โรคสมองฝ่อในผู้สูงอายุ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาป้องกันก่อนสาย!

โรคสมองฝ่อในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ หลายคนมักจะมีปัญหาเรื่องความจำ เป็นอาการที่สมองเริ่มเสื่อมสภาพลง อันเกิดจาก โรคสมองฝ่อในผู้สูงอายุ

ซึ่งพบได้บ่อยใน ผู้สูงอายุที่มีอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไป โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นเกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย

รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป วันนี้เราลองมาทำความรู้จักกับโรคสมองฝ่อในผู้สูงอายุกันดีกว่า

โรคสมองฝ่อ คืออะไร?

โรคสมองฝ่อนั้น หมายถึงเนื้อสมองนั้นได้หายไปบางส่วน แต่โดยปกติแล้วจะพบมากในผู้สูงอายุ แต่ไม่ได้เกิดจากความเสื่อมหรือความชราเสมอไป

เซลล์ในสมองมนุษย์

สมองของมนุษย์มีเซลล์ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างเป็นพิเศษ ที่เรียกว่า เซลล์ประสาท มีประมาณ 140,000 ล้านเซลล์

แต่ละเซลล์ก็มีการเชื่อมติดกันเหมือนกับกิ่งก้านของต้นไม้ ซึ่งมีสาขาเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทอื่น ๆ มากถึง 15,000 จุดเชื่อมต่อ

ซึ่งการติดต่อของเซลล์ประสาทนั้น จะสร้างกระแสไฟฟ้าหรือสารเคมี เพื่อส่งสัญญาณจากสารประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาทหนึ่งทั่วสมอง

อาการของโรคสมองฝ่อ

1.เริ่มต้นของอาการด้วยการลืมสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ซึ่งต่อมาจะส่งผลกระทบในด้านการรับรู้ การเข้าใจ และเหตุผล

ทำให้ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นรอบตัว และในกรณีที่อาการหนักจะทำให้บุคลิกภาพของผู้สูงอายุเสียไป

2.ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขน และขา ทำให้เคลื่อนไหวตัวลำบาก

3.ในกรณีที่เกิดสมองฝ่อแล้วไม่มีอาการอะไรผิดปกติ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ต้องกังวลมากจนเกินไป ยกเว้นแต่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

ไม่ว่าจะเป็นความจำเสื่อม หลงลืม มีอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนไป เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ทำให้ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง

ถ้ามีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยถือว่าเป็นอาการทางสมอง ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

4.มีอาการขี้หลงขี้ลืม ซึ่งเรื่องนี้ต้องสังเกตให้ดี เพราะอาการนี้เกิดขึ้นกับคนแก่เกือบทุกคน แม้แต่กับคนในวัยกลางคน

และส่วนมากก็ไม่ใช่อาการของอัลไซเมอร์ แต่เป็นเรื่องปกติซึ่งมีเรื่องราวมากมายให้ต้องขบคิด ดังนั้นจึงทำให้หลงลืมง่ายเป็นธรรมดา

แต่สิ่งถ้าหากหลงลืมสิ่งเพิ่งจะเกิดขึ้น เช่น กินข้าวเสร็จแล้ว แต่บอกว่ายังไม่ได้กิน สติปัญญาลดลง

รวมถึงมีพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เปลี่ยนไป สิ่งนี้อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคสมองฝ่อในผู้สูงอายุ

การรักษาโรคสมองฝ่อในผู้สูงอายุ

1.สำหรับการรักษาโรคสมองฝ่อนั้น จะมีบางอาการที่สามารถแก้ไขได้ เช่น สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงในระยะเริ่มต้น

หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีแล้วละก็ จะสามารถป้องกันโรคสมองฝ่อได้ รวมถึงการรับประทานยาบางชนิด

เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ก็ล้วนแต่ทำให้เกิดอาการสมองฝ่อได้ ดังนั้นจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานยาดังกล่าว

2.ในส่วนของโรคสมองฝ่อที่เกิดขึ้นแล้วไม่ทราบสาเหตุนั้น จำเป็นต้องรักษาไปตามอาการ

3.การรักษาด้วยวิธีการทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมคือ หลักการ 5 อ. ซึ่งได้แก่อาหารดี ออกกำลังกาย อากาศดี อุจจาระดี อารมณ์ดี

การพยากรณ์โรค

ในการพยากรณ์โรคสมองเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคด้วย ซึ่งในกลุ่มของผู้ป่วยที่เกิดจากโรคสามารถรักษาที่ต้นเหตุได้

จะมีการพยากรณ์โรคดีมาก ในส่วนใหญ่ของกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาไม่หายนั้น จะมีการดำเนินการรักษาต่อ

เพื่อให้อาการของโรคลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งการรักษาโดยใช้ยานั้น มักจะช่วยประทังอาการของโรคเท่านั้น

แต่การรักษาตามอาการของโรคจะมีประสิทธิภาพอย่างมาก รวมถึงการดูแลผู้ป่วย และการยอมรับของญาติ

เป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการพยากรณ์ของโรคในระยะยาว ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอายุยืนยาวใกล้เคียงกับคนปกติ

5 พฤติกรรมทำให้สมองฝ่อ

1.ไม่ทานอาหารเช้า

การไม่ทานอาหารเช้า นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว มันยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมองเสื่อม เพราะไม่มีสารอาหารไปเลี้ยงสมองที่เพียงพอนั่นเอง

2.ดื่มน้ำน้อย

การดื่มน้ำน้อย จะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งส่งผลเสียโดยตรงต่อสมอง ที่ต้องอาศัยน้ำในการทำงาน

เพราะสมองประกอบด้วยน้ำอยู่มากถึง 85% เมื่อเราปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ เซลล์สมองก็จะตายลงได้ง่าย

จึงทำให้สมองเฉื่อยช้าลง และนำมาซึ่งอาการสมองเสื่อม หรือเกิดปัญหาขี้หลงขี้ลืมได้ง่ายนั่นเอง

ดังนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 8 – 10 แก้วเป็นประจำจะดีกว่า

3.กินแป้งและน้ำตาลมากเกินพอดี

พฤติกรรมการทานแบบนี้ จะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมของโปรตีน และสารอาหารที่เป็นประโยชน์

ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารแถมยังขัดขวางการทำงานของสมองอีกด้วย

4.สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

ในบุหรี่นั้นเต็มไปด้วยสารพิษมากกว่า 200 ชนิด แถมบุหรี่ยังทำให้การเลือดเวียนของเลือดติดขัด

ซึ่งมันส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของสมอง เพราะทำให้สมองขาดเลือดหรือมีเลือดไปเลี้ยงน้อยนั้นเอง

ทำให้สมองเสื่อมได้ง่าย แถมแอลกอฮอล์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ แถมยังเป็นพิษต่อร่างกายทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทำงานผิดปกติ

5.เครียดตลอดเวลา

การที่คุณปล่อยให้ร่างกายเกิดความเครียดอยู่ตลอดเวลานั้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา

ซึ่งส่งผลร้ายต่อร่างกายและสมอง ส่งผลทำให้สมองตีบตัน และความจำเสื่อม ดังนั้นการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ

ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดอาการสมองเสื่อม แถมยังทำให้มีความสุขเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

Credit : jcaaa.org

โรคสมองฝ่อในผู้สูงอายุ จัดว่าเป็นโรคที่น่ากลัว เพราะมันส่งผลต่อระบบความจำ รวมถึงอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

แถมยังอาจส่งผลต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็น อาการอัมพาต ทำให้ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง

ดังนั้น การดูแลตัวเองด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้สมองฝ่อ จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด