อาการบวมน้ํา มีสาเหตุเกิดจากอะไร และวิธีการป้องกันอย่างไร

อาการบวมน้ํา เป็นอย่างไร

ภาวะของอาการบวมน้ํา (Edema) เป็นความอ้วนที่ไม่ได้เกิดจากไขมันพอกอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง น้ำหนักตัวสูงขึ้น ทั้งที่มีการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเป็นอย่างดี

ซึ่งแน่นอนว่า ภาวะแบบนี้เป็นสิ่งที่สาวๆ มองข้าม ไม่ค่อยรู้ตัวเท่าใดนัก เพราะเมื่อใดที่รู้สึกน้ำหนักขึ้น ร่างกายขยายขึ้น ก็จะไปโฟกัสที่อาหารการกิน

จนทำให้เกิดความกังวลใจมากกว่าที่จะมองหาสาเหตุอื่นๆ หากใครที่มั่นใจว่าออกกำลังกายและควบคุมอาหารเป็นอย่างดีแล้ว

ไม่เห็นผลลัพธ์ไปในทางที่ดี นั่นอาจจะเป็นเพราะอาการบวมน้ำที่เกิดได้จากหลายสาเหตุก็เป็นได้ค่ะ

สาเหตุของอาการบวมน้ํา

อาการบวมน้ํา เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่มีน้ํา หรือน้ำเหลืองเข้าไปสะสมคั่งค้าง อยู่ภายในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกาย

ซึ่งจะอยู่รอบๆ หลอดเลือด แทนที่ของเหลวไหลเข้าสู่หลอดเลือด หรือท่อน้ำเหลือง กลับไหลกลับเข้าไปยังเซลล์เนื้อเยื่อและตามช่องว่างต่างๆ แทน

จึงมักพบได้ตามรอบดวงตา เท้า ขา ปอด สมอง ช่องท้อง และยังพบได้ที่ใบหน้า รวมไปถึงส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้วย

โดยสาเหตุที่พบเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ อาการบวมน้ำที่เกิดจากการคั่งของน้ำ เรียกทั่วไปว่า อาการ “บวมน้ำ” มีทั้งชนิดที่ไม่รุนแรง ไม่นานก็สามารถหายไปได้เอง

มักมาจากการยืนและนั่งเป็นเวลานานติดต่อกัน การทานอาหารที่มีรสเค็มจัด การทานยาที่มีผลข้างเคียง เช่น ยาลดความดันเลือด เป็นต้น อีกทั้งอาการบวมยังเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน

มักพบได้ก่อนหน้าประจำเดือนจะมา เนื่องจากความแปรปรวนของระดับฮอร์โมน มีผลต่อการทำงานของหลอดเลือด

และต่อมน้ำเหลือง ส่วนอาการบวมน้ำที่มาจากโรคความผิดปกติทางกาย มีอันตรายตั้งแต่น้อยไปมาก

เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจล้มเหลว ภาวะขาดโปรตีน โรคไตวายเรื้อรัง ไปจนถึงการรักษาโรคด้วยยาฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น

ส่วนอาการบวมน้ำอีกชนิด มาจากการคั่งของ “น้ำเหลือง” พบได้ไม่บ่อยนัก สาเหตุมักมาจาก ท่อน้ำเหลืองเกิดภาวะอุดตัน

เช่น การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง โรคเท้าช้าง และการผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

วิธีรักษาและป้องกันภาวะบวมน้ํา

สิ่งแรกที่สาวๆ ควรรู้เมื่อพบว่าตัวเองมีภาวะตัวบวมอันเกิดจากการคั่งของน้ำหรือน้ำเหลือง

สังเกตให้ดีจะพบอาการบวมบริเวณใบหน้าหลังตื่นนอน และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย สาเหตุหลักๆ

ที่มักเป็นต้นตอส่งผลกระทบต่อสมดุลน้ำคือ ปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไป หากใช้มือกดลงใบบนผิวหนัง

แล้วพบว่าไม่เด้งคืนตัวกลับมาในทันที พบเป็นรอยบุ๋ม ค่อยๆ คืนตัวกลับมาอย่างช้าๆ

แสดงว่าสาวๆ กำลังเจอกับภาวะบวมน้ำอยู่นั่นเอง การรักษาที่ดีคือหาสาเหตุของปัญหาที่่เกิดขึ้น ดังกล่าว แล้วลองดูแลตัวเองด้วยวิธีดังต่อไปนี้กันดูค่ะ

1.ออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ

การว่ายน้ำ จะช่วยให้ร่างกายสามารถลดอาการบวมจากการคั่งของน้ำ และน้ำเหลืองให้น้อยลงได้

วิธีนี้จะเป็นตัวกระตุ้น ผลักเอาน้ำส่วนเกินที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อให้ออกไป

เนื่องจาก ความดันของน้ำในสระสูงกว่า ใช้เวลาว่ายน้ำประมาณ 30-60 นาทีต่อวัน

อาการบวมน้ำก็จะค่อยๆ ลดลง หายเป็นปกติในที่สุด ทั้งนี้นอกจากการว่ายน้ำแล้ว

การออกกำลังกายด้วยวิธีปกติก็ควรทำควบคู่กันไปด้วยเช่นเดิม เพียงแต่การว่ายน้ำจะช่วยลดปัญหาสำหรับสาวๆ ที่มีภาวะนี้ได้ดีกว่านั่นเอง

2.หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด

อาหารรสจัด ที่มีส่วนประกอบของเครื่องปรุงรสในปริมาณมาก อาจทำให้กลายเป็นเมนูมากโซเดียมแบบไม่รู้ตัว

รวมไปถึง อาหารสำเร็จรูปและอาหารจานด่วนทั้งหลาย ความเค็มที่มากขึ้น จะเข้าไปส่งผลให้ร่างกายกักเก็บน้ำเอาไว้ ตามเนื้อเยื่อต่างๆ

ดังนั้น ควรเปลี่ยนนิสัยตัวเองไม่ให้ติดรสเค็ม หรือการปรุงด้วยเครื่องปรุงมากๆ เพราะไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบ

ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำเท่านั้น แต่ยังทำให้ไตต้องทำงานหนัก เสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย

3.ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้นในระหว่างวัน

การดื่มน้ำเปล่าสะอาด เป็นวิธีลดภาวะบวมน้ำ และเป็นตัวป้องกันได้ง่ายที่สุด การดื่มน้ำที่ดีไม่ใช่การดื่มในปริมาณมากๆ คราวเดียวจนจุก

แต่ให้ดื่มแบบจิบทีละนิดในระหว่างวัน ช่วยให้ร่างกายมีปริมาณน้ำเพียงพอ ลดอาการบวมน้ำ

อาการบวมน้ํา pantip

Photo Credit : urun.n11.com

จากการที่ร่างกายพยายามจะเก็บน้ำเอาไว้ในช่วงขาดแคลน และน้ำที่ดื่มควรเป็นน้ำเปล่าสะอาด หลีกเลี่ยงน้ำที่มีปริมาณน้ำตาลสูง

สำหรับใครที่รู้สึกว่าอาการบวมน้ำมาจากความผิดปกติอื่นๆ ของร่างกาย มีภาวะบวมไม่หายซะที ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทางที่ดีก็ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์

เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างของร่างกายที่มากกว่าแค่อาการบวมน้ำธรรมดา ก็เป็นได้ค่ะ