โรคกลัวการอยู่คนเดียวของคนวัย 40 up รับมืออย่างไรให้เข้าสู่วัยเกษียณอย่างอุ่นใจ

autophobia โรคกลัวการอยู่คนเดียว

โรคกลัวการอยู่คนเดียว เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 40-50 ปี ที่จะต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ช่วงวัยเกษียณ

ซึ่งมีความเสี่ยงในการเป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียวค่อนข้างสูง ดังนั้น เรามาทำความรู้จัก เข้าใจและรับมือกับโรคกลัวการอยู่คนเดียวของคนวัยนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า

จะได้ไม่เป็นที่กังวลเมื่อใกล้จะเกษียณ์ไปแล้วว่าจะต้องทำตัวอย่างไร เพื่อไม่ให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่หรืออยู่อย่างเป็นทุกข์กังวลนั่นเอง

โรคกลัวการอยู่คนเดียว คืออะไร?

โรคกลัวการอยู่คนเดียว (autophobia) คือ โรคที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มคนที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป โดยเป็นโรคที่กลัวในการที่จะอยู่คนเดียว

เพราะมีความคิดว่าจะถูกลืม ถูกละเลย จนทำให้ต้องอยู่เพียงแค่คนเดียว ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลทำให้เกิดการเข้าสังคมได้ลำบาก

เพราะมักจะเกิดความกลัวที่จะต้องอยู่คนเดียวบ่อยครั้ง จนทำให้ต้องมีเพื่อนอยู่ด้วยตลอดเวลา ซึ่งอาจจะสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่นได้มาก

สาเหตุของโรคกลัวการอยู่คนเดียว

สำหรับสาเหตุของโรคกลัวการอยู่คนเดียวที่มีอายุมากกว่า 40-50 ปีขึ้นไป สามารถที่จะเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ

แต่สำหรับหลายๆ รายก็สามารถที่จะเป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียวได้แบบไม่มีเหตุผล แต่สำหรับบางรายก็อาจจะมีสาเหตุที่ชัดเจน ดังนี้

คนรัก : สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป คนรักสามารถเป็นสาเหตุของโรคกลัวการอยู่คนเดียวได้

เพราะอาจจะพบเจอเหตุการณ์ที่รุนแรงและมีความเกี่ยวข้องกับคนรัก เช่น การเลิกราหรือการถูกขอหย่า รวมถึงการเสียชีวิตของคนรัก

ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับคนที่มีอายุมากได้ง่าย และเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการกระตุ้นโรคได้อย่างชัดเจน

การงาน : อายุ 40-50 ปี เป็นช่วงที่เตรียมตัวในการเกษียณ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบได้ง่าย เนื่องจากจะไม่ได้อยู่ในสังคมสำหรับการทำงานเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไปแล้ว

ทำให้มีความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว และที่สำคัญกลัวที่จะถูกลืม จึงทำให้คนวัยนี้มีความกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอยู่คนเดียว

หลังจากนั้นจะเริ่มประพฤติตัวแปลกๆ จากสาเหตุของโรคกลัวการอยู่คนเดียวที่มีความเกี่ยวข้องกับการงาน

ครอบครัว : เป็นสาเหตุที่มีความคล้ายคลึงกับสาเหตุที่เกิดจากคนรัก เพราะผู้ป่วยกลัวที่จะเกิดการสูญเสีย

ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเหมือนถูกทิ้งให้อยู่คนเดียวเพียงลำพัง หรือกลัวคนในครอบครัวจะให้ความสำคัญไม่เหมือนเดิม เมื่อแก่ตัวลง

ซึ่งถือเป็นความกังวลล่วงหน้าที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้บ่อยครั้ง จึงมักจะทำตัวแปลกแยกอยู่สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสูญเสีย

พันธุกรรม : ผู้ป่วยหลายรายสามารถที่จะเป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียวได้จากการส่งต่อทางพันธุกรรม โดยบางรายอาจจะไม่ได้แสดงออกที่เกี่ยวกับโรคโดยทันที

แต่อาจจะมาแสดงในช่วงอายุ 40-50 ปี เนื่องจากมีปัจจัยในการกระตุ้นหลายด้าน เช่น การงาน การเงิน

อาการของโรคกลัวการอยู่คนเดียว

อาการของโรคกลัวการอยู่คนเดียว เป็นอาการที่มักจะถูกแสดงออกโดยอัตโนมัติ และที่สำคัญผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอาการเหล่านั้นได้

เนื่องจากอาการจะถูกแสดงออกผ่านทางความคิด เพื่อที่ผู้ป่วยจะหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น

แต่อาการที่แสดงออกเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับตัวเองจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้มากกว่า โดยอาการที่ว่ามี ดังนี้

  • กลัวความล้มเหลว
  • กลัวความเงียบ
  • กลัวการอยู่คนเดียว
  • เครียดเมื่อต้องอยู่คนเดียว
  • กลัวสูญเสียความเป็นตัวเอง
  • มีความคิดที่ไร้เหตุผล
  • โกรธแบบไม่มีเหตุผล
  • หงุดหงิดง่าย

แต่อาการเบื้องต้นที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นอาการที่จะแสดงผ่านทางความคิด ซึ่งมีเพียงผู้ป่วยเท่านั้นที่จะรู้ได้

โดยที่คนภายนอกไม่สามารถที่จะสังเกตสิ่งเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยังมีการแสดงออกของอาการทางร่างกาย ซึ่งสามารถที่จะสังเกตได้อยู่บ้าง ดังนี้

  • เหงื่อตก
  • สะบัดร้อนสะบัดหนาว
  • คลื่นไส้
  • ตัวสั่น
  • ปากแห้ง
  • มึนงง
  • อัตราการเต้นของหัวใจมีจังหวะรวดเร็ว

การวินิจฉัยโรคกลัวการอยู่คนเดียว

การวินิจฉัยโรคกลัวการอยู่คนเดียวผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หรือแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อที่จะช่วยในการรักษา โดยการวินิจฉัยนั้นจะมีวิธีดังนี้

  • การสอบถามประวัติของผู้ป่วย
  • การสอบถามประวัติการรักษา
  • การสอบถามประวัติการใช้ยา
  • การทดสอบทางด้านจิตวิทยา (ถามเกี่ยวกับความรู้สึกต่อกิจกรรมต่างๆ)

วิธีรักษาโรคกลัวการอยู่คนเดียว

โรคกลัวการอยู่คนเดียวสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าหากผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษา และยอมรับเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ โดยจะมีวิธีรักษาดังนี้

1.การรักษาแบบ CBT

เป็นการรักษาที่ให้ผู้ป่วยเผชิญกับความกลัวโดยตรง แต่จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยนั้นสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่แสดงออกได้ รวมถึงช่วยรักษาผู้ป่วยให้สามารถที่จะยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

2.การรักษาด้วยยา

แพทย์จะสั่งจ่ายยาควบคู่ไปพร้อมกับการบำบัด โดยยาที่แพทย์แนะนำให้ใช้คือ ยาต้านภาวะซึมเศร้า และยาต้านความวิตกกังวล แต่ควรจะได้รับในปริมาณตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

การดูแลผู้ป่วยโรคกลัวการอยู่คนเดียว

สำหรับผู้ที่มีคนในครอบครัวอายุ 40 ปีขึ้นไปตลอดจนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียว สามารถที่จะช่วยในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้

นอกจากการพาไปพบแพทย์แล้วการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างก็สามารถที่จะช่วยรักษาได้เช่นกัน ซึ่งก็มีดังนี้

การฝึกให้อยู่เพียงลำพัง : การฝึกให้อยู่เพียงลำพังสามารถที่จะช่วยรักษาผู้ป่วยให้สามารถเอาชนะโรคกลัวการอยู่คนเดียวได้

โดยอาจจะให้ผู้ป่วยอยู่เพียงลำพังและไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ เป็นระยะเวลา 15 นาทีต่อวัน

การหากิจกรรมทำ : ควรที่จะให้ผู้ป่วยได้ลองทำกิจกรรมอื่นๆ แต่ควรจะต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยได้เลือกเอง

เพื่อที่จะลดความกลัวและความกังวล เมื่อจะต้องทำกิจกรรมเพียงแค่คนเดียว แต่แนะนำว่าควรที่จะต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างคุณค่าให้กับผู้ป่วยได้

การสร้างความเชื่อมั่น : ผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาโรคกลัวการอยู่คนเดียว เป็นเพราะความไม่มั่นใจในตนเอง

เพราะฉะนั้นควรที่จะฝึกให้ผู้ป่วยรู้จักสร้างความมั่นใจในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์

หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนพฤติกรรมความคิด ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าในตัวเองและมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

การทำสมาธิ : การทำสมาธิจะช่วยทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและลดความเครียดได้ ซึ่งความเครียดถือเป็นปัจจัยที่กระตุ้น

ทำให้เกิดโรคกลัวการอยู่คนเดียว ดังนั้นควรที่จะทำสมาธิอย่างน้อยวันละ 15 นาที

การออกกำลังกาย : สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียว การออกกำลังกายสามารถที่จะช่วยรักษาโรคกลัวการอยู่คนเดียวได้

เนื่องจากร่างกายจะหลั่งสารเคมีออกมาทำให้ลดความเครียดที่เกิดขึ้น แต่ควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับช่วงอายุ 40-50 ปี เช่น การว่ายน้ำ การเดิน หรือการเล่นโยคะ

การออกไปพบปะผู้คน : เพื่อเป็นการลดความกลัวเกี่ยวกับโรคกลัวการอยู่คนเดียวให้กับผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป

แนะนำว่าควรที่จะพาบุคคลเหล่านี้ออกไปพบเจอหรือสังสรรค์กับเพื่อนบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รู้ว่าไม่ได้อยู่เพียงแค่คนเดียวในสังคม

การพาไปเที่ยว : การพาไปเที่ยวจะช่วยทำให้ผู้ป่วยนั้นลดความเครียดและความกังวล รวมถึงยังเป็นการได้ไปพบเจอกับผู้คนใหม่ๆ

แต่แนะนำว่าในการพาไปเที่ยวควรที่จะต้องเป็นสถานที่ที่ผู้ป่วยเลือกเอง เพื่อเป็นการไม่กดดันผู้ป่วยมากจนเกินไป

ซึ่งการได้ออกไปพบเจอบรรยากาศใหม่ๆ สิ่งสวยงามใหม่ๆ ที่ผู้ป่วยชื่นชอบจะสร้างความรู้สึกดีๆ

ทำให้ประทับใจ มีความสุขกับชีวิตมากขึ้น จนเกิดเป็นความภูมิใจ ก็จะช่วยลดความเครียดลงได้มากนั่นเอง

การพูดคุย : การพูดคุยควรที่จะให้ผู้ป่วยได้พูดคุยในเรื่องของความกังวลเกี่ยวกับการกลัวความอยู่คนเดียว ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นมุมมอง

หรือความคิดของผู้ป่วยได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ยังเป็นการทำให้ผู้ป่วยได้ระบายความเครียดและความกังวลลงได้อีกด้วย

วิธีป้องกันโรคกลัวการอยู่คนเดียว

อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคกลัวการอยู่คนเดียวขึ้นอยู่กับปัจจัยโดยรอบที่สามารถส่งผล ดังนั้น หากผู้ป่วยสามารถที่จะยอมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

ก็สามารถที่จะก้าวข้ามผ่านสิ่งที่กลัวไปได้ แต่ทางที่ดีควรที่จะเรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียด เพื่อลดการกระตุ้นการทำให้เกิดโรคกลัวการอยู่คนเดียวลงได้

Credit : blog.amara-chiwin.com

โรคกลัวการอยู่คนเดียว อาจจะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายๆ คนกังวล และยังสามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้เพียงแค่มีวินัยในการรักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

เพียงเท่านี้ก็จะช่วยแก้ปัญหาหรือบรรเทาอาการของโรคกลัวการอยู่คนเดียวในยามที่อายุมากขึ้นได้แล้ว โดยเฉพาะคนวัย 40 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้สูงอายุ