โรคหลงผิด ภัยเงียบคุกคามสุขภาพจิตผู้ป่วยและคนใกล้ชิด

โรคหลงผิด

โรคหลงผิด เป็นหนึ่งในโรคของกลุ่มโรคจิต เมื่อเป็นโรคนี้สังเกตได้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการที่โดดเด่นคือ

มีความเชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งไม่สามารถที่จะแก้ไขความเชื่อผิดๆ ในด้านนั้นได้ จนกระทั่งก่อให้เกิดปัญหากับชีวิต

มีปัญหาต่อคนรอบข้าง ครอบครัว ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือแม้แต่ผู้ป่วยเองเกิดความเครียดและความกดดันอย่างมากทีเดียว

วันนี้เราจึงจะพาคุณมาทำความรู้จักกับโรคนี้มากยิ่งขึ้น โรคหลงผิด คืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไร? ไปดูกันเลยค่ะ

โรคหลงผิด คืออะไร?

โรคหลงผิด (delusional disorder) คือโรคอีกหนึ่งชนิดในกลุ่ม โรคจิต (psychotic disorders) ซึ่งก่อนหน้านี้โรคนี้ถูกเรียกว่า

โรคหวาดระแวง (Paranoid disorder) เป็นโรคที่เมื่อผู้ป่วยเป็นแล้ว มักจะเชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงและยังไม่สามารถที่จะแก้ไขอะไรได้

เพราะฉะนั้น นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเครียดตามมา ทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนในครอบครัว

อย่างไรก็ตาม โรคหลงผิดถือเป็นโรคที่อาจจะไม่ได้พบได้บ่อยทั่วไป เพราะบางคนเมื่อเป็นโรคนี้แล้วก็อาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าตนเองเป็นโรคดังกล่าว

สาเหตุของโรคหลงผิด

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลงผิด ยังไม่สามารถที่จะระบุได้อย่างชัดเจน หากก็ยังมีสาเหตุร่วมที่สามารถจำแนกออกมาได้ดังนี้

1.กรรมพันธุ์ กรรมพันธุ์อาจเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งผลได้เช่นเดียวกัน แต่ยังไม่ใช่สาเหตุที่เด่นชัดไปกว่าสาเหตุอื่นๆ

2.สภาพแวดล้อม หากที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานเกิดความรู้สึกที่ทำให้กดดัน หดหู่ หรือเครียด ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรควิตกกังวลได้

3.โรค โรควิตกกังวลสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ อันเนื่องจากโรคทั่วไปทางร่างกาย เช่น โรคเนื้องอกในสมอง โรคสมองเสื่อม

ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่สามารถส่งผลในเรื่องของความเครียด จนทำให้เกิดเป็นความวิตกกังวลตามมา

เหล่านี้ถือเป็นแค่ปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุร่วมของโรคเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่อยู่

รวมถึงสุขภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง ก็สามารถที่จะส่งผลทำให้เกิดการเป็นโรควิตกกังวลได้เช่นเดียวกัน

ประเภทของโรคหลงผิด

โรคหลงผิดสามารถแบ่งประเภทออกไปตามแต่ละอาการของบุคคลได้ โดยแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้

1.หลงผิดว่าคนอื่นรักตน (Erotomanic type) คือ โรคหลงผิดที่คิดว่าตัวเองนั้นสำคัญ และคิดว่ามีคนมาหลงรัก

2.หลงผิดว่านอกใจ (Jealous type) คือ โรคหลงผิดที่คิดว่าคนรัก หรือคู่ครองนั้น นอกใจไปมีคนอื่นหรือแอบมีชู้

3.หลงผิดว่าเหนือมนุษย์ (Grandiose type) คือ โรคหลงผิดที่คิดว่าตัวเองมีความสามารถเหนือมนุษย์

ไม่ว่าจะเป็นการคิดว่าตัวเองนั้นหยั่งรู้ โดยบางรายอาจจะคิดว่าตัวเองเป็นญาติกับบุคคลสำคัญก็ได้เช่นเดียวกัน

4.หลงผิดว่าร่างกายแปลก (Somatic type) คือ โรคหลงผิดที่คิดว่าตนเองนั้นมีร่างกายที่ผิดปกติ หรือมีอวัยวะผิดรูปแบบ

และสำหรับบางรายอาจจะคิดว่าอวัยวะบางส่วนไม่สามารถที่จะใช้งานตามปกติได้ จึงอาจจะพยายามทำร้ายร่างกายตัวเอง

5.หลงผิดว่าโดนลอบทำร้าย (Persecutory type) คือ โรคหลงผิดที่คิดว่าตนเองกำลังถูกลอบทำร้าย สะกดรอยตาม หรืออาจคิดว่ากำลังจะโดนวางยาพิษ

อาการของโรคหลงผิด

อาการของผู้ป่วยโรคหลงผิดนั้น ต้องบอกเลยว่าเหมือนคนทั่วไปตามปกติ เพราะโรคหลงผิดเป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นทางความคิด

ดังนั้น จึงไม่มีการแสดงอาการแปลกๆ ออกมา ไม่ว่าจะเป็นอาการของการหูแว่ว พูดจาไม่รู้เรื่อง ซึ่งเป็นอาการโรคจิตประเภทอื่นๆ

ที่ไม่ใช่อาการวิตกกังวล ผู้ป่วยโรคหลงผิดจึงยังคงสามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรค

นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลงผิด ยังมีความเกี่ยวข้องกันกับความคิด โดยเป็นความผิดปกติของระบบประสาทอย่างหนึ่ง

ซึ่งมักจะเชื่อโดยที่ไม่มีเหตุผล และเชื่อในเรื่องที่ผิดๆ โดยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ใดๆ ทั้งสิ้น

ระยะของโรคหลงผิด

โรคหลงผิดสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 40 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่ยังต้องพบเจอปัญหาความเครียดมากกว่าวัยรุ่น

จึงทำให้พบโรคนี้ได้น้อยมากในวัยรุ่น แต่ทั้งนี้ยังสามารถที่จะเป็นได้กับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป

เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน เพราะผู้สูงอายุมักจะมีอาการสมองเสื่อม ซึ่งถือเป็นความผิดปกติจากภายใน

โดยอาจจะเป็นโรคหลงผิดชนิดที่ระแวงเรื่องของคนรักจะไปมีคนอื่น ถึงแม้ว่าจะมีอายุมากแล้วก็ตาม

การวินิจฉัยโรคหลงผิด

การวินิจฉัยโรคหลงผิดนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ประสบการณ์จากจิตแพทย์มากพอสมควรในการวินิจฉัย

เพราะยังมีอีกหลายโรคในกลุ่มโรคจิตเวชที่มีอาการคล้ายกัน ในขณะที่บางรายอาจจะมีปัญหาเป็นแค่อาการวิตกกังวลทั่วไป

วิธีรักษาโรคหลงผิด

วิธีการรักษาโรคหลงผิดนั้น จิตแพทย์เองก็มีวิธีมากมายที่จะใช้เพื่อการรักษา โดยมีวิธีดังนี้

1.การสร้างสัมพันธ์ สำหรับการรักษาโรคหลงผิด การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยในรูปแบบของเพื่อนหรือคนสนิท

จัดเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการแรกที่จะเริ่มทำให้ผู้ป่วยเปิดใจยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคหลงผิดได้ง่ายดายขึ้น

2.การใช้ยา โดยจะใช้ยา antipsychotic เป็นยาระงับประสาท ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการรักษาอาการ ไม่ว่าจะเป็นอาการวิตกจริตหรืออารมณ์ฉุนเฉียว

สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจจะมีปัญหาในเรื่องการนอนหลับ เพราะฉะนั้นการเลือกใช้ยาชนิดนี้จะช่วยรักษาอาการได้ดีขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

3.การใช้ครอบครัวบำบัด การใช้ครอบครัวบำบัด (Family therapy) เป็นการช่วยให้คนในครอบครัวเข้าใจผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

โดยจะช่วยให้เกิดการเปิดใจยอมรับผู้ป่วย เมื่อคนในครอบครัวยอมรับผู้ป่วยได้ ก็จะสามารถช่วยพัฒนาจิตใจของผู้ป่วยให้ดีมากขึ้น ซึ่งนับเป็นเรื่องง่ายต่อการรักษาอีกด้วย

แม้จะได้รับการรักษาไปตามวิธีดังกล่าวก็ตาม ผู้ป่วยเองก็ควรที่จะต้องมีการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะรักษาอาการให้หายขาดแท้จริง

วิธีป้องกันโรคหลงผิด

วิธีป้องกันโรคหลงผิด ยังไม่มีวิธีป้องกันที่แน่นอนชัดเจน หากก็ยังพอมีบางวิธีที่ถือเป็นตัวช่วยในการป้องกันได้บ้าง ได้แก่

  • พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
  • เมื่อมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์
  • พยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยควรออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ

วิธีเหล่านี้จะช่วยหลีกเลี่ยงและป้องกันการเป็นโรคหลงผิดได้ แต่ทางที่ดีควรที่จะทำความเข้าใจกับสาเหตุ

เพื่อที่จะหาวิธีหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะไม่ควรปล่อยให้ตัวเองจมจ่อมอยู่แต่กับปัญหาต่างๆ ควรหาทางแก้ หากแก้ไม่ได้คนเดียว

ก็จะต้องปรึกษาผู้ที่มีความเกี่ยวข้องหรือคนอื่นๆ ให้ร่วมกันช่วยเหลือให้คำแนะนำ ก็จะช่วยคลายความเครียดและความวิตกลงได้

โรคหลงผิด

Credit : Clipmass.com

โรคหลงผิด เป็นโรคที่นับว่าอยู่ใกล้ตัวคนเราอย่างมาก แม้ไม่ใช่โรคที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร้ายแรง

แต่การที่ผู้ป่วยเครียด วิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาหรือเข้าใจความเชื่อผิดๆ ก็อาจทำให้เกิดการทำร้ายตนเองตามมาได้

เพราะฉะนั้น แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่อาจรู้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคหลงผิด แต่หากคนรอบตัวสังเกตพบความผิดปกติก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ

ควรพูดคุยกับผู้ป่วยและพาผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์บ้างก็จะช่วยแก้ไขอาการทางจิตให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้แล้วค่ะ