โรคลิ้นหัวใจ ภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพอย่างที่หลายคนไม่รู้ตัว

โรคลิ้นหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจ เป็นโรคมีความเกี่ยวข้องกับหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย และหากหัวใจเกิดความผิดปกติ

ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่พอสมควรที่จะต้องรีบใส่ใจและดูแล โดยเฉพาะการเป็นโรคบางชนิดขึ้นที่หัวใจ อย่าง “โรคลิ้นหัวใจ

ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถสร้างความอันตรายให้กับคนเราได้อย่างที่คาดไม่ถึง โดยโรคนี้สามารถที่จะเป็นได้ตั้งแต่วัยแรกเกิด

จนถึงวัยสูงอายุ และยังเป็นได้ทั้งในเพศชายและหญิงอีกด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกันว่า

โรคลิ้นหัวใจคืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันมีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ

โรคลิ้นหัวใจ คืออะไร?

โรคลิ้นหัวใจ (Valvular heart disease) หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคลิ้นหัวใจพิการ คือ โรคที่หัวใจมีการทำงานผิดปกติ จึงส่งผลทำให้การไหลเวียนโลหิตมีความผิดปกติตามไปด้วย

ภาวะที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้การทำงานของหัวใจมีความผิดปกติอยู่ตลอดเวลา และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว รวมไปถึงการเสียชีวิตได้ในทันทีอีกด้วย

สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจ

สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจ มีหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งก็มีดังนี้

1.อายุ อายุเป็นสาเหตุอันดับแรกที่มีความสำคัญ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะจะเสื่อมลง จึงทำให้ลิ้นหัวใจลดการทำงานลงจนปิดไม่สนิท

2.การติดเชื้อ หากได้รับการติดเชื้อจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ร่างกายต้องสร้างพังผืดขึ้นมาที่บริเวณลิ้นหัวใจ

เพราะฉะนั้น จึงทำให้มีปัญหาในส่วนของการเกิดโรคลิ้นหัวใจได้หลากหลายรูปแบบ อันเนื่องจากเลือดเกิดการไหลสวนกลับไปยังบริเวณเดิม

3.โรคอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดแดง และโรคอื่นๆ ก็ยังสามารถที่จะส่งผลทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจได้เช่นเดียวกัน

อาการของโรคลิ้นหัวใจ

การเป็นโรคลิ้นหัวใจสามารถที่จะแสดงอาการเฉพาะได้อย่างหลากหลาย โดยสามารถที่จะจำแนกอาการต่างๆ ออกได้เป็นระยะ ดังนี้

1.อาการระยะที่ 1 เป็นระยะที่ยังไม่มีการแสดงอาการจำเพาะมากมาย โดยช่วงแรกนั้นจะมีเพียงแค่การส่งเสียงฟู่

สาเหตุเป็นเพราะเลือดไหลผ่านลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเสียงขึ้น แต่จะได้ยินก็ต่อเมื่อใช้หูฟังของแพทย์

2.อาการระยะที่ 2 เป็นระยะที่ลิ้นหัวใจเกิดความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นร่างกายจะมีการแสดงออกของอาการเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยสังเกตได้ดังนี้

  • เหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบาก
  • บวมตามอวัยวะต่างๆ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หลอดเลือดที่ลำคอโป่งมากขึ้น

ทั้งนี้ ยังสามารถสังเกตได้จากอาการในขณะนอน กล่าวคือ ผู้ป่วยจะไม่สามารถนอนนอนราบได้สะดวก เนื่องจากจะมีอาการเหนื่อยง่าย และหายใจลำบาก

การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจ

การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจ แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ เพราะอาจจะต้องมีการวินิจฉัยในส่วนของโรคที่เคยเกิดการเจ็บป่วยในอดีต

หลังจากนั้นจะมีการตรวจร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการฟังเสียงเต้นของหัวใจ การตรวจวัดความดันโลหิต การอัลตราซาวด์เพื่อตรวจหัวใจ

นอกจากนี้ แพทย์ก็อาจจะต้องใช้คลื่นไฟฟ้าเพื่อตรวจหัวใจ ในบางรายแพทย์ก็อาจจะใช้การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงที่มีความถี่สูง

วิธีรักษาโรคลิ้นหัวใจ

การรักษาโรคลิ้นหัวใจ ปัจจุบันการรักษาได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ดังนี้

1.การซ่อมลิ้นหัวใจ (Vale Repair) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา โดยจะแบ่งการรักษาออกไปตามสาเหตุที่เกิดขึ้น ดังนี้

ความเสื่อมสภาพ หากเป็นการเสื่อมสภาพตามวัย ก็จะทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการย้วย การรักษาจึงจะทำให้ลิ้นหัวใจกระชับมากขึ้น

โรคไข้รูมาติก เป็นโรคที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค เพราะฉะนั้นจึงทำให้เกิดพังผืดหรือมีหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ

ทางเลือกการรักษาที่ดี คือ การลอกลิ้นหัวใจหรือลอกคราบหินปูนออก แล้วเพิ่มเนื้อเยื่อใหม่เข้าไปแทนที่

2.การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement)

เป็นรูปแบบการรักษาที่ง่ายอย่างมากสำหรับทางการแพทย์ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่ ซึ่งก็มีหลักการเปลี่ยนด้วยวัสดุ 2 ประเภทดังนี้

ลิ้นหัวใจจากธรรมชาติ เป็นการผ่าตัดโดยใช้ลิ้นหัวใจที่มาจากสัตว์ เช่น หมู วัว แต่เมื่อทำการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่แล้ว

การทำงานของหัวใจก็จะกลับมาเป็นปกติดังเดิม แต่ทั้งนี้อาจจะต้องระมัดระวังหินปูนที่อาจจะกลับมาเกาะได้อีก

ลิ้นหัวใจโลหะ เป็นลิ้นหัวใจที่ทนทานมากกว่า แต่ทั้งนี้อาจจะมีความลำบาก เนื่องจากว่าต้องคอยรับประทานยาสลายลิ่มเลือดไปตลอดชีวิต

3.ปรับพฤติกรรม

ผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายมากขึ้น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

ตลอดจนไม่ควรปล่อยตัวให้เครียดเกินไป พร้อมกับนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งเป็นพื้นฐานการดูแลสุขภาพที่ดีและถูกต้อง

ก็จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น และลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้มากขึ้นแล้ว

วิธีป้องกันโรคลิ้นหัวใจ

วิธีป้องกันโรคหัวใจ สามารถที่จะเริ่มทำได้จากการดูแลตัวเอง ซึ่งมีหลากหลายวิธีคือ

1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่

2.จำกัดการบริโภคแป้ง และไขมันให้พอต่อความต้องการของร่างกาย

3.หมั่นตรวจสุขภาพทุกปี

4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

5.เลิกดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

พฤติกรรมเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการเป็นโรคอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด โรคอ้วน และโรคอื่นๆ

Credit : heartfoundation.org.au

โรคลิ้นหัวใจ เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวคนเราทุกคน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย

โดยเฉพาะคนที่อายุมากที่ลิ้นหัวใจเกิดความเสื่อมสภาพได้ง่าย และคนที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ ง่ายต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ

ซึ่งเมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อแล้ว ย่อมทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ง่ายดายขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งโรคลิ้นหัวใจเช่นกัน

การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และควรพบแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ ย่อมทำให้รู้เท่าทันโรคและรักษาหายได้เร็วแน่นอน