หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปัญหาสุขภาพที่ควรรับมือก่อนสาย !

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการ สาเหตุ

หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอย่าง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กันมาบ้างแล้ว

โรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกระดูกอย่างหนึ่ง แต่คงมีไม่กี่คนที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างแท้จริง

วันนี้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค การรักษาและการป้องกัน

เพื่อให้เราห่างไกลจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ลองมาดูข้อมูลที่น่าสนใจเหล่านี้กันเลยดีกว่า

ทำความรู้จักโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีชื่อภาษาอังกฤษว่า (Herniated Disc) เป็นปัญหาเกี่ยวกับกระดูกอย่างหนึ่ง

โดยเกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลังถูกทำลาย จนเกิดความเสียหาย จึงส่งผลให้ไปกดทับเส้นประสาท

แนวกระดูกสันหลังจะประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังทั้งหมด จำนวน 30 ชิ้น โดยเริ่มจากกระดูกต้นคอ 7 ชิ้น

กระดูกสันหลังส่วนกลาง 12 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนล่างหรือเอวอีก 5 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนบริเวณหลัง คอ อก และเอวทั้ง 24 ชิ้นนี้

จะเชื่อมต่อกันที่มีลักษณะเป็นแผ่นกลมเรียกว่าหมอนรองกระดูก ด้านในของหมอนรองกระดูกจะมีลักษณะนุ่มเหนียว

ส่วนด้านนอกจะมีความแข็ง หมอนรองกระดูกช่วยทำให้หลังมีความยืดหยุ่นในขณะที่มีการเคลื่อนไหว

รวมถึง ช่วยปกป้องกระดูกจากกิจกรรมที่มีแรงกระแทก เช่น การเดิน การยกของ การบิดตัว กระดูกสันหลังชิ้นที่ 25 – 30

จะเชื่อมต่อกันยาวมาจนถึงบริเวณก้นกบเป็นเส้นเดียวกัน โดยไม่มีหมอนรองกระดูกเหมือนกับกระดูกสันหลัง 24 ชิ้นแรก

การได้รับบาดเจ็บหรือกระดูกเสื่อม จะทำให้หมอนรองกระดูกแตก ให้กระดูกอ่อนส่วนที่อยู่ภายในหมอนรองกระดูกโผล่ออกมา

เมื่อกระดูกเคลื่อนหรือกระดูกทับเส้นจะทำให้เกิดความเจ็บปวดจนทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หากกระดูกที่เคลื่อนตัวออกมานั้น

กดทับเส้นประสาท จะทำให้รู้สึกชา มีอาการอ่อนแรง รู้สึกเจ็บบริเวณเส้นประสาทที่ถูกกดทับ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

จะต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อนำกระดูกที่ทับเส้นออกไป โดยส่วนใหญ่ อาการกระดูกทับเส้น

จะเกิดขึ้นบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว เป็นตำแหน่งที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอกและกระดูกใต้กระเบนเหน็บ

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนตามแนวกระดูกสันหลัง โดยเริ่มตั้งแต่คอไปจนถึงหลังส่วนล่าง

โดยกระดูกสันหลังส่วนล่าง เป็นบริเวณที่เกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้บ่อย กระดูกสันหลังเป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยเส้นประสาท

และเส้นเลือดที่มีความซับซ้อน เมื่อหมอนรองกระดูกเกิดการเคลื่อนที่ จึงเกิดการกดทับเส้นประสาท

และกล้ามเนื้อที่อยู่ล้อมรอบแนวกระดูกสันหลัง อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่พบได้บ่อยมักจะมีอาการดังนี้

รู้สึกเจ็บบริเวณที่ถูกกดทับ

ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดเมื่อเส้นประสาทถูกกดทับ โดยเมื่อมีอาการ ไอ จาม หากหมอนรองกระดูกทับเส้นที่คอ

จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บมากบริเวณไหล่และแขน หากเกิดกระดูกทับเส้นบริเวณเส้นประสาทไซอาติก

ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ยาวที่สุดในร่างกาย จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บตั้งแต่ต้นขา หลัง สะโพก น่อง และเท้า

รู้สึกชาหรือเสียวปลาบ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะทำให้เกิดอาการรู้สึกชา หรือเสียวปลาบที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

เพราะเส้นประสาทในส่วนนั้นของร่างกายถูกกดทับอยู่ อาจทำให้เกิดอาการปวดหรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณเส้นประสาทที่ถูกกดทับ

กล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงลงในบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

เพราะทำให้สะดุดหรือล้มบ่อย หากอาการรุนแรงมาก จะทำให้ยกของหรือถือของไม่ได้

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทโดยส่วนใหญ่ เกิดจากส่วนนอกของหมอนรองกระดูกแตก

จึงทำให้กระดูกอ่อนที่อยู่ข้างในโผล่ออกมา ส่งผลให้เส้นประสาทถูกกดทับ สาเหตุที่ทำให้หมอนแรงกระดูกแตก

เกิดจากหมอนรองกระดูกเสื่อม อายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้หมอนรองกระดูกสูญเสียน้ำ จนทำให้ขาดความยืดหยุ่น

จนเกิดการแตกได้ง่าย กระดูกทับเส้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

มีน้ำหนักตัวมากเกินไป การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป จะทำให้กระดูกหลังส่วนล่าง จะต้องแบกรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา

แบกของหนัก ผู้ที่ต้องแบกหามสิ่งของหนัก จะทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

เพราะการแบกหามสิ่งของขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ต้องใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขา และต้นขา ทำให้กระดูกเกิดการบิดเคลื่อนตัวได้

พันธุกรรม ผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นบางรายอาจป่วยเป็นโรคนี้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ประสบอุบัติเหตุ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือการได้รับการกระทบกระเทือนจากการถูกทำร้ายร่างกายบริเวณหลัง

จะทำให้ป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้น

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะค่อย ๆ ดีขึ้น หากได้รับการพักผ่อน ออกกำลังกาย รับประทานยาบรรเทาอาการของโรค

จะใช้เวลาในการฟื้นตัวประมาณ 1 – 3 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ทำได้หลายวิธี

ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและตำแหน่งที่หมอนรองกระดูกเคลื่อน โดยสามารถทำการรักษาด้วยวิธีการต่อไปนี้

รักษาด้วยยา

1.ยาแก้ปวด ผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถซื้อยาแก้ปวดมาทานเองได้ เช่น ยาไอบูโพรเฟน หรือยานาพรอกเซน

2.ยาแก้ปวดชนิดเสพติด หากผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น

แพทย์จะสั่งจ่ายยาแก้ปวดชนิดเสพติดให้รับประทาน เช่น โคเดอีน โดยจะจ่ายยานี้ให้กับผู้ป่วยในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

3.ยาระงับอาการปวดที่เส้นประสาท สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวลงขา สะโพกหรือก้น แพทย์จะสั่งจ่ายยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรงขึ้น

เช่น ยาบางตัวที่ช่วยรักษาอาการซึมเศร้า ยากันชัก เพราะยาในกลุ่มรักษาอาการซึมเศร้า

จะช่วยบรรเทาอาการปวดเส้นประสาทให้ทุเลาลงได้ ส่วนยากันชักจะช่วยรักษาอาการปวดเส้นประสาทให้ทุเลาลง

4.ใช้สเตียรอยด์รักษาอาการปวดจากเส้นประสาท ผู้ป่วยที่ปวดเส้นประสาทไซอาติก จะได้รับการฉีดสเตียรอยด์

โดยแพทย์จะฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณหลังส่วนล่างหรือบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง

การฉีดสเตียรอยด์จะช่วยลดอาการอักเสบและอาการปวดเส้นประสาทจะทำให้อาการปวดทุเลาลงได้ช่วงหนึ่ง

5.การรักษาด้วยกายภาพบำบัด เป็นการรักษาที่จะช่วยทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น

โดยนักกายภาพบำบัดจะใช้เทคนิคที่ช่วยฟื้นฟูกายทำงานของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น จะทำให้อาการปวดทุเลาลง

6.การรักษาด้วยการผ่าตัดหมอนรองกระดูก การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว

โดยผู้ป่วยจะมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินหรือยืนลำบากมากกว่า 6 เดือน รวมถึงไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ

หรือปัสสาวะได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนและกดเส้นประสาทออกไป

เรียกว่าการผ่าตัดหมอนรองกระดูก มีเทคนิคการผ่าตัดหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

วิธีป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยชะลอการเสื่อมของหมอนรองกระดูกบริเวณหลัง ทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง มีความยืดหยุ่น

จัดท่าทางร่างกายให้ถูกต้อง ควรยืดหลังให้ตรงอยู่ในแนวขนาน โดยเฉพาะเวลาต้องนั่งนาน ๆ

หากต้องการยกของหนัก ให้ค่อย ๆ ย่อตัวลง ให้น้ำหนังลงที่ขา ไม่ใช่ที่หลัง

ควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก จะทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณสันหลังและหมอนรองกระดูก ทำให้เสี่ยงกระดูกทับเส้น

Credit : spineuniverse.com

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะก่อให้เกิดผลเสียต่อการใช้ชีวิตได้อย่างมากมาย ทำให้เกิดการอาการเจ็บปวด อาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง

การออกกำลังกาย รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และการจัดระเบียบร่างกายให้ดี เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วย ป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้เป็นอย่างดี