โรคไวรัสตับอักเสบบี ภัยเงียบตัวร้ายที่มักไม่แสดงตัว !

ไวรัสตับอักเสบบี อาการ pantip

โรคไวรัสตับอักเสบบี สำหรับสาวๆ แล้ว ดูเหมือนจะเป็นโรคที่อยู่ไกลตัวเสียเหลือเกินจริงหรือไม่คะ?

แต่ทราบหรือไม่ว่า ไวรัสชนิดนี้ถูกพบได้เป็นจำนวนมากในประเทศไทย

โดยสิ่งที่น่ากลัวคือผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมาให้เห็น คนที่ไม่ได้ตรวจสุขภาพอย่างละเอียด

ก็แทบจะไม่ปรากฏอาการ ไม่สามารถทราบได้เลยว่าตัวเองเคยป่วยเป็นโรคนี้มาก่อนจนกว่าจะได้รับการตรวจเลือด

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจแบบอ้อมๆ เพื่อหาโรคอื่น หรือจะเป็นการตรวจเลือดจากการไปบริจาคโลหิตนั่นเอง

ซึ่งการปล่อยให้เชื้อไวรัสนี้อยู่ในร่างกายเป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา

จะทำให้กลายเป็นโรคที่มีความร้ายแรงตามมาในอนาคต สาวๆ ที่ไม่รู้ถึงความรุนแรงของโรคนี้มาก่อน

อาจจะต้องหันมาทำความเข้าใจและดูแลสุขภาพของตัวเองเสียใหม่

เพื่อจะได้ป้องกันอันตรายที่จะไปส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญภายในจนยากเกินเยียวยาเอาได้

โรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคติดต่อหรือไม่ ?

อันตรายจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือการที่เชื้อสามารถติดต่อได้ผ่านทางของเหลวภายในร่างกาย

ไม่ว่าจะเป็น เลือด น้ำเชื้อ น้ำเหลือง ซึ่งสามารถสัมผัสได้จากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่สวมถุงยาง

การจูบกันจะติดต่อได้หากมีแผลบริเวณปากและภายในปาก ใช้เข็มสักแท่งเดิมร่วมกัน การเจาะหู

การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การใช้มีดโกน ที่ตัดเล็บ และแปรงสีฟัน ในกรณีที่แม่มีเชื้อไวรัส

จะสามารถแพร่กระจายไปยังลูกน้อยได้ในขณะคลอด โอกาสที่เด็กจะรับเชื้อมีสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์

และในกรณีที่แม่ให้นมบุตรกิน ก็เป็นการส่งผ่านเชื้อเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบในกลุ่มผู้ป่วยรักร่วมเพศที่มีเชื้ออยู่

การสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วยในขณะที่มีบาดแผล แต่เชื้อจะไม่สามารถติดต่อได้ผ่านทางอาหาร น้ำดื่ม และทางลมหายใจ

โรคไวรัสตับอักเสบบี อาการที่เกิดขึ้น

อาการของผู้ป่วยจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ภายหลังจากการได้รับเชื้อแล้วประมาณ 45-90 วัน

แต่บางรายก็อาจนานมาถึง 180 วัน กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ซึ่งจะน้อยมากจนแทบจะไม่มีอาการปรากฏให้เห็น

ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักจะมาทราบเอาภายหลังว่าตัวเองติดเชื้อจากการตรวจเลือด หรือไปบริจาคโลหิต

กลุ่มต่อมาคือกลุ่มที่มีอาการชัดเจน จะมีไข้ต่ำ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ตาเหลืองตัวเหลือง

ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม โดยอาการตัวเหลืองตาเหลืองจะสามารถหายไปได้เองภายในไม่กี่อาทิตย์

หรืออาจจะนานหลายเดือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพและการดูแลตัวเองของผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก

มักจะทำให้สุขภาพทรุดลงอย่างรดเร็ว มีภาวะดีซ่าน ซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว ตับมีขนาดเล็กลง

ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคตับวายได้สูง การรักษาในผู้ป่วยที่มีอาการหนักแล้วยังทำได้ยาก

นอกจากจะใช้การเปลี่ยนตับ ที่มักจะนำมาซึ่งปัญหาอื่นอีกเป็นจำนวนมาก หากเกิดภาวะตับวายขึ้นแล้ว

จะทำให้สมดุลภายในร่างกายเสียหาย เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม สมองบวม

เลือดออกในทางเดินอาหาร ติดเชื้อได้ง่าย และมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำลงอย่างรวดเร็ว

การแบ่งประเภทของโรคไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ แบบเฉียบพลัน

คือจะเป็นแล้วสามารถหายได้ภายในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน และผู้ป่วยที่เป็นแบบเรื้อรัง มักจะมีอาการยาวนานมากกว่า 6 เดือน

ชนิดที่เป็นแบบเฉียบพลัน หลังจากได้รับเชื้อแล้วภายใน 2-3 เดือน จะเริ่มปรากฏอาการขึ้น

และภายหลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์จะเกิดภาวะตับอักเสบ จนทำให้เกิดอาการตัวเหลืองตาเหลือง

หลังจากตรวจเลือดจะพบการทำงานของค่าตับที่สูงกว่าปกติ แต่อาการจะสามารถดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์

และร่างกายจะทำการสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองขึ้นมา โดยส่วนใหญ่จะไม่กลับมาเป็นโรคนี้อีกเลย

ส่วนในกรณีผู้ป่วยที่เป็นแล้ว ภูมิคุ้มกันไม่สามารถจัดการกับเชื้อเหล่านั้นได้

จะทำให้กลายเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรัง ที่จะนำไปสู่โรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับต่อไปได้

ต้องดูแลสุขภาพอย่างไรภายหลังที่ทราบว่าตัวเองได้รับเชื้อแล้ว ?

ผู้ป่วยที่พบเชื้อไวรัสอยู่ในตัว แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาภูมิต้านทานของผู้ป่วย ดูค่าการทำงานของตับ

ค่าสารมะเร็ง ตรวจอัลตราซาวน์เพื่อดูรูปร่างและพื้นผิวของตับว่าได้รับความเสียหายไปมากแค่ไหน

การดูแลตัวเองของผู้ป่วยในชนิดเฉียบพลัน จะต้องรักษาสุขภาพให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอ

กินอาหารที่มีประโยชน์ ไม่นานก็จะหายเป็นปกติได้ แต่ในกลุ่มที่เป็นชนิดเรื้อรัง

จะต้องทราบถึงระยะดำเนินของโรค รายละเอียดที่ได้รับเชื้อ เพื่อให้แพทย์วางแผนในการรักษาระยะยาว

โดยการรักษาจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน มีทั้งคนที่ต้องได้รับยาและไม่ต้องได้รับยา

เพียงแค่จะใช้การติดตามผลการทำงานของตับอย่างต่อเนื่องทุกปี

แต่การใช้ยาจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีภาวะตับอักเสบเรื้อรังร่วมด้วยจะช่วยให้อาการดังกล่าวให้ไปเป็นปกติในระยะเวลาไม่นาน

เป็นตัวช่วยป้องกันโรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับในอนาคตได้ด้วย

ไวรัส ตับ อักเสบ บี อาการ
Photo Credit : carrington.edu

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี มีการพัฒนาที่ดีขึ้นมากในด้านการรักษา

ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะการรักษาตัวจะต้องหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น

ด้วยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่

ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี ก็จะช่วยลดการแพร่กระจายของโรคและช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้มากขึ้น