รู้จักโรควิตกกังวล กับวิธีรับมือให้ผ่านพ้น ก่อนทำชีวิตแย่

โรควิตกกังวล

โรควิตกกังวล เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ง่ายโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว สำหรับความวิตกกังวลนั้น เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว

โดยเป็นสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดจากสิ่งอันตรายต่างๆ แต่สำหรับบางคนที่มีสัญชาตญาณในส่วนนี้มากจนเกินไป

ก็สามารถที่จะทำให้เกิดโรควิตกกังวลได้ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อให้สภาพจิตใจผู้ป่วยดีขึ้น และทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตดีขึ้นตามด้วย

โรควิตกกังวล คืออะไร?

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) คือ ความวิตกกังวลที่มีความรุนแรง และอันตรายมากกว่าเป็นความวิตกกังวลที่เกิดได้ตามปกติ

จึงทำให้เป็นโรควิตกกังวล สำหรับโรควิตกกังวลนั้นเป็นโรคที่สามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

แม้กระทั่งความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเองก็สามารถส่งผลที่จะทำให้เกิดโรควิตกกังวลได้ แต่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของคนรอบข้างเท่านั้น

เพราะอย่างที่บอกว่าการใช้ชีวิตประจำวันอาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย ทั้งการทำงาน การเรียน ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว

เป็นโรคที่แนะนำว่าควรรักษา เพราะหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมถูกต้อง ย่อมสามารถส่งผลให้ในอนาคต ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงไปเรื่อยๆ ได้นั่นเอง

สาเหตุของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลนั้น เป็นโรคที่หลายคนพยายามมองหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดสาเหตุของโรควิตกกังวลก็มีด้วยกันหลากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นหลักๆ ดังนี้

กรรมพันธุ์ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กรรมพันธุ์ หากพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวล โอกาสที่จะทำให้ลูกเป็นโรคนี้ก็สูงมากทีเดียว

โดยอาจจะทำให้เด็กมีอารมณ์ที่ไม่แสดงออก เป็นเด็กเก็บกด มีอาการตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา

สังคมรอบตัว โดยอาจจะเกิดได้จากความกดดัน เนื่องจากสังคมการทำงานหรือสังคมที่อาศัยอยู่นั้น

มักจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความคาดหวังในตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดสาเหตุของโรควิตกกังวลได้

อย่างไรก็ตาม หากจะให้พูดถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเป็นโรควิตกกังวลนั้น ทางการแพทย์ก็ยังไม่สามารถที่จะระบุได้อย่างแน่ชัด

ซึ่งทั้งนี้สำหรับบางคนเองอาจจะกลายเป็นโรควิตกกังวลได้จากเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบกระเทือนจิตใจก็เป็นได้

ประเภทของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลสามารถที่จะแบ่งประเภทได้หลากหลายโดยที่หลายคนไม่รู้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • โรคกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)
  • โรคกลัวแบบเฉพาะ (Specific Phobia)
  • โรคแพนิก (Panic disorder)
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder)
  • โรคกลัวการเข้าสังคม (Social phobia)
  • ภาวะกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety Disorder)
  • ภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์วินาศภัย (Post Traumatic Stress Disorder)

อาการของโรควิตกกังวล

อาการของโรควิตกกังวลนั้นจะเป็นไปตามรูปแบบหรือประเภทของโรควิตกกังวลที่เกิดขึ้น ซึ่งการแสดงอาการของโรควิตกกังวลสามารถที่จะแสดงออกได้จากจิตใจหรือร่างกาย

1.การแสดงอาการออกจากทางร่างกาย

สำหรับการแสดงอาการทางร่างกาย จะเกิดจากการตอบสนองไปกับระบบประสาทโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นอาการหายใจตื้น เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย สั่น ปากแห้ง

สำหรับบางรายอาจจะมีอาการเหน็บชา แต่ทั้งนี้อาการที่แสดงออกทางร่างกายส่วนใหญ่จะไม่ใช่อาการที่เป็นถาวร เพราะจะเป็นก็ต่อเมื่อมีตัวกระตุ้น

2.การแสดงอาการออกจากความคิด จิตใจ

นอกจากอาการที่สามารถแสดงออกจากทางร่างกายแล้ว ยังมีอาการที่สามารถแสดงออกได้ผ่านทั้งทางความคิด

นั่นก็คือ ความคิดที่ไร้เหตุผล แต่มักจะเป็นรูปแบบความคิดที่ผู้ป่วยทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นความคิดที่ไร้เหตุผล

แต่ไม่สามารถที่จะจัดการความคิดเหล่านั้นได้ และแน่นอนว่าความคิดสามารถส่งผลต่อการแสดงออกเกี่ยวกับอาการทางร่างกายได้อย่างชัดเจนเช่นกัน

เพราะฉะนั้นในส่วนนี้อาการทางความคิดจึงมีความอันตรายต่อการแสดงออกทางร่างกายของโรควิตกกังวลมากพอสมควร

ภาวะแทรกซ้อนของโรควิตกกังวล

เนื่องจากประเภทของโรควิตกกังวลนั้นมีหลากหลายรูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยแต่ละอย่างที่ส่งผลให้เกิดอาการเหล่านั้น

เช่นเดียวกันกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรควิตกกังวล ที่สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ทำให้แย่ลงได้ โดยสำหรับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนั้น สามารถแบ่งได้ดังนี้

อาการทางร่างกาย เมื่อผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากหรืออาจจะมีความคิดกดดันอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถส่งผลที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นได้

และที่สำคัญยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายมากที่สุดอีกด้วย

คิดฆ่าตัวตาย เป็นสิ่งที่อันตรายเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ป่วยโรควิตกกังวลจำเป็นจะต้องใส่ใจในส่วนนี้มากพอสมควร

สาเหตุเป็นเพราะหลายคนอาจจะเป็นโรควิตกกังวลที่กลัวการเข้าสังคม หรืออาจจะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการคิดฆ่าตัวตายได้แทบทั้งสิ้น

ภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงสำหรับโรควิตกกังวล โดยจะทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย

นอนไม่หลับ รวมถึงไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน สำหรับบางรายอาจจะมีความรู้สึกวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา

เพราะฉะนั้น หากบ้านไหนที่มีประวัติพ่อแม่เคยป่วยด้วยโรคนี้ ก็ควรเฝ้าสังเกตอาการของลูกด้วยเพื่อจะได้ใส่ใจดูแลและรับมือเท่าทันโรคได้เร็ว

เลือกใช้สารเสพติด การใช้สารเสพติดสำหรับผู้ป่วยนั้นมักคิดว่าจะช่วยบรรเทาอาการได้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สามารถที่จะทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาจากการใช้สารเสพติดเพื่อบรรเทาอาการโรควิตกกังวล

อาการทั้งหมดนี้ล้วนเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้กับโรควิตกกังวล โดยคนรอบข้างควรที่จะต้องเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยมากพอสมควร

การวินิจฉัยโรควิตกกังวล

การวินิจฉัยโรควิตกกังวลนั้น อย่างแรกแพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติโดยเบื้องต้น รวมถึงโรคประจำตัวต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมิน

สำหรับบางรายอาจจะมีอาการคล้ายโรควิตกกังวลแต่ไม่ใช่ นอกจากนี้ ยังจะต้องมีการตรวจผ่านห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจสมรรถภาพปอด

ตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และจะต้องมีการตรวจปัสสาวะ เนื่องจากผลตรวจเหล่านี้จะช่วยในการประเมินโรคได้อย่างชัดเจนแม่นยำยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม อาจจะมีบางอาการที่มีความคล้ายคลึงกับโรควิตกกังวล แต่ถือว่าไม่ใช่โรควิตกกังวลนั่นก็คือ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

โรคหัวใจเต้นผิดปกติ โรคหืด ซึ่งหากแพทย์ทำการตรวจตามปกติ แต่ไม่พบโรคทางกายใดๆ ทั้งสิ้น ในส่วนนี้อาจจะต้องใช้จิตแพทย์ในการวินิจฉัยโรควิตกกังวลแทน

ซึ่งการวินิจฉัยนั้นจะต้องมีการสัมภาษณ์ การใช้เครื่องมือสำหรับประเมินจิตใจ เพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรควิตกกังวลหรือไม่

วิธีรักษาโรควิตกกังวล

สำหรับวิธีรักษาโรควิตกกังวลสามารถที่จะรักษาไปได้ตามอาการ โดยแบ่งวิธีรักษาได้ดังนี้

1.รักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy) ซึ่งจะใช้การรักษาเพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในการหาแนวทางเพื่อการดูแลและรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น

2.รักษาด้วยการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-Behavioral Therapy) เป็นการใช้วิธีรักษาด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิด

เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นต้นเหตุทั้งอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งอีกวิธีก็คือ พยายามจัดการกับความเครียด เพื่อช่วยในเรื่องของการบำบัดให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น

3.รักษาด้วยยา ยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในการรักษาจะเป็นยารักษาอาการซึมเศร้า นอกจากนี้ ยังมียาระงับอาการวิตกกังวลโดยเฉพาะ

แต่ก็ยังมียาแบบอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ก็ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการรักษาอาการโดยเบื้องต้น

4.บำบัดด้วยการออกกำลังกาย ผู้ป่วยบางรายก็อาจจะใช้วิธีออกกำลังกายเพื่อช่วยบรรเทาอาการ

ซึ่งก็เป็นผลลัพธ์การรักษาตามหลักธรรมชาติที่ได้ผลดีเช่นกัน ที่สำคัญยังทำให้สุขภาพจิตใจและร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

วิธีป้องกันโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลเป็นโรคที่เกิดจากความคิด เพราะฉะนั้นแล้ว ทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันโรควิตกกังวลไม่ให้แสดงอาการมากไปกว่านี้ได้นั้น

ก็ควรที่จะเริ่มจากการสร้างความผ่อนคลายให้แก่ร่างกายและไม่ควรปล่อยตัวให้เครียดมากจนเกินไป

หากใครไม่สามารถที่จะจัดการได้ก็ควรที่จะต้องปรึกษาจิตแพทย์ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยได้อย่างแน่นอน

ก็คือ การพยายามสังเกตสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรือเหตุกระตุ้นทำให้เกิดโรควิตกกังวลตามมานั่นเอง

นอกจากนี้แล้ว การหมั่นดูแลสุขภาพในเบื้องต้นอย่างการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ

หากมีเรื่องไม่สบายใจก็ควรระบายบอกแก่คนใกล้ชิดบ้าง ไม่ควรเก็บปัญหาเอาไว้ในใจเพียงลำพัง

การมีที่ปรึกษายามกังวลใจย่อมทำให้สภาพจิตใจดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรควิตกกังวลได้อย่างแน่นอน

Credit : laguiadelasvitaminas.com

โรควิตกกังวล อาจจะไม่ใช่โรคที่เกิดจากร่างกายโดยตรง แต่ทางนี้เกิดได้จากความคิด

ทางที่ดีก็ควรที่จะต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรควิตกกังวลหรือถ้าใครเป็นแล้วในที่นี้ก็ควรที่จะต้องพยายามรักษาอยู่ตลอด

เพราะสามารถที่จะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ หากว่าพบว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่เบื้องต้นควรที่จะต้องรีบรักษา

เพื่อที่จะทำให้โรควิตกกังวลนั้นหายขาดไปได้ แต่ถ้าหากว่าปล่อยเอาไว้ก็อาจจะเป็นปัญหาทำให้การรักษาเป็นไปได้ยาก