ตาพร่ามัว มองไม่ชัด ปวดหัว เห็นภาพซ้อน เกิดจากอะไร?

ตาพร่ามัว มองไม่ชัด ปวดหัว เห็นภาพซ้อน เกิดจากอะไร?

ตาพร่ามัว มองไม่ชัด ปวดหัว เห็นภาพซ้อนเกิดจากอะไร อาการเหล่านี้เชื่อว่าหลายคนเป็นกันไม่น้อย

และหลายคนก็อยากรู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เพื่อจะได้รู้เท่าทันปัจจัยที่ก่อให้เป็น จะได้รับมือป้องกัน

และหาวิธีรักษาต่อไปได้อย่างถูกต้อง บทความนี้เราเลยมีรายละเอียดเกี่ยวกับอาการดังกล่าวมาฝาก ไปติดตามกันเลยค่ะ

โรค Computer Vision Syndrome (CVS)

ตาพร่ามัว มองไม่ชัด ปวดหัว เห็นภาพซ้อน เป็นอาการของโรค Computer Vision Syndrome (CVS)

ซึ่งเกิดจากการที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ประมาณ 2-3 ชั่วโมงติดต่อกัน

และเกิดจากพฤติกรรมการมองจอภาพในระยะใกล้เกินกว่าครึ่งฟุตหรือประมาณ 6 นิ้ว เป็นเวลานาน ๆ

ทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อรอบดวงตากับประสาทตาในลักษณะที่เพ่งจออยู่ตลอด ส่งผลให้เกิดอาการดวงตาตึงเครียด

ตาช้ำ ตาล้า ตาแดง แสบตา ตาพร่ามัว มองภาพไม่ชัดเจน มองเห็นภาพซ้อน ตาฝืดแห้งและมีอาการปวดบริเวณรอบดวงตา

ซึ่งบ่อยครั้งมักจะมีอาการปวดหัว ปวดคอ ปวดไหล่หรือปวดหลังร่วมด้วย โดยความรุนแรงของอาการจะเพิ่มมากขึ้น

ตามระยะเวลาที่ใช้สายตาอยู่หน้าจอ และหากปล่อยอาการทิ้งเอาไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาในระยะยาว

และเสี่ยงต่อโรคดวงตาต่าง ๆ เช่น โรคต้อหิน โรคจอประสาทตาเสื่อม และต้อกระจก

สาเหตุของโรค Computer Vision Syndrome (CVS)

ใช้สายตาจ้องมองหน้าจอติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ

ช่วงเริ่มแรกอาจมีอาการคล้ายกับคนสายตาสั้น

ต้องจ้องมองหน้าจอใกล้ ๆ ต่อมาจะรู้สึกว่าตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน และหากเพ่งหรือจ้องหน้าจอเป็นเวลานานเกินกว่า 6 ชั่วโมง

จะทำให้เกิดอาการปวดกระบอกตา ซึ่งหากยังคงใช้สายตาจ้องไปเรื่อย ๆ อาการจะเริ่มรุนแรงมากขึ้น เช่น วิงเวียน ตามัว มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

ไม่ค่อยกะพริบตา

โดยปกติแล้วคนเราจะกะพริบตอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเกลี่ยน้ำตาให้คลุมผิวตาให้ทั่ว ๆ ซึ่งมีอัตราการกะพริบตา 1 นาที ต่อ 20 ครั้ง

แต่การกะพริบตาจะลดลง หากอ่านหนังสือหรือจ้องหน้าจอคอม ซึ่งการจ้องหน้าจอทำให้การกะพริบตาลดลงมากกว่าร้อยละ 60

ส่งผลให้ผิวตาแห้ง ทำให้เกิดอาการตาแห้ง แสบตา เคืองตา คันตา รู้สึกฝืด ๆ ในตา

และหากเป็นมากจะมีอาการปวดเบ้าตา ตาสู้แสงไม่ได้ มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา และมีอาการตาแดง

แสงจ้าและแสงสะท้อนจากหน้าจอ

เมื่อดวงตาต้องเพ่งหรือจับจ้องอยู่ที่หน้าจอที่มีแสงจ้าหรือแสงสะท้อนเป็นเวลานาน ๆ หรือใช้สมาร์ทโฟนกับคอมพิวเตอร์

ในพื้นที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ จะทำให้กล้ามเนื้อหนังตาเกร็งตัวจนผิดปกติ ซึ่งอาการแรกเริ่มกล้ามเนื้อตาจะกระตุกเกร็งแต่ไม่มาก

ส่งผลให้กะพริบตาถี่ขึ้นกว่าปกติ และหากเป็นมากขึ้นกล้ามเนื้อหนังตาจะเกร็งจนต้องกะพริบตาอย่างแรง ๆ

วิธีรักษาโรค Computer Vision Syndrome (CVS)

1.ใช้ยาหยอดตาชนิดที่ทำมาจากสมุนไพร (itone)

2.ใช้น้ำตาเทียม artificial tear

ทั้งนี้ทั้งนั้นในการใช้ยาหยอดตา เพื่อรักษาโรค CVS ผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาก่อนการใช้ยา

เพราะยาหยอดตาอาจจะไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยทุกราย

วิธีป้องกันโรค Computer Vision Syndrome (CVS)

1.ขณะทำงานหน้าจอ ควรฝึกกะพริบตาบ่อย ๆ และถ้าหากมีอาการแสบตามาก อาจใช้น้ำตาเทียมช่วย

2.ปรับห้องกับบริเวณทำงาน อย่าให้มีแสงสะท้อนจากหน้าต่างหรือหลอดไฟบริเวณเพดานห้องสะท้อนเข้าตา

3.จอภาพไม่หันเข้าหน้าต่าง

4.ควรใส่แว่นกรองแสง หรือใช้แผ่นกรองแสงวางหน้าจอ

5.ปรับเก้าอี้นั่งให้พอเหมาะ และจัดท่านั่งให้ถูกต้อง คือควรนั่งให้ห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 16-30 นิ้วจากดวงตา

และจุดกึ่งกลางของหน้าตอคอมพิวเตอร์จะต้องอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20 องศา

6.ผู้สูงอายุที่ใช้แว่นตา 2 ชั้น ควรจะต้องจัดตั้งจอภาพให้ต่ำกว่าระดับตา เพื่อที่จะได้ตรงกันกับเลนส์แว่นตา

7.ปรับแสงสว่างของหน้าจอให้พอเหมาะ ไม่สว่างหรือมืดจนเกินไป

8.หน้าจอควรวางให้ห่างจากดวงตาประมาณ 20-28 นิ้ว และจุดกึ่งกลางของหน้าจอควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวราบประมาณ 4-5 นิ้ว

9.หลังจากใช้งานคอมพิวเตอร์ ไปได้นานประมาณ 20-30 นาที จะต้องหยุดพักสายตาเป็นเวลา 2-4 นาที

จากนั้นค่อยลืมตาขึ้นมาใหม่ หรือพักสายตาทุก ๆ การใช้งาน 20 นาที โดยการมองออกไปที่ระยะไกล ๆ

อย่างน้อย 6 เมตร หรือ 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที และควรหยุดใช้งานเป็นเวลา 15 นาที

หากทำงานใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกัน 2 ชั่วโมง ซึ่งหากทำจนเป็นนิสัย ก็จะช่วยป้องกันโรค CVS ได้เป็นอย่างดี

วิธีบำรุงและดูแลสุขภาพดวงตาด้วยอาหาร

อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ห่างไกลจากโรค CVS ก็คือ การดูแลดวงตา ด้วยการทานอาหารที่มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา อย่างผักใบเขียว เช่น

ปวยเล้ง คะน้า ผักกาด ผักโขม ฯลฯ มีลูทีน ซึ่งเป็นสารสำคัญบริเวณดวงตา พบมากบริเวณจอประสาทตากับจุดรับภาพ

ทำหน้าที่ในการปกป้องเซลล์ของจอประสาทตา ป้องกันรังสีจากแสงแดด กรองแสงสีน้ำเงินที่จะทำลายดวงตา

ซึ่งการได้รับลูทีนปริมาณอย่างน้อย 6 มก. ต่อวัน จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงจอประสามตาเสื่อมได้มากถึงร้อยละ 50

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี อย่างเช่น องุ่นแดง บิลเบอร์รี บลูเบอร์รีและแครนเบอร์รี มีไบโอฟลาโวนอยด์

เป็นสารอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ดวงตาขุ่นมัว ช่วยป้องกันเลนส์ตาเสื่อม

และช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับสารคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเส้นเลือดขนาดเล็กที่ไปหล่อเลี้ยงดวงตา

ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยไม่เปราะแตกง่าย นอกจากนี้ยังมีผักผลไม้สีเหลือง อย่างเช่น น้ำเต้า ผลแอปริคอท แครอท

ฟักทอง แคนตาลูปกับมันหวาน มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนมาเป็นวิตามินเอ สารต้านอนุมูลอิสระ

ที่มีคุณสมบัติช่วยในการบำรุงดวงตา ช่วยให้ผิวเยื่อเมือกในตาชุ่มชื้นขึ้น และช่วยป้องกันโรคตาได้หลายชนิด เช่น โรคต้อกระจก

Credit : youtube.com

ได้ทราบถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิด โรค Computer Vision Syndrome (CVS) กันไปแล้ว

จากนี้ก็ควรใส่ใจดูแลสุขภาพดวงตาให้ดี เพื่อให้ดวงตามีอายุการใช้งานยาวนานโดยห่างไกลจากปัญหาดวงตาต่างๆ

ด้วยคำแนะนำที่เราหยิบมาฝาก นอกจากควรใส่ใจกินอาหารบำรุงดวงตาที่มีประโยชน์ เพื่อจะได้ปกป้อง

และถนอมดวงตาจากภายในพร้อมกัน อาการตาพร่ามัว มองไม่ชัด ปวดหัว เห็นภาพซ้อน ก็จะไม่กล้ามาเยือนแล้วค่ะ