง แม้จะมีตัวช่วยอยู่หลายวิธี แต่ทางที่ดีคืออย่าปล่อยให้โรคนี้อยู่กับเราถาวรเป็นดีที่สุดค่ะ เพราะฉะนั้น นี่คือข้อมูลที่ผู้ป่วยหรือผู้ที่กำลังสงสัยว่าตัวเองป่วยหรือไม่ ลองมาดูสาเหตุ และวิธีแก้ไขอย่างถูกต้องกันดีกว่าค่ะ อาการปัสสาวะเล็ด หรือโรคฉี่เล็ด เกิดขึ้นได้อย่างไร? สาเหตุของอาการปัสสาวะเล็ด จนนำไปสู่โรคปัสสาวะเล็ด มีสาเหตุมากมายทั้งรักษาง่ายๆ ไปจนถึงการรักษายุ่งยากจากโรคของระบบภายในที่ผิดปกติ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุ จะได้ทำการรักษาได้ตรงจุด ที่พบได้บ่อย อาทิเช่น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง ระบบประสาทบริเวณไขสันหลังผิดปกติ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือทำงานผิดปกติ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หลอดเลือดสมองโป่งพอง โรคเบาหวาน หูรูดไม่แข็งแรง ต่อมลูกหมากโต การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง ภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เนื้องอกหรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ […]

mahosot

November 28, 2017

ฉี่ไม่สุด อาการปัสสาวะขัด ฉี่ไม่ออก ทำไงดี? มีวิธีแก้ยังไงบ้าง?

ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะขัด ฉี่ไม่สุด ทำไงดี? เชื่อว่าสาวๆ หลายคนล้วนเคยเจอปัญหานี้กันอยู่ไม่น้อย เพราะเป็นโรคฮิตของชาวออฟฟิศ ที่ติดนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานาน บางคนขี้เกียจหรือไม่ชอบลุกไปปัสสาวะ แถมยังดื่มน้ำน้อยจนทำให้เกิด ปัญหาปัสสาวะขัด ฉี่ไม่ออก ไม่สุด อยู่บ่อยๆ วันนี้เราเลยจะพาคุณสาวๆ มาทำความรู้จักกับสาเหตุของการเกิดอาการนี้ รวมถึงวิธีรักษาและป้องกันอย่างถูกวิธีดังนี้ค่ะ ปัสสาวะขัด ฉี่ไม่สุด มีสาเหตุมาจากอะไร? อาการปัสสาวะขัด ฉี่ไม่ออก ไม่สุด เป็นหนึ่งในอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พูดง่ายๆ ก็คือ อาการดังกล่าว มีสาเหตุมาจากการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นั่นเอง สำหรับโรคนี้เกิดขึ้นจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ในลำไส้ เมื่อเชื้อโรคชนิดนี้เข้าสู่ทางท่อปัสสาวะ จึงทำให้เกิดอาการอักเสบและมีอาการปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะไม่สุดตามมาในที่สุด โดยโรคดังกล่าวมักเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงเป็นเพศที่มีท่อปัสสาวะสั้นกว่า อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับทวารหนัก จึงทำให้เชื้อโรคจากทวารเล็ดลอดเข้าสู่ท่อปัสสาวะได้ง่ายกว่านั่นเอง นอกจากอาการดังกล่าวแล้ว ผู้ป่วยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบยังมีอาการอื่นๆ ตามมาร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะออกแบบกะปริดกะปรอย ปัสสาวะบ่อย แต่กลับออกไม่สุด มีอาการปวดขัดหรือแสบร้อนตอนปัสสาวะ บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อยในเวลาปัสสาวะด้วย นอกจากนี้ ปัสสาวะอาจจะมีกลิ่นเหม็น มีสีใสๆ แต่ในบางคนก็อาจพบว่าปัสสาวะมีลักษณะขุ่นหรือมีเลือดเจือปนอยู่ โดยมักเกิดขึ้นภายหลังจากการกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ หรือเกิดขึ้นหลังจากร่วมเพศ เป็นต้น เพราะฉะนั้น […]

kaewsai

August 1, 2016

บอกลาปัญหา “โรคนิ่ว” ด้วยการบริโภคอย่างถูกวิธี

นิ่ว (ภาษาอังกฤษ – Gallstones) เป็นโรคที่เกิดจากผลึกของแคลเซียมและสิ่งแปลกปลอมที่มีการตกตะกอนเป็นก้อน เป็นโรคที่พบมากในผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 30–40 ปี โดยเฉพาะในเพศชาย และผู้ที่เป็นโรคเกาต์ สำหรับปัจจัยของการก่อโรคเชื่อว่า เกิดจาดหลายสาเหตุทั้งกรรมพันธุ์ การดื่มน้ำน้อยจนทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของแคลเซียมสูง การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติทางโครงสร้างของไต และความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น โดยปกติ “ก้อนนิ่ว” ทั้งที่เกิดขึ้นในไต ในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือในถุงน้ำดี มักจะประกอบไปด้วยหินปูน แคลเซียม และสารเคมีอื่นๆ เช่น ออกซาเลต และกรดยูริก ซึ่งจะมีขนาดต่างๆ กัน และอาจมีเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่ว มักแสดงอาการปวดแบบเสียดๆ หรือปวดบิดเป็นพักๆ บริเวณบั้นเอวหรือบริเวณหลังข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะมีสีแดงขุ่น หากก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก ก็อาจหลุดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ จนทำให้รู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายปนออกมาได้ ส่วนในบางรายที่ไม่แสดงอาการใดๆ ก็มักจะถูกปล่อยทิ้งไว้จนก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้น และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น เกิดการติดเชื้อจนกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยไว้นานจนเกิดการติดเชื้อมากขึ้น ก็จะทำให้เนื้อไตเสีย และกลายเป็นไตวายเรื้อรังในที่สุด โรคนิ่ว สามารถรักษาได้อย่างไร การรักษาโรคนิ่วจึงทำได้ 2 วิธี คือ ปล่อยให้หลุดออกมาเองหากก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก […]

mahosot

May 19, 2015